iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา

อุทยานธรณีไทย อุบลราชธานี (Ubonratchathani Geopark) ผาชัน-สามพันโบก

 

วันที่ 22 สิงหาคม 2562 ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นั่งเป็นประธานที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการอนุรักษ์แหล่งธรณีวิทยาและจัดตั้งอุทยานธรณีฯ ให้การรับรอง “อุทยานธรณีผาชัน สามพันโบก” จังหวัดอุบลราชธานี ขึ้นชั้นสู่ระดับชาติเป็น “อุทยานธรณีประเทศไทย” นับเป็นอุทยานธรณีระดับชาติ อันดับที่ 3 รองจากจังหวัดสตูล และจังหวัดนครราชสีมา

ข้อมูลทั่วไป

อุทยานธรณีอุบลราชธานี ผาชัน-สามพันโบก (Phachan-Samphanbot) จังหวัดอุบลราชธานี ได้จัดตั้งและประกาศเป็นอุทยานธรณีท้องถิ่นเมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ครอบคลุม ๔ อำเภอ ได้แก่ อำเภอสิรินธร อำเภอโขงเจียม อำเภอศรีเมืองใหม่ และอำเภอโพธิ์ไทร มีพื้นที่ ๑,๙๙๔ ตารางกิโลเมตร อุทยานธรณีผาชัน สามพันโบก แบ่งพื้นที่ตามธรณีวิทยาเป็น ๓ โซน ประกอบด้วย

- ดินแดนแห่งไดโนเสาร์ยุคสุดท้าย ตำบลนาคำ ตำบลสงยาง ตำบลนาเลิน และตำบลลาดควาย อำเภอศรีเมืองใหม่

- แหล่งธรรมชาติแปลกตา ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติผาแต้มบางส่วนของอำเภอโพธิ์ไทรในเขตตำบลสองคอน ตำบลเหล่างาม และตำบลสำโรง บางส่วนของอำเภอศรีเมืองใหม่ในเขตตำบลหนามแท่ง และบางส่วนของอำเภอโขงเจียมในเขตตำบลห้วยไผ่ และตำบลนาโพธิ์กลาง

- เขตแม่น้ำสองสี ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม และตำบลคำเขื่อนแก้ว อำเภอสิรินธร

อุทยานธรณีผาชันสามพันโบกประกอบด้วย แหล่งธรณีวิทยา ๔๒ แหล่งแหล่งโบราณคดีและแหล่ง วัฒนธรรม ๘ แหล่ง รวมทั้งสิ้น ๕๐ แหล่งดังนี้

แหล่งธรณีวิทยา

๑. กลุ่มเสาเฉลียง วัดผานางคอย
๒. แก่งตะนะ
๓. แก่งสเลกอน
๔. ถ้ำเจีย
๕. ถ้ำปาฏิหาร์ย
๖. ถ้ำพระ
๗. ถ้ำมืด
๘. น้ำตกกิ๊ด
๙. น้ำตกตาดโตน
๑๐. น้ำตกโบกลึก
๑๑. น้ำตกผาหลวง
๑๒. น้ำตกสร้อยสวรรค์
๑๓. น้ำตกแสงจันทร์
๑๔. น้ำตกห้วยนาเมืองใหม่
๑๕. น้ำตกห้วยพอก
๑๖. โบกแก่งสร้อย
๑๗. ปากบ้อง
๑๘. ผาเจ๊ก
๑๙. ผาชนะได
๒๐. ผาชัน
๒๑. ผาแต้ม
๒๒. ผาเมย
๒๓. ผาวัดใจ-สองคอน
๒๔. ผาชัน-ผาสิลาเลข
๒๕. ภูอานม้า
๒๖. แม่น้ำสองสี
๒๗. สามพันโบก
๒๘. ลานผาผึ้ง
๒๙. สวนหินสีประกายแสง
๓๑. สามหมื่นรู
๓๒. เสาเฉลียง บ้านโป่งเป้า
๓๓. เสาเฉลียงคู่
๓๔. เสาเฉลียงยักษ์
๓๕. เสาพญาครุฑ
๓๖. เสาระเบียง ภูจันทร์แดง
๓๗. หาดวิจิตรา – แก่งพิสมัย
๓๘. หาดสลึง
๓๙. หาดหงส์ – ภูกองข้าว
๔๐. หินเต่าชมจันทร์
๔๑. ภูสะมุย
๔๒. แหล่งไดโนเสาร์ยุคสุดท้าย

แหล่งโบราณคดีและแหล่งวัฒนธรรม

๑. ถ้ำขาม – สูบหิน
๒. ถ้ำนางเข็ญฝ้าย
๓. ผาหมอน
๔. ภูหล่น
๕. โหง่นแต้ม
๖. ภูโลง
๗. ภาพเขียนสีผาแต้ม
๘. รอยเกวียนโบราณ

จังหวัดอุบลราชธานี มีแหล่งธรณีวิทยาและแหล่งอนุรักษ์ธรณีวิทยาที่สวยงามมากมาย หลายแห่งมีความสวยงามโดดเด่นแปลกตา และมีคุณค่าทางวิชาการด้านธรณีวิทยาในระดับประเทศหรือระดับภาค การได้รับประกาศให้เป็นอุทยานธรณีผาชัน-สามพันโบก จะช่วยส่งเสริมการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยว การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความสําคัญหรือความโดดเด่นทางธรณีวิทยาในระดับนานาชาติ อุทยานธรณีผาชันสามพันโบกมีลักษณะทางธรณีวิทยาที่โดดเด่นระดับนาชาติ ประกอบด้วย  พื้นที่อุทยานธรณีผาชัน-สามพันโบก กำหนดขอบเขตได้ 3 พื้นที่ ดังนี้

- ดินแดนแห่งไดโนเสาร์ยุคสุดท้าย แหล่งซากดึกดําบรรพ่ไดโนเสาร่ยุคสุดท้าย ที่มีอายุของไดโนเสาร์อ่อนที่สุดในประเทศไทยครอบคลุมพื้นที่ 4 ตำบลในเขต อ.ศรีเมืองใหม่ ได้แก่ ต.นาคำ ต.สงยาง ต.นาเลิน และ ต.ลาดควาย

- แหล่งธรรมชาติแปลกตา ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติผาแต้ม บางส่วนของ อ.โพธิ์ไทร (ต.สองคอน เหล่างาม และสำโรง) บางส่วนของ อ.ศรีเมืองใหม่ (ต.หนามแท่ง) และบางส่วนของ อ.โขงเจียม (ต.ห้วยใผ่ และนาโพธิ์กลาง) แหล่งสามพันโบก ที่คาดว่าน่าจะมีโบกหรือกุมภลักษณ์มากที่สุดในภูมิภาคอาเซียน

- เขตแม่น้ำสองสี ครอบคลุมพื้นที่ อ.โขงเจียม (ต.โขงเจียม และคำเขื่อนแก้ว) และ อ.สิรินธร แหล่งสามหมื่นรู มีรูของพื้นผิวของหินทรายที่มีความยาวของพื้นที่ที่มีรูคาดว่าน่าจะมากที่สุดในอาเซียน

ความก้าวหน้าในการดำเนินงาน

๑.คณะกรรมการส่งเสริมการอนุรักษ์แหล่งธรณีวิทยาและจัดตั้งอุทยานธรณี ได้รับการรับรองอุทยานธรณีผาชันสามพันโบกเป็นอุทยานธรณีประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๒ และต้องได้รับการประเมินซ้ำเพื่อคงสถานะเป็นอุทยานธรณีประเทศไทยในเดือนเมษายน ๒๕๖๖

๒. ปัจจุบัน กรมทรัพยากรธรณีร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสถาบันการศึกษาในจังหวัดอุบลราชธานี ในการส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนายกระดับอุทยานธรณีผาชัน สามพันโบก เช่น การอบรมให้ความรู้แก่มัคคุเทศก์ในพื้นที่ การสนับสนุนการจัดทำแหล่งเรียนรู้ทางธรณีวิทยาในพื้นที่และสถานศึกษาต่างๆ ในจังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น

๓. ผู้ประเมินภาคสนามได้ดำเนินการประเมินซ้ำเพื่อคงสถานะการเป็นอุทยานธรณีประเทศไทยเมื่อวันที่ ๑๔ – ๑๗ มิถุนายน ๒๕๖๖ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดทำรายงานการประเมินภาคสนามเพื่อเสนอเข้าที่ประชุมคณะอนุกรรมการประเมินภาคสนามดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป

 

.

-------------------------

 

 

 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward