Geoparks Thailand อุทยานธรณี ตาก (Tak Geopark)
อุทยานธรณีตาก (Tak Geopark) ไม้กลายเป็นหิน
ครอบคลุมพื้นที่ 4 อำเภอของจังหวัดตาก ได้แก่ อำเภอสามเงา อำเภอบ้านตาก อำเภอเมืองตาก และบางส่วนของอำเภอแม่สอด รวมพื้นที่ 5,691 ตารางกิโลเมตร อุทยานธรณีไม้กลายเป็นหินตาก มีความโดดเด่นด้านซากดึกดำบรรพ์ไม้กลายเป็นหิน โดยพบซากไม้กลายเป็นหินที่มีความสมบูรณ์ จำนวน 8 ท่อน ซึ่งท่อนที่ยาวที่สุดมีความยาวถึง 72.22 เมตร ซึ่งเชื่อว่ามีความยาวที่สุดในโลก และยังพบว่าแต่ละท่อนเป็นต้นไม้ต่างชนิดกันบ่งบอกถึงความหลายหลาย ทางชีวภาพของชนิดต้นไม้บริเวณพื้นที่นี้เมื่อประมาณ 8 แสนปีก่อน
ข้อมูลทั่วไป
จังหวัดตาก ได้ประกาศจัดตั้งอุทยานธรณีไม้กลายเป็นหินตาก เป็นอุทยานธรณีในระดับท้องถิ่น เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ครอบคลุมพื้นที่ ๔ อำเภอของจังหวัดตาก ได้แก่ อำเภอสามเงา อำเภอบ้านตาก อำเภอเมืองตาก และอำเภอวังเจ้า รวมพื้นที่ ๕,๖๙๑ ตารางกิโลเมตร
อุทยานธรณีไม้กลายเป็นหินตาก ประกอบด้วย แหล่งธรณีวิทยา ๔๕ แห่ง แหล่งนิเวศวิทยา ๔ แห่ง และแหล่งโบราณคดี วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์๑๓ แหล่ง รวม ๖๒ แหล่ง ดังนี้
่แหล่งธรณีวิทยา
๑. หินซ้อนวัดเขาถ้ำ ๒๔. หินกรวดมนห้วยแม่บอน
๒. หินควอตไซต์บ้านตลุกสัก ๒๕. หินแกรนิตผุวัดดอยเจดีย์
๓. หินไรโอไลต์เขาลาน้ำ ๒๖. ตะกอนแม่น้ำวัดบรมธาตุตาก
๔. สวนสาธารณะ แขวงทางหลวงตากที่ ๑ ๒๗. ตะกอนแม่น้ำเจดีย์ยุทธหัตถี
๕. สะพานหินห้วยปลาหลด ๒๘. ถ้ำเม่น
๖. เนินสูงเสียดฟ้าสำนักสงฆ์จุนโท ๒๙. ตะกอนไหลบ้านผาแต้ม-ท้องฟ้า
๗. ถ้ำจุนโท สำนักสงฆ์จุนโท ๓๐. ตะกอนไหลบ้านสันพระบาท
๘. เนินตะกอนวัดดอนข่อยเขาแก้ว ๓๑. หินแกรนิตพระพุทธบาทดอยโล้น
๙. หินแปรอุทยานแห่งชาติลานสาง ๓๒. น้ำตกแก่งห้วยตาก
๑๐. หินแกรนิตห้วยบวกหลวง ๓๓. หินแกรนิตห้วยแม่ไข
๑๑. หินแกรนิตผุหนองบัวเหนือ ๓๔. หินแปรหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์
๑๒. เนินตะกอนแม่น้ำวัดท่านา ๓๕. ศาลเจ้าพ่อเขาแก้ว
๑๓. หอนไนส์ทำเล่ ๓๖. ผาหินตัด
๑๔. หินแปรหัวยทำทราย ๓๗. ตะกอนไหลผาสามเงา
๑๕. หินแปรห้วยคลุกหิน ๓๘. ตะกอนไหลห้วยปางปุย
๑๖. ชั้นตะกอนปากทางเข้า อช.ไม้เป็นหิน ๓๙. เนินตะกอนพระธาตุจ๋อมสะหลีหมอกแก้ว
๑๗. ไม้กลายเป็นหินตาก ๔๐. หินแปรเขาหนาม
๑๘. ลานหินทรายวัดพระธาตุดอยงู ๔๑. แกรนิตเกาะวาเลนไทน์
๑๙. ปากแม่น้ำวัง ๔๒. ถ้ำโยคี
๒๐. หินทรายศาลเจ้าพ่อสะหลีปีมเมือง ๔๓. หินปูนเขาคันเบ็ด
๒๑. หนองพระบาท ๔๔. หินแกรนิตวัดพระธาตุผาไข้อินทร์แขวน
๒๒. หินแกรนิตตำบลแม่สลิด ๔๕. หินแกรนิตแก่งสร้อย
๒๓. อ่างเก็บน้ำห้วยชะลาด
แหล่งนิเวศวิทยา
๑. อุทยานแห่งชาติลานสาง
๒. อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช
๓. เขื่อนภูมิพล
๔. ป่าปรง
แหล่งโบราณคดี วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์
๑. วัดดอยข่อยเขาแก้ว
๒. วัดพระบรมธาตุบ้านตาก
๓. วัดพระธาตุแก่งสร้อย
๔. วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง
๕. พระธาตุจ๋อมสะหรีหมอกแก้ว
๖. วัดมณีบรรพตวรวิหาร
๗. ศาลหลักเมืองสี่มหาราช
๘. เจดีย์ยุทธหัตถี
๙. ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๑๐. ตรอกบ้านจีน
๑๑. ผาสามเงา
๑๒. อนุสรณ์ครกหินยักษ์แม่สลิด
๑๓. ศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้ายชุมชนแม่ระวาน
ความสําคัญหรือความโดดเด่นทางธรณีวิทยาในระดับนานาชาติ
พบไม้กลายเป็นหินที่ยาวที่สุดในโลก ยาว 72.20 เมตร (69.70เมตร) มีหินหรือซากดึกดำบรรพ์ครบทุกมหายุคและเกือบทุกยุคในธรณีกาล ตั้งแต่มหายุคพรีแคมเบรียน พาลีโอโซอิก มีโซโซอิก และซีโนโซอิก ส่วน 12 ยุคย่อยของมหายุคดังกล่าว ก็มีถึง 11 ยุค (ขาดยุคจูแรสซิก) โดยมีทั้งหินแปร หินอัคนี และหินตะกอนมีลักษณะทางธรณีวิทยาเหมาะสมในการพัฒนาเขื่อนคอนกรีตโค้งสูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สูง 154 เมตร
ความก้าวหน้าในการดำเนินงาน
– ประสานงานกับหน่วยงานในจังหวัดเพื่อสนับสนุน และผลักดันการดำเนินงานอุทยานธรณีไม้กลายเป็นหินตาก
– สนับสนุนการพัฒนาแหล่งไม้กลายเป็นหินในเขตอุทยานแห่งชาติดอยสอยมาลัย (เตรียมการ) เป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลกเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนโดยรอบ และจังหวัดตาก
– สนับสนุนการอนุรักษ์แหล่งมรดกธรณีไม้กลายเป็นหินตาก โดยการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับมรดกทางธรณีซากดึกดำบรรพ์ไม้กลายเป็นหินให้เป็นที่รู้จักและยอมรับใน ระดับสากล โดยจะจัดให้มีการบันทึกสถิติโลก Guinness World Record ไม้กลายเป็นหินที่ยาวที่สุดในโลก
– แต่งตั้งผู้อำนวยการอุทยานธรณีไม้กลายเป็นหินตาก และจัดตั้งคณะอำนวยการอุทยานธรณี
ไม้กลายเป็นหินตาก
– ประสานงานกับจังหวัดตาก ในการจัดส่งแบบมาตรฐานงานก่อสร้าง โครงการพัฒนาแหล่งไม้กลายเป็นหินสู่การท่องเที่ยวระดับโลก จังหวัดตาก เพื่อให้ทางจังหวัดตากร่วมผลักดันโครงการให้เข้าสู่แผนยุทธศาสตร์จังหวัด ต่อไป
– ประชุมร่วมกันระหว่าง ทธ. ปตท. และสมาคมธรณีฯ เกี่ยวกับแนวทางการจัดกิจกรรมและสิทธิประโยชน์ในการสนับสนุนกิจกรรม
– ส่งเสริม สนับสนุนการอนุรักษ์และการดำเนินงานอื่นๆ เช่น จัดทำสื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เส้นทางการท่องเที่ยว การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย YouTube (Chanel geology road tour)กิจกรรมค่ายเด็กรักษ์ไม้ตากงานอนุรักษ์ซากดึกดำบรรพ์ไม้กลายเป็นหินหลุมที่ 1
– รวบรวม ศึกษา สำรวจ ตรวจสอบ ข้อมูลธรณีวิทยาในแหล่งอุทยานธรณี
– เผยแพร่องค์ความรู้ด้านธรณีวิทยาในพื้นที่อุทยานธรณี เช่น เผยแพร่องค์ความรู้ด้านธรณีวิทยาให้โรงเรียนในพื้นที่อุทยานธรณีจัดประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ เรื่อง “ความโดดเด่นทางธรณีวิทยาของอุทยานธรณีไม้กลายเป็นหินตาก”
.
-------------------------
ที่มา
- https://thailandgeoparks.org/
- http://www.globalgeopark.org
- https://www.unesco.org/en/mab/wnbr/
รวบรวมรูปภาพ
-------------------------
-------------------------