iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป

อุทยานธรณีไทย เพชรบูรณ์(Phetchabun Geopark)

 

อุทยานธรณีเพชรบูรณ์ เป็นพื้นที่ที่อยู่ระหว่างการเคลื่อนตัวเข้าหากันของ 2 เปลือกโลก คือ อินโดไชน่าทางตะวันออกและชาน-ไทยทางตะวันตก จึงเกิดการดันและยกตัวของทะเลดึกดำบรรพ์ขึ้นมากลายเป็นแผ่นดินและภูเขา ทำให้เกิดสิ่งมหัศจรรย์ทางธรณีวิทยาต่าง ๆ ขึ้นมากมาย อุทยานธรณีเพชรบูรณ์ เป็นแหล่งเรียนรู้ และแหล่งท่องเที่ยว เกิดเป็นสมบัติอันล้ำค่าของจังหวัดเพชรบูรณ์ 

ข้อมูลทั่วไป จังหวัดเพชรบูรณ์ได้มีประกาศ เรื่อง จัดตั้งอุทยานธรณีเพชรบูรณ์ เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๑ อุทยานธรณีเพชรบูรณ์ครอบคลุมพื้นที่ ๓ อำเภอ ทางตอนเหนือของจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้แก่ อำเภอน้ำหนาว หล่มสัก และเมืองเพชรบูรณ์ มีพื้นที่ ๔,๔๓๖ ตารางกิโลเมตร อุทยานธรณีเพชรบูรณ์ ประกอบด้วย แหล่งธรณีวิทยา ๒๒ แหล่ง แหล่งธรรมชาติวิทยา ๑๐ แหล่ง แหล่งวัฒนธรรม ๑๒ แหล่ง รวมทั้งสิ้น ๓๓ แหล่ง ดังนี้

แหล่งธรณีวิทยา

๑. ถ้ำใหญ่น้ำหนาว
๒. แคนยอนน้ำหนาว
๓. น้ำตกตาดใหญ่
๔. ผารอยตีนอาร์โคซอร์
๕. เลยดั้น
๖. ภูผาแดง
๗. ถ้ำผาหงส์
๘. สะพานห้วยตอง
๙. ชั้นหินแบบฉบับหมวดหินน้ำดุก
๑๐. ฟอสซิลกระดูกโปรซอโรพอด
๑๑. โนนหัวโล้น แคนยอนหล่มสัก
๑๒. โคกเดิ่นฤาษี
๑๓. น้ำก้อ-น้ำชุน
๑๔. ห้วยร่อนทอง
๑๕. น้ำตกธารทิพย์
๑๖. ฟอสซิลปลาน้ำจืดบ้านหนองปลา
๑๗. ฟอสซิลปลาน้ำจืดบ้านท่าพล
๑๘. ไม้กลายเป็นหิน
๑๙. ซากดึกดำบรรพ์หอยน้ำจืด
๒๐. หินกรวดมนบ้านนางั่ว
๒๑. ฟิวซูลินิด สำนักสงฆ์เต็มสิบ
๒๒. อุกกาบาตร่องดู่

แหล่งธรรมชาติวิทยา

๑. ผาสวรรค์
๒. ผารอยพระบาท
๓. น้ำตกถ้ำค้างคาว
๔. น้ำตกพรานบา
๕. น้ำตกวงพระจันทร์
๖. ป่าเปลี่ยนสี
๗. เส้นทางเดินป่าน้ำหนาว
๘. น้ำตกวังหินลาด
๙. น้ำตกตาดหมอก

แหล่งวัฒนธรรม

๑. วัดห้วยสนามทราย
๒. ศาลเจ้าพ่อผาแดง
๓. อนุสรณ์เมืองราด
๔. วัดท่ากกแก
๕. พิพิธภัณฑ์หล่มศักดิ์
๖. อนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง
๗. ถ้ำฤษีสมบัติ
๘. เสาหลักเมืองนครบาลเพชรบูรณ์
๙. พุทธอุทยานเพชบุระ
๑๐. หอโบราณคดีเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย
๑๑. ศาลหลักเมืองเพชรบูรณ์
๑๒. อุทยานวิทยาศาสตร์หนองนารี

อุทยานธรณีเพชรบูรณ์มีความสำคัญโดดเด่นทางธรณีวิทยา ได้แก่

- ความโดดเด่งทางธรณีจังหวัดเพชรบูรณ์ มีลักษณะเป็นแอ่งวางตัวตามแนวเหนือ-ใต้ เกิดจากเคลื่อนตัวเข้าหากันของเปลือกโลกหรืออนุทวีป 2 แผ่น คือ อินโดไชน่า (Indochina Micro Plate) ทางตะวันออก และ ชาน-ไทย (Shan-Thai Micro Plate) ทางตะวันตกเมื่อ 280-240 ล้านปี เกิดเป็นสิ่งมหัศจรรย์ทางธรรมชาติ ที่หลากหลายแนวคดโค้งเลย-เพชรบูรณ์ เป็นหลักฐานที่สำคัญของการชนกันของแผ่นเปลือกโลกอินโดจีนและชาน-ไทย ซึ่งนักวิจัยจากทั่วโลกเห็นความสำคัญและให้ความสนใจเดินทางมาศึกษาวิจัยในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง

- ผารอยตีนอาร์โคซอร์ เป็นการพบรอยตีนของสัตว์เลื้อยคลานพวกอาร์โคซอร์ครั้งแรกและมีความเก่าแก่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยังมีแนวทางเดินยังมีความต่อเนื่องยาวมากที่สุดมากกว่า ๑๐๐ เมตร

- พื้นทะเลโบราณและการสะสมตะกอนคาร์บอเนตอย่างต่อเนื่อง บริเวณถ้ำใหญ่น้ำหนาวเป็นหลักฐานการลำดับชั้นหินและซากดึกดำบรรพ์สามารถบ่งบอกอายุการสะสมตัวได้ตั้งแต่ช่วงยุคเพอร์เมียนตอนต้นจนถึงเพอร์เมียนตอนปลาย ซึ่งเป็นความสำคัญทางธรณีวิทยาที่หาพบได้ยากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่ไม่กว้างใหญ่มากนัก

- พื้นที่ที่มีศักยภาพนำร่องขับเคลื่อนงานอุทยานธรณีเฟสแรก คือ  ถ้ำใหญ่น้ำหนาว ถ้ำบันทึกโลก บ้านห้วยลาด ต.หลักด่าน อ.น้ำหนาว มีความยาวเป็นอันดับ 3 ของประเทศไทย ภายนอกมีลักษณะเป็นเขาหินปูนสูงประมาณ 955 เมตร จากระดับน้ำทะเล ทางเข้าถ้ำเป็นผาหินปูนวางตัวแนวตะวันออก-ตะวันตก ตั้งฉากกับแนวระนาบ ประกอบด้วยชั้นหินปูนที่มีขนาดตั้งแต่ น้อยกว่า 5 เซ็นติเมตรถึงชั้นที่หนาประมาณ 50 เซ็นติเมตร ปากถ้ำอยู่สูงจากพื้นประมาณ 10 เมตร กว้างประมาณ 2 เมตร ลึกลงไปในแนวดิ่งจนถึงระดับเดียวกับพื้นราบหน้าถ้ำ ตัวถ้ำทอดลึกเข้าไปในภูเขา มีความลึกมากกว่า 10.6 กิโลเมตร ภายในโถงถ้ำมีความกว้างมากกว่า 10 เมตร สูงกว่า 10 เมตร บริเวณโถงถ้ำ มีหินย้อยจากเพดานถ้ำจำนวนมาก และบางส่วนมีหินที่เกิดจากการตกผลึกของแร่แคลไซต์หรือหินปูนผลึกงอกขึ้นมาจากพื้นถ้ำ ทำให้เกิดเป็นหินที่มีรูปร่างต่างกันตามจินตนาการ มีความงามวิจิตรพิศดาร เช่น หินรูปช้าง หินรูปน้ำตก หินรูปผาม่าน รูปคน รูปอาหารชนิดต่าง ๆ เป็นต้น ภายในถ้ำมีห้องโถงเป็นช่วง ๆ มีทางเดินเท้าไปเชื่อมต่อถึงกัน

ที่สำคัญคือ บนภูเขาปรากฏมีซากฟอสซิลหอยชนิดต่าง ๆ ปะการัง และฟิวซูลินิด (Fusulinids) ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่เคยอาศัยอยู่ในทะเลบนโลกในช่วงเวลาต่าง ๆ แต่ได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว ฟอสซิลฟิวซูลินิดที่เขาถ้ำใหญ่น้ำหนาวแห่งนี้มีหลายชนิดหลายขนาด ซึ่งเป็นหลักฐานแสดงวิวัฒนาการของเปลือกโลกในยุคเพอร์เมียน (280-240 ล้านปี) ได้อย่างครบถ้วน

ความก้าวหน้าในการดำเนินงาน

๑. การประชุมระหว่างนายกรัฐมนตรีกับผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้แทนภาคเอกชน ผู้บริหารท้องถิ่นและผู้แทนภาคเกษตร เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ๑ และกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ๑ เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๖๑ มีข้อสั่งการให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาในรายละเอียดการผลักดันแหล่งธรณีวิทยาจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นอุทยานธรณีโลกตามขั้นตอนต่อไป

๒. คณะกรรมการส่งเสริมการอนุรักษ์แหล่งธรณีวิทยาและจัดตั้งอุทยานธรณี รับรองอุทยานธรณีเพชรบูรณ์เป็นอุทยานธรณีประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๖๓ และต้องได้รับการประเมินซ้ำเพื่อคงสถานะเป็นอุทยานธรณีประเทศไทยในปี ๒๕๖๗

 

.

-------------------------

 

 

 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward