Waiyapot ep092 The Carboniferous Rocks of Thailand หินยุค คาร์บอนิเฟอรัส ของประเทศไทย
Fig 92.1 Plate Tectonic of East Asia in the Carboniferous Period
EP. 93 Mineral deposits of The Carboniferous Period แหล่งแร่ในยุค คาร์บอนิเฟอรัส
แหล่งแร่สำคัญของยุคคาร์บอนิเฟอรัสคือแร่ถ่านหิน แหล่งแร่สำคัญอื่น ๆ ได้แก่ limestone, iron ore, lead, zinc, and hydrocarbons ในยุคนี้ Euramerica (North America and Europe) และบางส่วนของ Asia อยู่ในโซนอบอุ่น ใน Mississippian (Early Carboniferous) sub period มีอากาศร้อน และมีออกซิเจนในอากาศสูง จะมีการสะสมตัวของหินปูนในพื้นที่ทะเลตื้นจำนวนมาก มากกว่าเป็นแหล่งถ่านหิน ที่มีการสะสมตัวอย่างมากในยุค Pennsylvanian (Late Carboniferous) ที่พื้นทวีปส่วนใหญ่ เป็นพื้นที่ป่าพรุ ป่าดิบชื้นที่มีพืชที่เป็นต้นเฟิร์นยักษ์เกิดขึ้นจำนวนมาก แหล่งถ่านหินสำคัญได้แก่ Appalachian Basin, Illinois Basin, and Western Interior Basin.(USA), South Wales, Midlands, and Scotland, (UK), Ruhr and Silesian coal basins (Germany & Poland), Large coalfields in northern and central regions of China & Russia,
นอกจากแหล่งถ่านหินแล้วในยุคนี้มีไหล่ทวีปที่ทำให้ เกิดทะเลตื้นอย่างกว้างขวาง เกิดแนวปะการังที่ต่อมากลายเป็นหินปูนขนาดใหญ่ ที่เป็นแหล่งหินปูนสำคัญใน north America, Europe, and north Asia
แนวหินปูนเหล่านี้ ยังเป็นแหล่งกักเก็บแหล่งแร่สำคัญได้แก่ แร่ เหล็ก ที่เกิดแบบ Sedimentary Iron Stone Deposits (บรรยายแล้วใน EP. 84) แร่ ตะกั่ว สังกะสี เงิน แบไรต์ ทองแดง และ ฟลูออไรต์ ที่เกิดแบบ Mississippi Valley Type (MVT) ได้แก่ที่ Illinois, Missouri, Wisconsin (USA) ใน Derbyshire and Wales (UK) และแหล่งอื่น ๆ ใน Belgium, France, และCentral Europe
นอกจากนี้แหล่งหินปูน (Organic-rich shales and limestones) ขนาดใหญ่นี้ ยังเป็นหินต้นกำเนิดของสาร hydrocarbon เป็น petroleum และเป็นแหล่งกักเก็บ น้ำมันและก๊าซ ขนาดใหญ่ แหล่ง oil and gas ที่สำคัญได้แก่ แหล่ง Appalachian and Illinois Basins (USA), North Sea (UK & Norway), และ Russia & Kazakhstan
แหล่งแร่ ของหินยุค คาร์บอนิเฟอรัส ของประเทศไทยประกอบด้วยแหล่งถ่านหินขนาดเล็กที่อำเภอ ปากชม นาด้วง จังหวัดเลย และ แหล่งสานะคาม ของ ลาว ถึงแม้ว่าถ่านหินในแหล่งนี้จะเป็นถ่านคุณภาพดีถึง anthracite แต่ชั้นแร่เป็นชั้นบาง ๆ ในหิน black shale โดยรวมแล้วจัดว่าคุณภาพต่ำ เนื่องจาก มี ash มากเกินไปให้ค่าความร้อนต่ำ หิน Carboniferous-Permian (CP) ของไทยเป็นแหล่งกักเก็บแหล่งแร่ hydrothermal หลายชนิด ที่เป็นหินบริเวณของแหล่งแร่ hydrothermal จากการแข็งตัวของหินแกรนิตยุค Triassic-Cretaceous ได้แก่แหล่งแร่ พลวง แบไรต์ ฟลูออไรต์ แมงกานีส และเหล็ก หิน Carboniferous ในไทยยังเป็นแหล่งแร่ยิปซัม-แอนไฮไดรต์ ขนาดใหญ่ทั้งบริเวณภาคกลาง และภาคใต้
.
-------------------------
ที่มา
- https://www.facebook.com/weerasak.phomthong
รวบรวมข้อมูลและภาพ
-------------------------
บทความ ไวยพจน์ วรกนก (Waiyapot Worakanok) รวมข้อมูล
รวมบทความที่น่าสนใจจากนักธรณีวิทยาของไทย
-------------------------