iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
Nares ลาว จำปาสัก ภูเพียงบ่อละเวน(2) : ว่าด้วยสันฐานทางธรณีวิทยา
 
 
หินที่ภูเพียงบ่อละเวนนั้น แบ่งออกได้เป็น 2 พวก พวกที่อยู่บนพื้นราบยอดภูนั้น เป็นหินบะซอลต์ อันเกิดจากลาวาที่เกิดจากแมกมาใต้พิภพถูกขับออกมาสู่ผิวโลก ในรูปของธารลาวา และบางส่วนเป็นเถ้าหินที่เกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟ หินทั้งสองกลุ่มนี้ ต่อมาได้ถูกกัดเซาะผุพังลำลาย กลายเป็นศิลาแลง และดินแดง หินพวกที่สองคือหินตะกอนพัดพา ที่เกิดจากแม่น้ำโบราณ ที่มีอายุอยู่ในมหายุคชีวิตกลาง (Mesozoic Era) เทียบได้ทั้งในด้านอายุและลักษณะหิน กับกลุ่มหินโคราชของไทย (ภาพที่ 1)
ว่าอันที่จริงแล้ว หินตะกอนที่เกิดในมหายุคชีวิตกลาง ในลาว เวียตนาม และกัมพูชานั้น เมื่อประมาณ 100 ปีก่อน นักธรณีวิทยาชาวฝรั่งเศส แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ อินโดซีเนียนตอนล่าง (Indosinian Inférieur ) อินโดซีเนียนตอนกลาง (Indosinian Moyen ) และอินโดซีเนียนตอนบน (Indosinian Supérieur ) โดยน่าจะเทียบได้กับ 1) หมวดหินห้วยหินลาด 2) หมวดหินน้ำพอง ภูกระดึง พระวิหาร เสาขัว และภูพาน 3) หมวดหินโคกกรวดและมหาสารคาม ตามลำดับ ในแผนที่ที่ทำโดยนักธรณีฯเวียดนามนั้น จะเรียกหินทั้งหมดเป็นหมวดหินโคราช และมีชื่อหมวดหินเป็นภาษากลาวกลาง แต่แผนที่บริเวณแขวงอัตตะปือที่นำทีมสำรวจโดยญี่ปุ่นนั้น เรียกชื่อหินทั้งหมดนี้ว่า หินมหายุคมีโซโซอิก และมีชื่อหมวดหินที่มาจากชื่อหมู่บ้านที่เป็นชนเผ่าลาวสูง ( ภาพที่2)
การศึกษาเพิ่มเติมมากขึ้นยึนยันว่า ภูเพียงบ่อละเวน คือภูเขาที่มีโครงสร้างชั้นหินเป็นแบบรูปประทุนหงายที่สองปลายเอียงเทลงเข้าหาใจกลาง (doubly plunging syncline) เกิดขึ้นหลังจากการเกิดเทือกเขาหิมาลัย (Himalayan Orogeny) หลังจากนันจึงถูกกัดเซาะและผุพังทำลายโดยธารน้ำโบราณ จนกระทั่งประมาณ 16 ล้านปีก่อนจึงเกิดการไหลท่วมท้นขึ้นมาของลาวา จนเกิดเป็นหินบะซอลต์ ซึ่งสามารถระบุได้ว่ามีอยู่ 4 จำพวก เกิดขึ้นมาในเวลาที่ต่างกัน ว่ากันว่า ครั้งหลังสุดจนประมาณล้านปีที่ผ่านมานี้เอง (ภาพที่ 3, 4, 5)
หินบะซอลต์ที่พบในประเทศไทยนั้น พบว่ามักจะเกิดจากอิทธิพลของรอยเลื่อน ที่เกิดมาก่อนหน้านั้นแล้ว ทั้งกลุ่มของยุคพาลีโอจีน (16-65 ล้านปี) และกลุ่มของยุคไทรแอสสิกตอนปลาย (220 ล้านปี) แต่ที่ภูเพียงบ่อละเวนนั้นไม่ปรากฎว่ามีรอยเลื่อนทั้งสองกลุ่มดังกล่าว ทว่า กับประทุแทรกผ่านภูเขาที่มีโครงสร้างรูปประทุนหงายขึ้นมา และยังพบว่าธารลาวาบางส่วน ไหลจากยอดเขาลงไปตามร่องห้วยที่กัดเซาะลึก จนไปเย็นตัวกลายเป็นหินบะซอลต์มี่ราบเชิงเขาข้างล่าง (ภาพที่ 6) การเกิดของธารลาวาที่ต่อมากลายเป็นบะซอลต์ที่นี่ รวมทั้งการเกิดสะสมตัวของบอกไซต์บนยอดภูเพียง จึงยังคงเป็นหัวข้อที่นักธรณีวิทยาต้องปรึกษาหารือกันต่อไปอีกนาน
สิไปเบิ่งบะซอลต์กับบอกไซต์ที่ภูเพียงบ่อบะเวน นำกันบ้อหล่ะ อ้ายสารวัตร
 
.

ที่มา https://www.facebook.com/nares.sattayarak

รวบรวมข้อมูลและภาพ www.iok2u.com

-------------------------------------------------

รวมบทความ นเรศ สัตยารักษ์ (Nares Sattayarak)

-------------------------------------------------

ภาพที่ 1 แผนที่ธรณีวิทยาของที่ราบสูงบ่อละเวน (openjicareport.jica.go.jp, 2008) ที่ประกอบขึ้นด้วยหิน 2 จำพวกคือ หินบะซอลต์ (VPg สีน้ำเงิน, VNg สีเหลือง) และหินตะกอนพัดพาที่สะสมตัวบนแผ่นดินในมหายุคมีโซโซอิก (Mz1-1 : ~HHL, Mz1-2 : ~NP, PK, Mz2-1 : ~PW, SK, PP, Mz2-2 : ~KK)

ภาพที่ 2 ลำดับชั้นหินของภูเพียงบ่อบะเวน (Vilayhack, 2008) แสดงชื่อหมวดหินที่สะสมตัวบนบกในมหายุคมีโซโซอิก ซึ่งตั้งแต่ Namhiang ถึง Latsaluay น่าจะเทียบได้กับหมวดหินภูกระดึงถึงโคกกรวด ของกลุ่มหินโคราชของไทย

ภาพที่ 3 แผนที่ธรณีวิทยาของบริเวณตะวันออกของภูเพียงบ่อละเวน และเส้นแสดงตำแหน่งของเส้นตัดขวางทางธรณีวิทยาที่แสดงในภาพที่ 4

ภาพที่ 4 ภาพตัดขวางบริเวณด้านตะวันออกของภูเพียงบ่อละเวน แสดงกาวางตัวซ้อนทับกันของหินตะกอนพัดพาที่สะสมตัวบนแผ่นดินในมหายุคมีโซโซอิก(J2 ~ PK, J3 ~ PW, K1~ SK,PP, K2 ~KK) กับหินบะซอลต์ (bP1-1, bP1-2, bN1-1, bN1-2) ที่ไหลท่วมท้นบนหินตะกอน

ภาพที่ 5 ภาพตัดขวางทางธรณีวิทยาของภูเพียงบ่อละเวน แสดงถึงช่องทางที่แมกมาแทรกดันขึ้นมาจากใต้โลก แล้วกลายเป็นลาวาไหลท่วมหินตะกอนที่สะสมตัวบนแผ่นดินในมหายุคมีโซโซอิก

ภาพที่ 6 แผนที่ส่วนหนึ่งของภูเพียงบ่อละเวน แสดงรายละเอียดตำแหน่งของหินตะกอนพัด กับหินบะซอลต์ซึ่งแบ่งออกได้ถึง 4 ประเภท รวมทั้งตำแหน่งที่พบแหล่งบอกไซต์ที่น่าสนใจ (Latsaluay Fm. ~ KK, lagnao-Kang ~PP; lamination = cross bedding )

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward