iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา

CT54 วางแผนวัสดุคงคลัง (Inventory planning) ด้วยการสร้างสมดุลในซัพพลายเชน (Demand supply balance)

ลิขสิทธิ์ สำนักโลจิสติกส์

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

 

ปัญหาสินค้าสำเร็จรูปขาดมือ (Inventory Out of Stock) นับเป็นปัญหาที่องค์กรหรือสถานประกอบการหลายแห่งประสบบ่อยครั้ง สินค้าสำเร็จรูปขาดมือเกิดขึ้นเมื่อมีความต้องการสินค้าแต่ไม่มีสินค้าที่จะส่งมอบให้แก่ลูกค้า ส่งผลให้ขาดโอกาสในการขายสูญเสียโอกาสทำกำไร ความเชื่อมั่นของลูกค้าลดต่ำลง ในด้านต้นทุนที่เกิดขึ้นนั้น ได้แก่ การสูญเสียรายได้เนื่องจากลูกค้าไปซื้อที่อื่น หรืออาจจะเป็นค่าใช้จ่ายในการลดราคาสินค้าเพื่อจูงใจให้ลูกค้ารอสินค้า นอกจากนี้การสูญเสียความเชื่อใจ และความพึงพอใจของลูกค้า สามารถนับเป็นค่าใช้จ่ายเนื่องจาการขาดแคลนสินค้าได้ด้วย

การวางแผนวัสดุคงคลัง (Inventory planning) มีด้วยกันหลายวิธี สำหรับการสร้างสมดุลในซัพพลายเชน (Demand supply balance) เป็นวิธีหนึ่งที่นำมาช่วยในการวางแผนวัสดุคงคลัง

Demand supply balance เป็นวิธีการคำนวณขั้นพื้นฐาน รวมทั้งเป็นกรอบของการวางแผนที่ทำให้มองเห็นภาพรวมของการจัดการซัพพลายเชน ได้แก่ ปริมาณนำออกจากระบบ ปริมาณที่นำเข้ามาในระบบ และปริมาณที่คงเหลืออยู่ในระบบ ในช่วงระยะเวลาหนึ่งของการวางแผน    สถานประกอบการควรจัดทำตาราง Demand supply balance ในหลายรูปแบบ ดังตัวอย่างที่แสดงในตารางที่ 1 ถึงตาราง 5

ตารางที่ 1 Demand Supply Balance ของผลิตภัณฑ์เป็นรายปี

(ชิ้น)

ต้นปี 2551

ขายปี 2551

ผลิตปี 2551

ต้นปี 2552

ขายปี 2552

ผลิตปี 2552

ต้นปี 2553

สินค้า ก

500

(6,900)

7,400

1,000

(7,500)

7,300

800

สินค้า ข

500

(700)

1,000

800

(700)

100

200

สินค้า ค

1,200

(9,000)

8,000

200

(10,000)

12,000

2,200


ตารางที่ 2 Demand Supply Balance ของผลิตภัณฑ์เป็นรายไตรมาส

(ชิ้น)

ต้น Q1 2553

ขาย Q1 2553

ผลิต Q1 2553

ต้น Q2 2553

ขาย Q2 2553

ผลิตQ2 2553

ต้น Q3 2553

สินค้า ก

800

(2,000)

2,000

800

(1,600)

2,000

1,200

สินค้า ข

200

(60)

100

240

(60)

100

280

สินค้า ค

2,200

(800)

500

1,900

(1,000)

500

1,400

 

ตารางที่ 3 Demand Supply Balance ของผลิตภัณฑ์เป็นรายเดือน

(ชิ้น)

ต้น ม.ค.

2553

ขาย ม.ค. 2553

ผลิต ม.ค. 2553

ต้น ก.พ. 2553

ขาย ก.พ. 2553

ผลิต ก.พ.

 2553

ต้น มี.ค. 2553

สินค้า ก

800

(650)

700

850

(600)

600

850

สินค้า ข

200

(20)

35

215

(20)

30

225

สินค้า ค

2,200

(300)

200

2,100

(250)

200

2,050


ตารางที่ 4 Demand Supply Balance ของผลิตภัณฑ์เป็นรายสัปดาห์

(ชิ้น)

ต้น W1 2553

ขาย W1 2553

ผลิต W1 2553

ต้น W2 2553

ขาย W2 2553

ผลิตW2 2553

ต้น W3 2553

สินค้า ก

800

(150)

160

810

(150)

160

820

สินค้า ข

200

0

10

210

(8)

10

212

สินค้า ค

2,200

(70)

50

2,180

(80)

50

2,150

ตารางที่ 5 Demand Supply Balance ของผลิตภัณฑ์เป็นรายวัน

(ชิ้น)

ต้น 1 ม.ค.

2553

ขาย 1 ม.ค.

2553

ผลิต 1 ม.ค.

2553

ต้น 2 ม.ค.

2553

ขาย 2 ม.ค.

2553

ผลิต 2 ม.ค.

2553

ต้น 3 ม.ค.

2553

สินค้า ก

800

(30)

30

800

(30)

33

803

สินค้า ข

200

0

2

202

0

2

204

สินค้า ค

2,200

(15)

15

2,200

(18)

15

2,197

และยังอาจลงรายละเอียดต่อไปอีกเป็นรายชั่วโมง ถ้าหากว่าการจัดทำดังกล่าวก่อให้เกิดประโยชน์ในการติดตามความเคลื่อนไหวของสถานะสินค้าคงคลัง และควบคุมการจัดการการผลิตและโลจิสติกส์ได้ละเอียดยิ่งขึ้น  

นอกจากผลิตภัณฑ์หรือสินค้าสำเร็จรูปแล้ว ยังสามารถจัดทำ Demand supply balance ของวัตถุดิบ บรรจุภัณฑ์ อะไหล่ วัสดุทุกอย่างที่ต้องการการวางแผนซัพพลายเชน รูปแบบของการทำ Demand supply balance จะเหมือนกับผลิตภัณฑ์ แต่ตัวแปรที่นำเข้ามาในระบบ และนำออกจากระบบจะเปลี่ยนไป กล่าวคือการนำเข้าระบบมักเป็นการซื้อเข้า การนำออกจากระบบคือการนำไปใช้ ดังตัวอย่างในตารางที่ 6

ตารางที่ 6 Demand Supply Balance ของวัตถุดิบเป็นรายเดือน

(ชิ้น)

ต้น ม.ค.

2553

ใช้ไป ม.ค.

2553

ซื้อ ม.ค. 2553

ต้น ก.พ. 2553

ใช้ไป ก.พ. 2553

ซื้อ ก.พ.  2553

ต้น มี.ค. 2553

วัตถุดิบ ก

700

(600)

700

800

(600)

0

200

วัตถุดิบ ข

500

(400)

350

450

(400)

400

450

วัตถุดิบ ค

300

(150)

200

350

(150)

200

400

การจัดทำ Demand supply balance ทำให้สามารถมองเห็นสถานะและการเคลื่อนไหวของสินค้าหรือวัตถุดิบคงเหลือในระบบในแต่ละงวดเวลา ซึ่งเป็นผลจากการนำเข้าและจ่ายออกจากระบบ คำว่าระบบในที่นี้ อาจหมายถึง สินค้าคงคลังทั้งหมดของสถานประกอบการ หรือหน่วยผลิตหนึ่ง ๆ หรือคลังสินค้าหนึ่ง ๆ หรือคลังวัตถุดิบหนึ่ง ๆ ก็ได้

สมการในการทำ Demand Supply Balance ของผลิตภัณฑ์ คือ

                             ต้นงวด + ผลิต   –   ขาย         =     ปลายงวด

หรือ              ต้นงวด  + ผลิต                       =     ปลายงวด + ขาย

                                          ผลิต                        =     (ปลายงวด – ต้นงวด) + ขาย

จากสมการ Demand supply balance ดังกล่าวจะเห็นได้ว่า เวลาต้องการตัดสินใจว่าควรจะผลิตสินค้าเท่าไร ก็ต้องพิจารณาจากปริมาณที่ต้องการขาย ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของปริมาณสินค้าคงคลังด้วยเสมอ สมการอย่างง่ายที่มีการคำนวณเพียงบวกและลบเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง หลาย ๆ สถานประกอบการยังไม่ได้จัดทำ Demand supply balance เพื่อการวางแผนการผลิตและแผนสินค้าคงคลังปลายงวดอย่างเหมาะสม

--------------------------------

สนใจบทความดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง

CT54 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2554

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2554” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจ จัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน  หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล

 --------------------------------

ที่มา

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2554

โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward