iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา

การประเมินค่างาน (Job Evaluation)

 

 

การประเมินค่างาน (Job Evaluation) หมายถึง กระบวนการที่จัดทำขึ้นอย่างเป็นทางการ เพื่อที่จะตีค่างานต่างๆ ภายในองค์กรให้รู้ค่างานเปรียบเทียบร่วมกัน การกำหนดค่าของงานจะทำโดยการพิจารณา ที่วัตถุประสงค์ของการจ่ายค่าตอบแทนเป็นหลักสำคัญ ความพยายามของการประเมินค่างานจะอยู่ที่การมุ่งที่จะพิจารณาให้สัมพันธ์กันระหว่าง จำนวนการจ่ายตอบแทนที่ให้กับคนงาน ตามงานที่คนงานผู้นั้นทำให้้ต่องาน และที่มีผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพขององค์กรด้วย


การประเมินค่างาน (job value) เป็นกระบวนการหนึ่งในระำบบการกำหนดการจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นธรรมแก่ตำแหน่งงานในองค์กร โดยหาวิธีการตีค่าของงานออกมาให้ได้เป็น job value ที่แตกต่างกันตามระดับความสำคัญของตำแหน่ง แล้วนำค่างานไปจัดชั้นงาน (job grade) เพื่อกำหนดโครงสร้างเงินเดือนในลำดับต่อไป

 

ปัจจุบันวิธีการประเมินค่างานที่ใช้กันอยู่มีหลายวิธีเช่น

- การจัดลําดับงาน (Job Ranking Method) นับเป็นวิธีเก่าแก่ที่สุด เป็นวิธีการประเมินค่างานที่ง่ายที่สุด โดยการประเมินความสําคัญของงานในแต่ละตําแหน่งในลักษณะส่วนรวม ใช้วิธีการเรียงลําดับตําแหน่งที่มีอยู่โดยปกติจะพิจารณาเปรียบเทียบจากลักษณะงานหรือความสําคัญของงาน ตามรายละเอียดหน้าที่ความรับผิดชอบของตําแหน่ง (Job Description)  

 

- การจับคู่เปรียบเทียบกัน (Paired Comparison Method) เป็นวิธีการประเมินค่างานในลักษณะส่วนรวมคล้ายกับการจัดลําดับงาน แต่มีความละเอียดและเป็นระบบมากกว่า วิธีการจับคู่เปรียบเทียบดําเนินการโดยการนํางานของแต่ละตําแหน่งมาเปรียบเทียบกับงานของตําแหน่งอื่น ๆ ที่จะทําการประเมินเป็นคู่ ๆ แล้วกําหนดคะแนนตามความสําคัญ โดยนําผลรวมของคะแนนที่ได้จากการเปรียบเทียบทั้งหมดมาจัดเรียงเพื่อกําหนดตําแหน่งต่อไป

 

- การจําแนกงาน (Job Classification  Method  หรือ Grading  Method) เป็นวิธีการประเมินค่างานของแต่ละตําแหน่ง ในลักษณะส่วนรวมเช่นเดียวกับการจัดลําดับงานและการจับคู่เปรียบเทียบกัน  แต่มีวิธีดําเนินการไปในลักษณะตรงข้ามกัน  โดยจะกําหนดระดับหรือ นิยามของงานในแต่ละตําแหน่งไว้ก่อนที่อาจเรียกว่า เป็นมาตรฐานชั้นงานไว้  หลังจากนั้นจึงคัดเลือกตําแหน่งที่มีลักษณะเป็นงานหลักหรือตําแหน่งหลัก  (Bench Mark  หรือ  Key Job) เป็นตัวยืนในการกําหนดตําแหน่งให้ตรงกับระดับและนิยามที่ได้กําหนดไว้ แล้วนําตําแหน่งที่จะประเมินมาเปรียบเทียบความสําคัญกับงานหลักหรือตําแหน่งหลักดังกล่าว เพื่อพิจารณาจัดเข้าชั้นงาน/มาตรฐานชั้นงานที่กําหนดไว้ข้างต้น การประเมินค่างานประเภทที่ใช้วิธีการวิเคราะห์อย่างง่ายๆ

 

- การให้คะแนนองค์ประกอบ (Point Rating System) เป็นวิธีการพิจารณางานในแต่ละตําแหน่งภายใต้องค์ประกอบที่กําหนดไว้ และในแต่ละองค์ประกอบมีการกําหนดระดับการให้คะแนนหรือหน่วยวัด (Scale) ไว้ด้วย เพื่อเป็นหน่วยวัดมาตรฐานใช้สําหรับการประเมินค่าของทุกตําแหน่งเพื่อเป็นมาตรฐานเดียวกัน

 

- การเปรียบเทียบองค์ประกอบ (Factor Comparison System) เป็นวิธีการประเมินค่างานของแต่ละตําแหน่งภายใต้องค์ประกอบที่กําหนดไว้ เช่นเดียวกับการให้คะแนนองค์ประกอบ โดยการแยกองค้ประกอบที่จะใช้เช่น ทักษะหรือความชํานาญงาน (Skill) การใช้สติปัญญา (Mental Requirement) ความสามารถทางร่างกาย (Physical Requirement) ความรับผิดชอบ (Responsibility) สภาพการทํางาน (Working Condition) และเลือกตําแหน่งจํานวนหนึ่งเป็นตําแหน่งหลัก (Key Job) ที่เห็นว่าการกําหนดตําแหน่งหรือค่าตอบแทนยุติธรรมแล้วมาเป็นตัวอย่างเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง โดยพิจารณาเปรียบเทียบงานของแต่ละตําแหน่งกับตําแหน่งอื่นๆ ทีละคู่ว่า สําคัญกว่า-สําคัญเท่าเทียมกัน-สําคัญน้อยกว่า เช่นเดียวกับการจับคู่เปรียบเทียบ (Paired Comparison Methods) แต่ละเอียดมากกว่า เพราะไม่ได้เปรียบเทียบในลักษณะส่วนรวม (as a whole) แต่จะเปรียบเทียบทีละองค์ประกอบ ผลรวมที่ได้จะนํามาเรียงกันเพื่อกําหนดระดับตําแหน่งต่อไป

 

- การประเมินองค์ประกอบ (Factor Evaluation System หรือ FES) เป็นวิธีที่ใช้พิจารณากําหนดตําแหน่งหรือความสําคัญของงานในตําแหน่งที่มิใช่ตําแหน่งหัวหน้างาน หรืองานที่มีผู้รวมปฏิบัติงานไม่เกิน 3 คน และต้องเป็นงานที่ปฏิบัติในสํานักงาน (White Collar) โดยจะไม่คํานึงถึงปริมาณที่ปฏิบัติ แต่จะคํานึงถึงลักษณะงานแต่เพียงอย่างเดียว การกําหนดตําแหน่งตามวิธีนี้จะมีลักษณะใกล้เคียงกับวิธีการให้คะแนนองค์ประกอบคือ มีการกําหนดองค์ประกอบที่จะใช้วัดหรือประเมินตําแหน่งขึ้นมา เป็นองค์ประกอบที่สะท้อนการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานในสํานักงานทั่ว ๆ ไปด้วย

 

บางครั้งวิธีประเมินค่างานอาจจำแนกได้อีกเป็น 2 กลุ่มคือ

ก. กลุ่มที่เป็นวิธีประเมินค่างาน โดยประเมินจากตัวงานนั้นโดยตรง (Job as a whole) ซึ่ง ในการดำเนินการประเมินนั้นการวัดค่าจะกระทำโดยมีขอบเขตการ เปรียบเทียบที่มี การพิจารณา ที่ไม่ได้ให้คำตอบในเชิงปริมาณ (No quantitative)

 

ข. กลุ่มที่เป็นวิธีประเมินค่า โดยการประเมินจากส่วนประกอบของงาน หรือปัจจัยที่เกี่ยวกับงานแต่ละตัวเปรียบเทียบกัน (Job Parts or Factors) ซึ่งการวัดค่าจะกระทำโดยมีการเปรียบเทียบและพิจารณาออกมาเป็นเชิปริมาณที่วัดเป็นค่าได้ (Quantitative)

 

-------------------------------------
? ติดตามข้อมูลข่าวสารได้จากช่องทางสื่อสาร iOK2u ได้ที่
? Web: www.iok2u.com
? Facebook: https://www.facebook.com/iok2u
? Line: @iok2u.com
? Twister: iok2u.com
E-Mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
? Tel: เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ 097-2345363

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward