iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ

Nares เวียดนาม เที่ยวเดียนเบียนฟู ซาปา ประสานักธรณีฯ (5) แนวมุดตัวแม่น้ำม้า

ภาพที่ 1 แผนที่จีนและเอเซียอาคเนย์ แสดงแผ่นทวีปย่อยต่างๆ รวมทั้งแนวการเชื่อม(มุด)ตัวกันของแต่ละแผ่น อาทิเช่น หมายเลข 17 และ 1 ซึ่งก็คือ แนวมุดตัวภูเขาอ้ายลาว และแม่น้ำม้า ตามลำดับ (Ailao Shan and Song Ma Suture respectively) ทั้งสองแนวนี้เกิดขึ้นจากการเชื่อมกันของแผ่นทวีปจีนใต้ กับอินโดจีน

ดังได้กล่าวมาในโพสต์ก่อนหน้านี้แล้วว่า ทริปตะลุยเดียนเบียนฟู ซาปา ประสานักธรณีฯ ของข้าพเจ้ากับพรรคพวกจะวิ่งรถเหยียบไปบนแผ่นดินที่เมื่อกว่า 300 ล้านปีก่อน มีสภาพเป็นจุลทวีป 2 แผ่น นั่นคือ แผ่นทวีปจีนใต้ และอินโดจีน(อีสานบ้านเฮา ลาว เวียดนามใต้ และกัมพูชา) ต่อมาเมื่อประมาณตอนกลางของยุคไทรแอสสิก (230.5 ± 8.2 ล้านปี; Zhang et al, 2013) แผ่นทวีปจีนใต้ได้มุดลงใต้แผ่นทวีปอินโดจีน จนกระทั่งเชื่อมตัวเข้าด้วยกัน ตามแนวที่วางตัวในทิศตะวันตกเฉียงเหนือ - ตะวันออกเฉียงใต้ ที่เรียกว่า แนวมุดตัวภูเขาอ้ายลาว และแม่น้ำม้า (Ailao Shan and Song Ma Suture) (เส้นสีดำหมายเลข 17 และ 1ภาพที่ 1) กระทั่งเมื่อแผ่นทวีปซีบูมาสุชนกับแผ่นทวีปอินโดจีนในยุคจูแรสสิก (ประมาณ 190 ล้านปี) เกิดแนวมุดตัวน่าน-อุตรดิตถ์ สระแก้ว และรวบ-เบนตง) (เส้นสีดำหมายเลข 10, 18 และ11 ในภาพที่ 1 ตามลำดับ) เกิดรอยเลื่อนเหลื่อมด้านขวาเดียนเบียนฟู (Dien Bien Phu Dextral Fault) ทำให้แนวมุดตัวภูเขาอ้ายลาวขยับเคลื่อนตัวไปทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน (DBF ในภาพที่ 2)
หินที่พบตามแนวมุดตัวแม่น้ำม้าและบริเวณใกล้เคียงนั้นแสดงไว้ในภาพที่ 2 และ 3 ซึ่งข้าพเจ้าผู้เป็นนักธรณีวิทยาที่เรียกกันว่า softrock geologist หรือ “นักธรณีฯหินตะกอน” จึงไม่ค่อยจะถนัดเรื่องหินอัคนีกับหินแปร ก็เลยแค่โพสต์รูปให้เซียนหินแข็งเอาไว้ขบคิด แต่ขอแถมให้ว่า โอฟิโอไลต์ในพื้นที่นี้ ประกอบด้วย serpentinized peridotite, layered gabbro, basalt และ diabase
จากนั้นก็ขอแถมอีกสองภาพ เพื่อให้ท่านได้เบิ่งภาพจินตนาการตัดขวางในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้เพื่อแสดงการวางตัวของหินต่างๆ รวมทั้งการมุดตัวของแผ่นทวีปจีนใต้ลงข้างล่างของแผ่นทวีปอินโดจีนตามแนวมุดตัวแม่น้ำม้า นั่นคือภาพตัดขวาง A-A’ ในภาพที่ 4 และภาพสามมิติที่อาจทำให้เข้าใจได้ดีมากยิ่งขึ้นในภาพที่ 5 ซึ่งเมื่อเห็นแล้วก็เกิดกิเลสว่าอยากเห็นภูเขาหน้าตัดสามเหลี่ยมหน้าจั่ว (triangular facets) ที่เกิดจากรอยเลื่อนปกติตูเล (Tule Fault) เสียดายที่ว่าเส้นทางการขี่ม้าชมดอกไม้ของข้าพเจ้ากับคณะไม่ได้ผ่านบริเวณนี้
อย่างไรก็ตาม คณะของข้าพเจ้าก็ยังจะมีโอกาสที่จะได้รับความตื่นเต้นสองครั้ง ในการนั่งรถข้ามแนวมุดตัวแม่น้ำม้า ครั้งแรกจะเป็นระหว่างการเดินทางจากซาปาตามรอยเลื่อนเดียนเบียนฟู ก่อนถึงเดียนเบียนฟู ครั้งที่สอง จะอยู่ในวันถัดไป บนเส้นทางจากเดียนเบียนฟูไปเซินลา (ภาพที่ 2)
 
ก็อยากจับความรู้สึกนะครับ ท่านสารวัตร ว่าการก้าวข้ามแผ่นทวีปจีนใต้กับอินโดจีนนั้น มันเป็นอย่างไรกันหนอ
 
 
ภาพที่ 2 แผนที่ธรณีวิทยาแสดงตำแหน่งของแนวมุดตัวแม่น้ำม้า และรอยเลื่อนเดียนเบียนฟู กับหินที่พบในบริเวณข้างเคียง ส่วนในรูปเล็กด้านบนข้างขวามือแสดงเขตต่อเนื่องของแผ่นทวีปจีนใต้ อินโดจีน และฉาน-ไทย [South China, Indochina and Shan-Thai (Sibumasu) Craton (Plate)]
 
 
ภาพที่ 3 แผนที่ธรณีวิทยาแสดงการแผ่กระจายของหินชนิดต่างๆ อายุต่างๆ ที่พบในบริเวณรอบๆ แนวมุดตัวแม่น้ำม้า อาทิเช่น หินตะกอนสีแดงยุคครีเตเชียสตอนปลาย หินกรวดมน หินทราย และหินดินดานยุคไทรแอสสิกตอนปลาย หนดินดาน หินทรายแป้ง หินทราย และหินปูนอายุตอนต้นถึงตอนกลางของยุคไทรแอสสิก หินดินดาน หินทัฟฟ์หินภูเขาไฟ หินเพอริโดไตต์ อายุเพอร์เมียนถึงไทรแอสสิกตอนต้น หินปูน หินทรายและหินดินดานอายุคาร์บอนิเฟอรัสถึงเพอร์เมียน หินดินดานและหินปูนยุคดีโวเนียนตอนกลางถึงคาร์บอนิเฟอรัสตอนต้น หินดินดาน หินกรวดมน หินทราย และหินปูน ยุคไซลูเรียนถึงดีโวเนียนตอนต้น สำหรับพื้นที่สีน้ำเงินที่เรียกว่า Classical Dong Ma Suture จะประกอบด้วย serpentinized peridotite, layered gabbro, basalt และ diabase
 
 
 
 
ภาพที่ 4 แผนที่และภาพตัดขวาง (แนว A-A’) แสดงตำแหน่งและความสัมพันธ์ของหินต่างๆ; RRF = Red River Fault, จุดในวงกลมคือหัวลูกธนู หมายถึงว่าขั้นหินซีกนี้เคลื่อนมาหาผู้ชม, เครื่งหมายคูณในวงกลมคือปลายลูกธนู หมายถึงว่าชั้นหินซีกนี้เคลื่อนออกไปจากผู้ชม
 

ภาพที่ 5 ภาพจินตนาการบล็อคสามมิติแสดงลักษณะการมุดตัวของแผ่นทวีปจีนใต้ลงใต้แผ่นทวีปอินโดจีนตามแนวมุดตัวแม่น้ำม้า (Song Ma suture zone) พร้อมทั้งรอยเลื่อนที่สำคัญ เช่น รอยเลื่อนแม่น้ำแดง ตูเล (ที่แสดงภูเขาหน้าตัดเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว) แม่น้ำดำ และแม่น้ำม้า (Song Hong, Tule, Song Da and Song Ma respectively) ป.ล. รอยเลื่อนด้านที่มีอักษร x อยู่ในวงกลมหมายถึงว่าชั้นหินด้านนี้เคลื่อนตัวออกไปจากผู้ชม ส่วนรอยเลื่อนด้านที่มีเครื่องหมายจุดอยู่ในวงกลม แสดงว่าขั้นหินด้านนี้เคลื่อนตัวเข้ามาหาผู้ชม

 

 

ที่มา https://www.facebook.com/nares.sattayarak

รวบรวมข้อมูลและภาพ www.iok2u.com

-------------------------------------------------

รวมบทความ นเรศ สัตยารักษ์ (Nares Sattayarak)

-------------------------------------------------

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward