iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ

CT54 ต้นทุนสินค้าคงคลังต่ำ ไม่จำเป็นต้อง Zero Stock เสมอไป

 ลิขสิทธิ์ สำนักโลจิสติกส์

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

ผู้ประกอบการหลายท่านเมื่อได้ยินว่าภาครัฐประกาศเป้าหมายในการลดต้นทุนสินค้าคงคลังของภาคอุตสาหกรรมลง มักจะส่ายหน้าไม่เห็นด้วยโดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหาร และมักจะคิดหรือคิดดังๆ ว่า “เป็นไปไม่ได้หรอก เพราะวัตถุดิบอาหารออกเป็นฤดูกาล ไม่เก็บสินค้าคงคลังได้อย่างไร”  

ซึ่งสิ่งที่ท่านๆ คิดนั้นเป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว เพราะการเก็บสินค้าคงคลังจำเป็นต้องมีให้เพียงพอต่อความต้องการในการผลิต แต่สิ่งหนึ่งที่ท่านๆ อาจเข้าใจผิด คือ ภาครัฐต้องการผลักดันให้ลด “ต้นทุนสินค้าคงคลัง” ไม่ใช่ลด “ปริมาณสินค้าคงคลัง” ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ต่างกันอย่างมาก

ต้นทุนสินค้าคงคลังนอกจากจะประกอบไปด้วย ต้นทุนการถือครองสินค้าแล้ว ยังมีต้นทุนค่าเสียโอกาสในการขายอีกด้วย ซึ่งหมายความว่า ถ้าเราดำเนินนโยบาย Zero Stock จนไม่มีวัตถุดิบมาผลิตสำหรับขายให้แก่ลูกค้า ผลที่ตามมาคือเกิดต้นทุนสินค้าคงคลังที่เกิดจากค่าเสียโอกาสในการขายอย่างมหาศาล ดังนั้นการบริหารต้นทุนสินค้าคงคลังจึงเป็นการบริหารให้เกิดความพอดีหรือ Optimize ระหว่างต้นทุนทั้ง 2 ส่วนได้ต่ำที่สุด ไม่ใช่ลดให้ปริมาณสินค้าคงคลังต่ำสุด ขอยกแนวทางของอุตสาหกรรมอาหารเพื่อการประยุกต์ใช้ดังนี้

  1. การจัดหาวัตถุดิบตามฤดูกาลให้เพียงพอ

ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตปลาทูน่ากระป๋องรายใหญ่ของโลก มีโรงงานขนาดใหญ่อยู่ที่จังหวัดสมุทรสาครและสงขลา นอกจากนี้ยังดำเนินธุรกิจแบบเครือข่าย มีโรงงานและแหล่งวัตถุดิบอยู่ทั่วโลก การวางกลยุทธ์ธุรกิจในแนวนี้ เพื่อให้สามารถจัดหาวัตถุดิบคือปลาทูน่าได้ในปริมาณที่ต้องการในแต่ละปี    กลยุทธ์ในการจัดหาปลาทูน่าสดมาป้อนสู่โรงงานไม่ใช่การจัดหาปลามาให้ได้มากที่สุด แต่เป็นการจัดหาปลามาให้เพียงพอกับแผนการผลิตและการขายในแต่ละปี เมื่อกำหนดแผนการตลาดแล้ว ปัจจัยของความสำเร็จ คือ การจัดหาวัตถุดิบมาให้เพียงพอ การจัดหาปลาทูน่ามีลักษณะเป็นฤดูกาล หมายความว่าไม่สามารถจัดหาวัตถุดิบแบบเฉลี่ยเท่ากันทุกเดือน ในช่วงฤดูกาลปลามีมากและราคาถูก ในช่วงนอกฤดูกาลกลับจัดหามาได้น้อยและราคาแพง วิธีการจัดการที่ดีที่สุดคือตั้งเป้าหมายปริมาณการถือครองวัตถุดิบในแต่ละช่วงว่าต้องมีสต็อกในปริมาณเท่าไร และกำหนดแผนการจัดหาและแผนการผลิตให้สอดคล้องกัน ดังนั้นวัฏจักรของการเคลื่อนไหวของสต็อกวัตถุดิบจึงเป็นปีละ 1 รอบเท่านั้น ถ้าไม่ได้ตามเป้าหมายของปริมาณจัดหาในช่วงเข้าฤดูกาล ต้องจัดหาเพิ่มในช่วงนอกฤดูกาลซึ่งจะมีราคาแพง หรือวัตถุดิบบางชนิดอาจหาไม่ได้เลยในช่วงนอกฤดูกาล

ตัวอย่างสถิติการจัดเก็บวัตถุดิบเพื่อผลิตเป็นปลากระป๋องของโรงงานแห่งหนึ่งของไทย แสดงให้เห็นการจัดหาวัตถุดิบได้จำนวนมากในช่วงฤดูกาล (ประมาณเดือนมีนาคม ถึง สิงหาคม) และลดลงในช่วงนอกฤดูกาล (ประมาณเดือนกันยายน ถึง กุมภาพันธ์) 

ภาพแสดงสถิติการจัดเก็บวัตถุสำหรับผลิตปลากระป๋องในปี 2552 

กรณีศึกษาอีกหนึ่งตัวอย่างเป็นการจัดหาวัตถุดิบของโรงสีข้าว สถิติการจัดเก็บสต็อกข้าวเป็นผลจากการจัดหาข้าวตามฤดูกาลการเพาะปลูก โรงสีเริ่มจัดหาและสะสมสต็อกข้าวประมาณเดือนสิงหาคม –กันยายน จนถึงประมาณเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ดังภาพ 

ภาพแสดงสถิติการจัดเก็บวัตถุสำหรับโรงสีข้าวในปี 2552 

ดังนั้น วิธีการจัดการที่ดีที่สุดในการจัดหาวัตถุดิบให้เพียงพอสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร คือ

- จัดทำแผนและเป้าหมายความต้องการใช้ ตลอดจนปริมาณสต็อกเป้าหมายตลอดทั้งปี

- มีเป้าหมายระดับสต็อกรายเดือนหรือรายสัปดาห์เพื่อเป็นแนวทางในการจัดหา

- มีกลยุทธ์ในการจัดหาวัตถุดิบให้ได้ตามเป้าหมาย เช่น การขยายแหล่งวัตถุดิบ การสร้างพันธมิตรและเครือข่าย การพัฒนาผู้ผลิต เกษตรกร ประมง ปศุสัตว์ การใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม เป็นต้น 

- การจัดการเพื่อควบคุมคุณภาพและปริมาณวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร

แหล่งวัตถุดิบเพื่ออุตสาหกรรมอาหารมาจาก 3 แหล่งหลัก ได้แก่ การเกษตร การปศุสัตว์ และการประมง ด้วยสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารต้องตระหนักว่า ปริมาณและคุณภาพของวัตถุดิบจากทั้ง 3 แหล่งหลักดังกล่าว อาจมีความแปรปรวนหรือขาดแคลนอันเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน โรคระบาด ภัยธรรมชาติต่างๆ รวมถึงการจัดการที่ด้อยประสิทธิภาพในภาคเกษตร ปศุสัตว์ และประมง ดังตัวอย่างที่เกิดขึ้นหลายกรณี เช่น ผลผลิตมะพร้าวที่เคยจัดหาได้อย่างสม่ำเสมอกลับมีปริมาณลดลงในปี 2553 โดยมีปริมาณโดยรวมลดลงถึง 30% เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณในปี 2552 โรคระบาดที่เกิดขึ้นในสัตว์ปีก หรือการที่ปริมาณปลาในบริเวณอ่าวไทยลดลงอย่างมาก

นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์จากภาคการเกษตรซึ่งเคยเป็นวัตถุดิบให้กับอุตสาหกรรมอาหาร กลายเป็น วัตถุดิบป้อนเข้าสู่ภาคพลังงานและวัสดุทดแทนมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น  เช่น กากน้ำตาลและมันสำปะหลังนำไปผลิตสารเอทานอลเพื่อผสมเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอลล์ หรือ น้ำมันปาล์มนำไปผลิตไบโอดีเซล หรือ มันสำปะหลังนำไปผลิตไบโอพลาสติก เป็นต้น ส่งผลให้เกิดภาวะขาดแคลนวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมอาหารรุนแรงขึ้น

ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารต้องมีการจัดการเพื่อควบคุมคุณภาพและปริมาณแหล่งวัตถุดิบ โดยมีตัวอย่างแนวทางดังนี้

พัฒนาความสัมพันธ์กับผู้ผลิตในภาคการเกษตรเพื่อจัดทำแผนการผลิตให้มีความสอดคล้องกับแผนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป เช่น การจัดทำ Contract Farming การจัดการพื้นที่และกำหนดเวลาเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวร่วมกับเกษตรกร เป็นต้น

เพิ่มแหล่งจัดหาวัตถุดิบ จากเกษตรกรโดยตรงหรือผ่านตัวกลาง เพื่อเป็นทางเลือกในการจัดหาวัตถุดิบ ในกรณีที่ผู้ส่งมอบรายใดรายหนึ่งไม่สามารถส่งมอบได้ตามปริมาณที่ต้องการ

จัดหาวัตถุดิบซึ่งเป็นสินค้าเกษตรแปรรูปกึ่งสำเร็จรูป เพื่อลดความเสี่ยงของจัดหาสินค้าจากภาคเกษตรโดยตรง ปัจจุบันผู้ผลิตสามารถจัดหาสินค้าแปรรูปเกษตรกึ่งสำเร็จรูปทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ การจัดหาวัตถุดิบโดยการนำเข้าจากต่างประเทศ ช่วยลดความเสี่ยงด้านการขาดแคลนวัตถุดิบลงได้ เช่น ผู้ผลิตน้ำผลไม้ ซึ่งเคยซื้อผลไม้จากเกษตรกรหรือตัวแทนเกษตรกรในรูปของผลไม้ ปัจจุบันสามารถจัดหาในรูปของสินค้ากึ่งสำเร็จรูป เช่น น้ำผลไม้ความเข้มข้นสูง (Concentrate) และสามารถเลือกนำเข้าจากต่างประเทศได้หลายแหล่ง

--------------------------------

สนใจบทความดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง

CT54 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2554

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2554” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจ จัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน  หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล

 --------------------------------

ที่มา

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2554

โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com

-----------------------------------------------

ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง คลิกที่นี่

WIM คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง (Warehouse & Inventory management)

-------------------------------------------------

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward