อุทยานธรณีไทย ขอนแก่น (khonkaen Geopark) ภูเวียง
อุทยานธรณีขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
ข้อมูลทั่วไป จังหวัดขอนแก่น ประกาศจัดตั้งอุทยานธรณีขอนแก่น เป็นอุทยานธรณีในระดับท้องถิ่น เมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ครอบคลุมพื้นที่ ๒ อำเภอ ได้แก่ อำเภอภูเวียง และอำเภอเวียงเก่า รวมพื้นที่ประมาณ ๑,๐๓๘ ตารางกิโลเมตร อุทยานธรณีขอนแก่น ประกอบด้วย แหล่งธรณีวิทยา ๒๖ แหล่ง แหล่งธรรมชาติและแหล่งวัฒนธรรม ๒๕ แหล่ง รวมทั้งสิ้น ๕๑ แหล่ง ดังนี้
แหล่งธรณีวิทยา
๑. อุทยานแห่งชาติภูเวียง (Phu Wiang National Park)
๒. ลานยูเรเนียม
๓. แหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ (หลุม ๓) ห้วยประตูตีหมา
๔. แหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ (หลุม ๑) ภูประตูตีหมา
๕. แหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ (หลุม ๒) ถ้ำเจีย
๖. สุสานหอย ๑๓๐ ล้านปี
๗. แหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ (หลุม ๙) หินลาดยาว
๙. น้ำตกวังสักสิ่ว
๑๐. รอยตีนไดโนเสาร์ (หลุม8) หินลาดป่าชาด
๑๑. น้ำตกตาดฟ้า
๑๒. น้ำตกแก้งม่วง
๑๓. ผาชมตะวัน (Chom Tawan Cliff)
๑๔. หลุมขุดค้นซําหญ้าคา
๑๕. หลุมขุดค้นภูน้อย
๑๖. ถ้ำหินลาดหัวเมย
๑๗. เสาเฉลียง
๑๘. น้ำตกทับพญาเสือ
๑๙. ถ้ำฝามือแดง
๒๐. อพ.สธ. โคกภูตากา
๒๑. อุทยานศรีเวียง
๒๒. ผาเทิบ
๒๓. ลานตากหมอก
๒๔. เกาะกุดหิน
๒๕. หาดสวรรค์
๒๖. พัทยา ๒
แหล่งธรรมชาติและแหล่งวัฒนธรรม
๑. เดินป่าดูผีเสื้อ(ทางเข้าน้ำตกตาดฟ้า)
๒. ต้นยางใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
๓. โรงเรียนภูเวียงวิทยายน (ตึกเหลือง)
๔. วัดนายมวนาราม
๕. วัดจันทร์เขมาราม
๖. วัดอรัญญิกาวาส
๗. วัดจันทราราม
๘. วัดพลแพง
๙. วัดทรงศิลา (ถ้ำกวาง)
๑๐. วัดป่ากิตติญาณุสรณ์
๑๑.วัดแก้วจักรพรรดิ์ (Wat Kaew Chakkraphat)
๑๒. วัดมิ่งเมืองพัฒนา
๑๓. วัดทุ่งจําปา
๑๔. ศาลเจ้าจอมนรินทร์
๑๕. หาดสวรรค์-หมู่บ้านควาย
๑๖. ผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติบ้านกล้วย
๑๗. กลุ่มหัตถกรรมผ้ามัดย้อม
๑๘. กลุ่มทอฝ้ายบ้านนาชุมแสง
๑๙. ไร่เวียงชมพู (สวนผักหวานป่า)
๒๐. ไร่พลอยตะวันเห็ดแปรรูป
๒๑. สินค้าชุมชนบ้านหนองคู
๒๒. ตลาดวิถีชุมชนหนองคู
๒๓. กลุ่มเกษตรกรชาวเวียง
๒๔. สวนผักหวานศิริธรรมจักร
๒๕. ชุมชนนาตาด-หินลาด
ความสําคัญหรือความโดดเด่นทางธรณีวิทยาในระดับนานาชาติ
มีความสำคัญโดดเด่นทางธรณีวิทยาในด้านแหล่งซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ ซึ่งถือว่าเป็น”อาณาจักรไดโนเสาร์” ของประเทศไทย เนื่องจากมีการค้นพบไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ของโลกถึง ๕ สายพันธุ์ คือ สยามโมซอรัส สุธีธรนี (Siamosaurussuteethorni) ภูเวียงโกซอรัสสิรินธรเน (Phuwiangosaurussirindhornae) สยามโมไทรันนัสอีสานเอนซิส (Siamotyrannusisanensis) กินรีมิมัส ขอนแก่นเอนซิส (Kinnareemimuskhonkaenensis) และภูเวียงเวเนเตอร์ แย้มนิยมมิ (Phuwiangvenatoryaemniyomi) และยังพบกระดูกหน้าแข้งของไดโนเสาร์ ในกลุ่มคอมป์ซอกนาธัส ไดโนเสาร์ที่พบมีทั้งตัวเล็กและตัวใหญ่ กินพืชและกินสัตว์ ตัวเต็มวัยและวัยเยาว์
ความก้าวหน้าในการดำเนินงาน
๑. คณะกรรมการส่งเสริมการอนุรักษ์แหล่งธรณีวิทยาและจัดตั้งอุทยานธรณี รับรองให้อุทยานธรณีขอนแก่นเป็นอุทยานธรณีประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และต้องได้รับการประเมินซ้ำเพื่อคงสถานะเป็นอุทยานธรณีประเทศไทยในปี ๒๕๖๗
๒. จังหวัดขอนแก่น ได้มีหนังสือ หนังสือศาลากลางจังหวัดขอนแก่นที่ ขก ๐๐๑๔.๓/๒๖๐๗ ลงวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๔ เสนอคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอุทยานธรณี พิจารณาถึงความจำนงในการสมัครเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก และขอความอนุเคราะห์กรมทรัพยากรธรณีสนับสนุนการดำเนินงานดังกล่าว
๓. คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๕ เห็นชอบให้ อุทยานธรณีขอนแก่น สมัครเข้ารับการรับรองเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก (UNESCO Global Geoparks) โดยยูเนสโกส่งผู้ประเมินภาคสนามลงพื้นที่เมื่อวันที่ ๒๑ – ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๖ และจะมีการพิจารณาผลการประเมินในการประชุมสภาอุทยานธรณีโลกซึ่งเป็นการประชุมคู่ขนานในการประชุมเครือข่ายอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก ครั้งที่ ๑๐ ณ ประเทศโมร็อคโค
.
-------------------------
ที่มา
- https://thailandgeoparks.org/
- http://www.globalgeopark.org
- https://www.unesco.org/en/mab/wnbr/
รวบรวมรูปภาพ
-------------------------
-------------------------