iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป

LM57 การจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory Management) 

 

การจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory Management)  

1. ความหมายของสินค้าคงคลัง (Inventory) 

สินค้าคงคลัง (Inventory) คือทรัพยากรหนึ่งขององค์กรที่รอการเปลี่ยนจากสภาวะหนึ่งไปอีกสกาวะหนึ่ง เช่น วัตถุดิบที่รอการผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูป หรือสินค้าสำเร็จรูปที่รอการจำหน่าย หรือสินค้าที่อยู่ในกระบวนการผลิตที่รอการผลิตในกระบวนการต่อไป หรืออะไหล่ของเครื่องจักรที่รอการเบิกไปซ่อมแซม สินค้าคงคลังถือได้ว่าเป็นต้นทุนส่วนหนึ่งขององค์กรซึ่งมีมูลค่าโดยประมาณที่ 40 - 50 % ของมูลค่าสินทรัพย์รวมขององค์กร การถึอครองสินค้าคงคลังไว้มาก มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งข้อดีคือทำให้การผลิตดำเนินไปไต้อย่างต่อเนื่องไม่หยุดชะงัก และมีสินค้าเพียงพอสำหรับการจำหน่ายให้กับลูกค้าอยู่เสมอ ส่วนข้อเสีย คือ ระบบเงินทุนหมุนเวียนขององค์กรอาจติดขัด หรืออาจขาดทุน ถ้าสินค้าเหล่านั้นหมดอายุหรือตกรุ่น เป็นเหตุให้ไม่สามารถนำไปจำหน่ายต่อไปได้ ดังนั้นการจัดการสินค้าคงคลังที่ดีจะส่งผลทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ

ซึ่งการวางแผนการจัดการสินค้าคงคลังจะพิจารณาถึงการกำหนดระดับสินค้าคงคลังสำรองปลอดภัย (Safety Stock) ปริมาณการสั่งซื้อขนาดประหยัด (Economic Order Quantity) จุดสั่งซื้อใหม่ (Reorder Point) รอบในการเติมเต็มสินค้าคงคลัง (Cycle Stock) และการจัดการสินค้าคงคลังที่มีมากเกิน ทุกองค์กรไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐ โรงเรียน โรงงาน ธนาคาร อุตสาหกรรม หรือหน่วยงานต่าง ๆ จำเป็นต้องทำการออกแบบและวางแผนควบคุมสินค้าคงคลังให้มีประสิทธิภาพ โตยอาจจะนำแนวคิดในการบริหารจัตการ เช่น Just in time (JIT) การตอบสนองอย่างรวตเร็ว (Quick Response) มาใช้ในการจัดการสินค้าคงคลัง ร่วมกับหลักการพยากรณ์ เพื่อลตความเสี่ยงการจัดเก็บสินค้าคงคลังที่น้อยหรือมากเกินไป เพื่อทำให้การตำเนินงานขององค์กรเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด

2 การแบ่งประเภทของคลังสินค้าตามลักษณะสินค้า (Inventory Type) สินค้าคงคลังสามารถแบ่งประเภทตามหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ดังนี้

2.1 ประเภทของสินค้าคงคลังตามลักษณะของสินค้า จำแนกเป็น 4 ประเภทดังนี้

2.1.1) สินค้าคงคลังที่เป็นวัตถุติบ (Raw Material) คือ สินค้าที่เป็นวัตถุดิบรองรับการผลิตสินค้าสำเร็จรูป

2.1.2) สินค้าคงคลังระหว่างการผลิต (Work-in Process; WIP) คือ สินค้าที่ผ่านกระบวนการผลิตมาบ้างแล้ว แต่ยังไม่เสร็จสิ้นครบตามกระบวนการผลิต

2.1.3) สินค้าคงคลังประเภทอะไหล่สำหรับการซ่อมบำรุง (Maintenance Repair Operating; MROs) คือ กลุ่มสินค้าประเภทอะไหล่และอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องมีสำรองไว้เพื่องานซ่อมบำรุง

2.1.4) สินค้าคงคลังประเภทสินค้าสำเร็จรูป (Finished Go๐ds) คือ กลุ่มสินค้าที่ผ่านกระบวนการผลิตขั้นสุดท้ายแล้ว และพร้อมที่จะส่งจำหน่ายให้กับลูกค้าได้ทันที

2.2 ประเภทของสินค้าคงคลังในเส้นทางของระบบโลจิสติกส์ (Logistics Pipeline) จำแนกเป็น 5 ประเภก ตังนี้

2.2.1) สินค้าคงคลังเพื่อรองรับความต้องการตามวัฏจักร และความต้องการในช่วงเวลาปกติ (Cycle / Regular Stock)

2..2.2) สินค้าคงคลังสำรองระดับปลอดภัย (Safety Stock) เป็นสินค้าคงคลังสำรองที่มีไว้ เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากความไม่แน่นอน ที่เกิดจากการจัดส่งของผู้ส่งมอบวัตถุดิบ (Supplier) ความต้องการของลูกค้า หรือความไม่แน่นอนในขั้นตอนการผลิตสินค้า

2.2.3) สินค้าคงคลังที่ถูกจัดเก็บตามช่วงฤดูกาล (Seasonal Stock) มีไว้เพื่อทำให้กระบวนการผลิตเป็นไปอย่างต่อเนื่องตลอดฤดูกาล

2.2.4) สินค้าคงคลังระหว่างการจัตส่ง (Pipeline Stock) เป็นสินค้าที่อยู่ในระยะทางการขนส่งจากผู้จำหน่ายไปยังลูกค้า

2.2.5) สินด้คงคลังสำรองเพิ่มเติมเพื่อเหตุผลอื่นๆ (Other Stock) เช่น สินค้าคงคลังสำรองในกรณีที่ผลิตไม่ทัน หรือสินค้าที่เกิตจากความจำเป็นที่ต้องผลิตอย่างต่อเนื่อง
เกินความต้องการที่แท้จริง
 

3 วัตถุประสงค์ของสินค้าคงคลัง

สินค้าคงคลังมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มความยืดหยุ่นสำหรับการดำเนินการขององค์กร ซึ่งมีวัตถุประสงค์ของการถือครองสินค้าคงคลัง ดังนี้

1. เพื่อใช้จำแนกประเภทสินคยยกเป็นหมวตหมู่ และกรถือครองสินค้าคงคลังจะช่วยทำให้องค์กรสามารถจัตส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าไต้ทันเวลา

2. เพื่อลดปัญหาจากความต้องการสินค้าที่ไม่แน่นอนของลูกค้า

3. เพื่อทำให้ได้รับประโยชน์จากส่วนลดเนื่องจากการสั่งซื้อสินค้าที่มีจำนวนมากขึ้น

4. เพื่อป้องกันปัญหาจากสภาวะทางเศรษฐกิจ เช่น ภาวะเงินเฟ้อ และการขึ้นราคาของสินค้า

5. เพื่อป้องกันปัญหาที่เกิตจากความไม่แน่นอนจากการส่งมอบของผู้ส่งมอบเนื่องมาจากสภาพตินฟ้าอากาศ ปัญหาต้านคุณภาพของสินด้ หรือปัญหาจากคุณภาพของ
สินค้า เป็นต้น

6. เพื่อช่วยทำให้งานผลิตเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ไม่ติดขัด ไม่มีปัญหาการขาดแคลนวัตถุบหรือไม่มีสินด้คงเหลือระหว่างการผลิต

 

การแบ่งประเภทของคลังสินค้าตามลักษณะสินค้า (Inventory Type)

กิจกรรมในคลังสินค้า (Inventory Activities)

การวางแผนจัดผังพื้นที่ในคลังสินค้า (Inventory Plan)

การพัฒนาปรับปรุงกระบวนการทำงานในคลังสินค้า (Inventory improving work processes)

การวัดผลการดำเนินงานคลังสินค้า (Warehouse performance measurement)

ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการคลังสินค้า (Information technology systems in warehouse management)

การจัดกลุ่มสินค้าคงคลังด้วยระบบ ABC (ABC Analysis)

การหาปริมาณการสั่งซื้อขนาดประหยัด (Economic Order Quantity)

การกำหนดระดับสินค้าคงคลังที่ปลอตภัย (Safety Stock)

 

-----------------------------------------------

ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง พื้นฐานการจัดการโลจิสติกส์ คลิกที่นี่

LM57 พื้นฐานการจัดการโลจิสติกส์ (Fundamentals of Logistics Management) ปี 2557

-----------------------------------------------

ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com

-----------------------------------------------

ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง คลิกที่นี่

WIM คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง (Warehouse & Inventory management)

-------------------------------------------------

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward