iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป

Geoparks Thailand อุทยานธรณี ในประเทศไทย

 

แนวทางการจัดตั้งอุทยานธรณีประเทศไทย กำหนดโดย คณะกรรมการส่งเสริมการอนุรักษ์แหล่งธรณีวิทยาและจัดตั้งอุทยานธรณีประเทศไทย 

กำหนดการประกาศเป็นอุทยานธรณีประเทศไทย (National Geopark of Thailand) ซึ่งคณะกรรมการส่งเสริมการอนุรักษ์แหล่งธรณีวิทยาและจัดตั้งอุทยานธรณี จะพิจารณาใบสมัครโดยอ้างอิงจากข้อกำหนดฯ นี้

ส่วนที่ ๑ ข้อสำคัญในการเป็นอุทยานธรณีประเทศไทย

๑. มีแหล่งธรณีวิทยาอันควรอนุรักษ์ หรือแหล่งอนุรักษ์ธรณีวิทยา หรือแหล่งธรรมชาติวิทยา แหล่งประวัติศาสตร์ หรือแหล่งวัฒนธรรม ต้องมีแหล่งธรณีวิทยาอันควรอนุรักษ์หรือแหล่งอนุรักษ์ธรณีวิทยา มีประวัติศาสตร์ทางธรณีวิทยา และกระบวนการที่ทำให้เกิดขึ้น และมีความสำคัญในเชิงวิทยาศาสตร์ ความแปลกหรือความงดงามตามธรรมชาติ นอกจากนี้ต้องมีแหล่งอื่นๆ ด้วย เช่น แหล่งธรรมชาติวิทยา แหล่งประวัติศาสตร์ แหล่งโบราณคดี และแหล่งวัฒนธรรมที่มีคุณค่า อุทยานธรณีเป็นการบูรณาการในหลายมิติ เพื่อเชื่อมโยงมรดกทางธรณีวิทยากับด้านอื่นๆ ซึ่ง มีผลต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์และสังคม

๒. มีขอบเขตอุทยานธรณีที่ชัดเจนและเป็นพื้นที่ผืนเดียวกัน ต้องเป็นพื้นที่ที่ได้รับการประเมินขอบเขตชัดเจนเป็นพื้นที่ผืนเดียวกัน ครอบคลุมแหล่งธรณีวิทยาอันควรอนุรักษ์หรือแหล่งอนุรักษ์ธรณีวิทยาและแหล่งอื่นๆ อย่างครบถ้วน โดยไม่จำเป็นต้องสัมพันธ์กับขอบเขตการปกครองระบุตำบลและอำเภอทั้งหมดที่อยู่ในพื้นที่อุทยานธรณี และกว้างขวางเพียงพอที่จะรองรับการพัฒนา ทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมในท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการท่องเที่ยว ขอบเขตอุทยานธรณีสามารถซ้อนทับกับพื้นที่ที่มีการอนุรักษ์ในรูปแบบอื่นได้ เช่น อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เป็นต้น ขอบเขตอุทยานธรณี แห่งหนึ่งสามารถครอบคลุมพื้นที่ได้มากกว่า ๑ จังหวัด

๓. มีโครงสร้างในการบริหารจัดการอุทยานธรณี โครงสร้างในการบริหารจัดการอุทยานธรณี สามารถประกอบด้วยบุคคลจากหลายภาคส่วนตามความเหมาะสม อาทิ หน่วยงานของภาครัฐ หน่วยงานเอกชน ประชาชนในท้องถิ่น และบุคลากรทางการศึกษา เป็นต้น เพื่อดำเนินงานต่างๆ ให้บรรลุเป้าหมายของอุทยานธรณี

๔. มีแผนบริหารจัดการอุทยานธรณี ก่อนการยื่นใบสมัครเป็นอุทยานธรณีประเทศไทยต้องมีแผนบริหารจัดการอุทยานธรณีและแผนปฏิบัติงานที่ชัดเจน แผนดังกล่าวต้องตรงกับความต้องการทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในท้องถิ่น มีการคุ้มครองแหล่งต่างๆ และมีการอนุรักษ์วัฒนธรรมในพื้นที่ของตนเอง

๕. มีการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมอุทยานธรณี การจัดตั้งอุทยานธรณี ควรได้รับการสนับสนุนที่เข้มแข็งจากชุมชน และเกิดจากความต้องการของชุมชนหรือองค์กรท้องถิ่น ประชาชนควรมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของอุทยานธรณี เพื่อเสริมสร้างให้ประชาชนในท้องถิ่นตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรที่มีอยู่ กระตุ้นให้รู้สึกถึงการเป็นเจ้าของพื้นที่และเกิดความหวงแหนในพื้นที่ อันจะนำมาซึ่งการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืนต่อไป

๖. มีการเผยแพร่ความรู้ที่เกี่ยวกับอุทยานธรณีผ่านสื่อต่างๆ อุทยานธรณีส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนของท้องถิ่นผ่านการท่องเที่ยวทางธรณีวิทยา เป็นหลัก ดังนั้นเพื่อกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวทางธรณีวิทยา จึงมีความจำเป็นที่อุทยานธรณีต้องมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลและความรู้ไปสู่นักท่องเที่ยวและประชาชนท้องถิ่น โดยผ่านช่องทางต่างๆ อาทิ เว็บไซต์ แผ่นพับ และแผนที่ที่มีข้อมูลแหล่งธรณีวิทยาและแหล่งอื่นๆ เป็นต้น

๗. มีการท่องเที่ยวบริเวณแหล่งธรณีวิทยาอันควรอนุรักษ์หรือแหล่งอนุรักษ์ธรณีวิทยา และ แหล่งธรรมชาติวิทยา แหล่งประวัติศาสตร์ หรือแหล่งวัฒนธรรม การท่องเที่ยวในรูปแบบต่างๆ ภายในอุทยานธรณี ล้วนมีส่วนช่วยให้อุทยานธรณีประสบความสำเร็จ เนื่องจากเกิดการกระจายรายได้ไปสู่ท้องถิ่นและนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในการผลักดันให้เกิดการท่องเที่ยวในรูปแบบนี้ ซึ่งการท่องเที่ยวต้องมีความสอดคล้องกับสภาพท้องถิ่นลักษณะธรรมชาติและวัฒนธรรมของพื้นที่ และควรคำนึงถึงวิถีชีวิตของประชาชนในท้องถิ่นด้วย

 

ที่มา

https://www.geopark-thailand.org

https://www.unesco.org/en

ภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com

-------------------------------------------------

สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่

Geoparks อุทยานธรณีโลกของยูเนสโก (UNESCO Global Geoparks)

-------------------------------------------------

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward