iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
Nares ลาว จำปาสัก ภูเพียงบ่อละเวน(3) : ว่าด้วยอุกกาบาตลึกลับ
เมื่อเกือบห้าสิบปีมาแล้ว สมัยที่ข้าพเจ้ายังทำงานสำรวจทำแผนที่ธรณีวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ทราบว่ามีคหบดีคนหนึ่งของ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น เก็บรวมรวมเทคไทต์ หรือที่คนไทยเรียกว่า “อุลกมณี” ไว้มากมาย ข่าวว่าแกรับซื้อจากชาวบ้านปิ๊บละ 80 บาท เพื่อขายให้องค์การนาซ่าอีกต่อหนึ่ง ข้าพเจ้าแวะไปดูแล้วซื้อไม่ลง เพราะแกเอากำไรแบบสุดโหด โดยขายชิ้นละหลายร้อยบาท พู่นแล้ว
เทคไทต์ (tektite) นั้น เกิดจากการที่อุกกาบาตพุ่งลงมาชนโลก ความเร็วและความรุนแรงในการตกกระทบ ทำให้เศษหิน เศษดิน เศษทรายทั่วๆ ไปหลอมละลายแล้วสาดกระเซ็นขึ้นสู่ท้องฟ้า จากนั้นก็เย็นและแข็งตัวในอากาศ แล้วตกลงสู่พื้นโลกดังเดิม เทคไทต์มีรูปลักษณะที่แบ่งได้ 2 พวก พวกแรกมีลักษณะเป็นชั้น (layered forms) เรียกว่า เทคไทต์ชั้น (layered Tektite) หรือเทคไทต์แบบเมืองนอง (Muong Nong Type ) ตามชื่อของเมืองนอง ประเทศกัมพูชา สถานที่ที่มีการค้นพบเป็นแห่งแรก พวกที่สองเป็นรูปหยดน้ำตา ดรัมเบล กลม หรือจานกลม (splashforms) เรียกว่าเทคไทต์กระเซ็น (splash Tektite) (ภาพที่ 1 รูปบน)
นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า เทคไทต์กระเซ็นนั้น เกิดจากการที่เศษซากหลอมเหลวถูกอากาศปลุกปั่น ขณะที่ลอยอยู่บนอากาศก่อนที่จะแข็งตัว ทำให้เกิดรูปทรงต่างๆ ขึ้นกับระยะทางและ/หรือระยะเวลา จากนั้นก็ตกลงสู่พื้น (ภาพที่ 1 รูปล่าง) กระจายตัวออกจากจุดตกกระทบของอุกกาบาต ส่วนเทคไทต์ชั้นนั้น สันนิษฐานว่าเกิดจากการที่หินที่ถูกตกกระทบเกิดการหลอมละลาย เกิดการแปรสภาพหิน และเย็นตัวอย่างรวดเร็ว จนเกิดเกิดแร่ชนิดใหม่ ได้เทคไทต์ชั้น ที่มีลักษณะเป็นแผ่นชั้น ปื้นหนา และจะพบตรงจุดที่อุกกาบาตตกกระแทกโลก
ในประเทศไทยของเรานั้นพบเทคไทต์ชั้น หนักถึง 5 กิโลกรัม ที่บ้านโนนงาม อำเภอบุณฑริก (ภาพที่ 2) เมื่อ พ.ศ. 2545 อาจารย์สงัด พันธ์โอภาส นักธรณีวิทยาอาวุโสของไทยผู้ล่วงลับแล้ว จึงได้ตั้งสมมติฐาน “เหตุการณ์บุณฑริก (Buntharik Event)” ขึ้นมาว่า เมื่อประมาณแปดแสนก่อน ได้มีอุกกาบาตพุ่งชนโลกที่อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี และอีกหลายบริเวณในเอเซียอาคเณย์ เกิดเป็น “ศูนย์หลุมกระแทก (multiple crater)” ทำให้เกิดเทคไทต์ และพบกระจายทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย รวมทั้งกัมพูชา ลาว เวียดนาม และเกาะไหหลำ นอกจากนั้น ท่านยังเชื่อว่าปรากฎการณ์นี้ ก่อให้เกิด “เถ้าดินจากการระเบิด (catastroloess)” ซึ่งก็คือ ดินสีแดงที่ปรากฏตัวอยู่ทั่วอีสานบ้านเฮานั่นเอง
ปี พ.ศ. 2562 มีนักธรณีวิทยาอีกกลุ่มหนึ่งเสนอรายงานผลของการศึกษาการกระจายตัวของเทคไทต์ ทั้งในแบบกระเซ็น และแบบชั้น ครอบคลุมพื้นที่อีนโดจีน (ลาวเวียดนาม กัมพูชา และอีสานบ้านเฮา) (ภาพที่ 3) ซึ่งจะเห็นว่าเทคไทต์ชั้นนั้นจะพบมากบนภูเพียงบ่อละเวน มากกว่าที่เมืองนอง และบุณฑริก พวกเขาจึงเสนอว่า จุดที่อุกกาบาตพุ่งชนโลกเมื่อประมาณแปดแสนปีมานั้น ควรจะเป็นสถานที่บนยอดภูเพียงบ่อบะเวนมากกว่า (Sieh et. al., 2019)
คณะนักธรณีวิทยากลุ่มนี้ ยังได้สำรวจทั้งธรณีวิทยาพื้นผิว และการสำรวจวัดค่าแรงโน้มถ่วงของโลก และได้เสนอผลการศึกษาว่า หลุมที่เกิดจากการพุ่งชนโลก(crater)ของอุกกาบาตที่ได้จากข้อมูลและหลักฐานของทั้งสองวิธีนั้น มีตำแหน่ง และรูปร่างที่ใกล้เคียงกันมาก (ภาพที่ 4) นอกจากนี้ คณะสำรวจยังพบร่องรอยของก้อนหินทรายกระจัดกระจายอยู่ใต้ดิน ประมาณ 20 กิโลเมตรจากขอบของหลุมที่เชื่อว่าเกิดจากการพุ่งชนของอุกกาบาต จากหน้าตัดถนน สามารถเห็นก้อนหินทราย ลักษณะเหลี่ยม (ภาพที่ 5) ซึ่งหากนำเข้ามาต่อกันเหมือนจิ๊กซอว์ จะรวมเข้าเป็นชิ้นเดียวกันได้สนิท ข้างบนของก้อนหินทรายเหล่านี้ เป็นเม็ดทรายแป้งและทรายที่ละเอียดมาก คณะสำรวจนี้เชื่อว่า น่าจะเกิดจากการตกสะสมของฝุ่นและเศษหินที่พุ่งขึ้นไปบนอากาศหลังการพุ่งชน แล้วตกลงมาทับถมกัน เหมือนกับ catastroloess ในอีสานบ้านเฮา ว่าซั่น!
ทริปเบิ่งลาวใต้ของสมาคมธรณีวิทยาแห่งประเทศไทย ระหว่าง 12-17 มกราคม 2566 นี้เราไม่ได้คาดหมายว่าจะได้พบหลักฐานหรือข้อมูลเพิ่มเติม แต่การได้ไปนอนในสถานที่ที่เชื่อว่าเป็นหลุมอุกาบาตก็น่าจะสร้างความรู้สึแปลกใหม่ให้กับเราได้บ้าง
สิไปนำบ้อหล่ะ อ้ายสารวัตร
.

ที่มา https://www.facebook.com/nares.sattayarak

รวบรวมข้อมูลและภาพ www.iok2u.com

-------------------------------------------------

รวมบทความ นเรศ สัตยารักษ์ (Nares Sattayarak)

-------------------------------------------------

ภาพที่ 1 ภาพอุลกมณี (tektite) แสดงรูปลักษณะทั้งสองแบบ และการเกิดรูปร่างที่แตกต่างกันไปเนื่องจากการหมุนตัวในอากาศ

ภาพที่ 2 แผนที่แสดงการกระจายตัวของเทคไทต์แต่ละชนิดในเขตเอเซียอาคเนย์ โปรดสังเกตรูปดาวสีดำ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่พบเทคไทต์ชั้นขนาดใหญ่

ภาพที่ 3 แผนที่แสดงการกระจายตัวของเทคไทต์ทั้งแบบกระเซ็นและแบบชั้น รวมทั้งพื้นที่ที่พบบะซอลต์อายุมหายุคซีโนโซอิกตอนปลาย รวมทั้งตำแหน่งของบ้านโดนงามบุณฑริก และเมืองนอง ที่ปลายลูกศรสีน้ำเงิน

ภาพที่ 4 แผนที่แสดงตำแหน่งหลุมที่เกิดจากการพุ่งชนโลก(crater)ของอุกกาบาต ที่ได้จากการสำรวจทั้งธรณีวิทยาพื้นผิว(วงเส้นประสีขาว) และการสำรวจวัดค่าแรงโน้มถ่วงของโลก (วงเส้นประสีเหลือง)

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward