โครงสร้างการจัดกลุ่มอตุสาหกรรมและหมวดธรุกิจของ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)

หลักการและเหตุผล

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีการจัดโครงสร้างกลุ่มอุตสาหกรรม (Industry Group) และหมวดธุรกิจ (Sector) ของ บริษัทจดทะเบียน เพื่อให้บริษัทที่ประกอบธุรกิจใกล้เคียงกันได้อยู่ในหมวดเดียวกัน ซึ่งจะทำให้ผู้ลงทุนสามารถเปรียบเทียบข้อมูล ระหว่างบริษัทจดทะเบียนได้และนำไปประกอบการตัดสินใจลงทุนได้อย่างเหมาะสม โดยแนวทางการจัดกลุ่มนั้นมีหลักการดังนี้

- สามารถสะท้อนถึงประเภทธุรกิจของบริษัทจดทะเบียนได้ชัดเจน และสามารถเปรียบเทียบได้กับการจัดกลุ่มอุตสาหกรรมและหมวดธุรกิจในต่างประเทศ

- นิยามและความหมายของแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมหรือหมวดธุรกิจ สามารถครอบคลุมและรองรับประเภทธุรกิจของบริษัท จดทะเบียนที่ดำเนินธุรกิจประเภทใหม่ ๆ และคาดว่าจะเข้ามาจดทะเบียนในอนาคตได้

หลักการโดยรวม

- จัดเฉพาะหลักทรัพย์ประเภทหุ้นสามัญ หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ หน่วยลงทุนของกองทุนรวม โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund: IF) และกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Investment Trust: REIT) โดยตราสารทางการเงินอื่นยังคงแยกไว้ต่างหากและไม่รวมอยู่ในการจัดกลุ่มอุตสาหกรรมและหมวดธุรกิจนี้

- ไม่รวมบริษัทที่อยู่ในหมวดบริษัทจดทะเบียนที่แก้ไขการดำเนินงานไม่ได้ตามกำหนด (Non-Performing Group : NPG) และหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน (Non Compliance : NC)

- เป็นการรวมกลุ่มของหมวดธุรกิจที่มีลักษณะธุรกิจใกล้เคียงกัน หรือธุรกิจที่มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในแนวทางเดียวกัน

หลักเกณฑ์การจัดกลุ่มอตุสาหกรรมและหมวดธรุกิจ

1. พิจารณาจัดบริษัทจดทะเบียนตามประเภทธุรกิจที่สร้างรายได้ให้บริษัทจดทะเบียน เกินร้อยละ 50 เป็นสำคัญ

2. หากไม่มีธุรกิจใดที่สร้างรายได้ให้บริษัทจดทะเบียน เกินร้อยละ 50 จะพิจารณาใช้เกณฑ์ด้านกำไรเป็นเกณฑ์รอง อย่างไรก็ตามตลาดหลักทรัพย์ฯ อาจพิจารณาใช้หลักเกณฑ์อื่นประกอบตามที่เห็นสมควร

3. กรณีที่บริษัทจดทะเบียนดำเนินธุรกิจโดยผ่านการถือหุ้นในบริษัทย่อยหลายแห่ง (Holding Company) บริษัทจดทะเบียน จะถูกจัดตามประเภทธุรกิจของบริษัทย่อยที่สร้างรายได้หลักให้แก่บริษัทจดทะเบียน

การพิจารณาทบทวนการจัดกลุ่มอตุสาหกรรมและหมวดธรุกิจ

เนื่องจากบริษัทจดทะเบียนอาจมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของการดำเนินธุรกิจ จึงจำเป็นต้องมีการติดตามและทบทวนการจัดกลุ่มอุตสาหกรรมและหมวดธุรกิจอย่างสม ่าเสมอ โดยสามารถกระท าได้ใน 3 กรณี ได้แก่

1. กรณีการพิจารณาประจำปี ตลาดหลักทรัพย์ ฯ จะทบทวนความเหมาะสมของบริษัทจดทะเบียน ในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมและหมวดธุรกิจเป็นประจำทุกปี โดยใช้ข้อมูลจากแบบ 56-1 เป็นหลักทั้งนี้ในการดำเนินการ หากมีการเปลี่ยนแปลง ตลาดหลักทรัพย์ ฯ จะมีหนังสือแจ้งไปยังบริษัทจดทะเบียนนั้นล่วงหน้า

2. กรณีเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของบริษัทจดทะเบียนอย่างชัดเจน ในกรณีที่บริษัทจดทะเบียนมีการปรับเปลี่ยนจนทำให้โครงสร้างของรายได้หลักเปลี่ยนแปลงไป เช่น เกิดการครอบงำกิจการ หรือเปลี่ยนประเภทการประกอบธุรกิจ ตลาดหลักทรัพย์ ฯ จะพิจารณาทบทวนการจัดกลุ่มอุตสาหกรรมและหมวดธุรกิจของบริษัทจดทะเบียน โดยไม่ต้องรอรอบการพิจารณาประจำปี และการปรับย้ายจะกระทำเมื่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างต่าง ๆ มีผลแล้วเท่านั้น ทั้งนี้ตลาดหลักทรัพย์ ฯ จะส่งหนังสือแจ้งไปยังบริษัทจดทะเบียนให้ทราบล่วงหน้า

3. กรณีมีการร้องขอ บริษัทจดทะเบียน สามารถร้องขอให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ ทบทวนหรือทำการปรับเปลี่ยนการจัดกลุ่มอุตสาหกรรมและหมวดธุรกิจได้ หากเห็นว่าไม่เหมาะสมโดยให้ทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมทั้งแนบข้อมูลต่าง ๆ มาที่ตลาดหลักทรัพย์ ฯ ทั้งนี้ในการพิจารณานั้นให้ถือเป็นสิทธิและดุลพินิจของตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นสำคัญในแต่ละกรณี

การจัดกลุ่มอตุสาหกรรมและหมวดธรุกิจของ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)

โครงสร้างกลุ่มอุตสาหกรรม (8 กลุ่ม) และหมวดธุรกิจ (28หมวด) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)

SET กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร (Agro & Food Industry: AGRO)

SET กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Products: CONSUMP)

SET กลุ่มธุรกิจการเงิน (Financials: FINCIAL)

SET กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม (Industrials: INDUS)

SET กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง (Property & Construction: PROPCON)

SET กลุ่มทรัพยากร (Resources: RESOURC)

SET กลุ่มบริการ (Services: SERVICE)

SET กลุ่มเทคโนโลยี (Technology: TECH)

หมายเหตุ

* คือหมวดธุรกิจที่มีการปรับปรุงล่าสุด โดยเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558 เป็นต้นไป