iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
Nares ลาว เซกอง กำเนิดบอกไซต์บนภูเพียงบ่อละเวน
 
ภาพที่ 1 แผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1:250,000 ระวางคำเกิด แสดงความผิดพลาดของกองทัพบกอเมริกัน แปลความหมายคลาดเคลื่อน โดยระบุว่า ภูวัว (ปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตจังหวัดบึงกาฬ) เป็นภูเขาหินปูน ทั้งๆที่ความจริงแล้วเป็นหินทรายของหมวดหินภูทอกที่เกิดสะสมตัวในทะเลทรายในตอนปลายของยุคครีเตเขียส เมื่อเกือบ 100 ล้านปีมาแล้ว
เมื่อปี พ.ศ. 2515 ข้าพเจ้าเริ่มทำงานที่กรมทรัพยากรธรณี และรู้สึกงุนงงกับกองหินหรือดินสีแดงขนาดมหึมากองวางอยู่กับพื้นในเขตรั้วของ กระทรวงอุตสาหกรรม ข้างถนนโยธี พอสอบถามผู้รู้แล้ว จึงทราบว่านี่คือ บอกไซต์นำเข้ามาจากออสเตรเลีย เพื่อผลิตสารส้มขององค์การสารส้ม ต่อมาอีกสองสามปี ก็มีนักธรณีฯ ผู้เชี่ยวชาญจากอเมริกาได้แวะมาที่กรมทรัพยากรธรณี เพื่อสอบถามความเป็นไปได้ที่จะพบบอกไซต์รอบๆ ภูวัว จังหวัดหนองคาย (ปัจจุบันขึ้นกับจังหวัดบึงกาฬ) ที่เป็นเช่นนี้ก็น่าจะมาจากการที่กองทัพบกอเมริกัน มีความผิดพลาดในการจัดพิมพ์แผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1:250,000 ระวางคำม่วน โดยแปลความหมายภาพถ่ายทางอากาศของหินทรายที่เกิดในทะเลทราย (ปัจจุบันคือหมวดหินภูทอก) ว่าเป็นหินปูนยุคเพอร์เมียน (ภาพที่ 1) ซึ่งเขาหวังว่า น่าจะหากเกิดกัดเซาะผุพังทำลายแล้ว อาจเกิดการสะสมตัวของบอกไซต์ได้ และแล้วเมื่อไม่นานมานี้ ก็มีข่าวว่า มีการค้นพบบอกไซต์บนภูเพียงบ่อละเวน ในปริมาณสำรองที่น่าจะนำขึ้นมาใช้ประโยชน์อย่างมีสมรรถนะเชิงพานิชย์ได้ และทราบข่าวว่าบริษัทเหมืองแร่จากจีนมีแผนที่จะผลิตอะลูมิเนียมจากบอกไซต์ในแหล่งนี้ แต่ต้องรอโครงการเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย โดยหวังว่าจะสามารถซื้อไฟฟ้าในราคาที่ไม่แพงจากโครงการนี้เพื่อใช้ในกระบวนการการผลิต น่าเสียดายที่จนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังไม่มีการผลิตอะลูมิเนียมดังกล่าว
บอกไซต์ (bauxite) คือหินที่มีส่วนผสมของอะลูมินาสูง โดยมีเหล็ก และออกซิเจน เป็นสารประกอบ แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ บอกไซต์จากหินปูน (carbonate bauxite) เกิดจากการสลายตัวของหินปูน ศิลาแลงบอกไซต์ (laterite bauxite) เกิดในภูมิภาคร้อนชื้น จากการสลายตัวของหินที่มีซิลิก้าสูง (แกรนิต บะซอลต์ หินทรายที่มีหินดินดานปน) (แตกต่างจากศิลาแลงที่มีเหล็กสูงตรงที่ แหล่งสะสมบอกไซต์จะอยู่ในบริเวณที่มีฝนตกชุก อากาศร้อน และมีช่องทางธรรมชาติให้น้ำไหลได้ดี) บอกไซต์ที่พบในโลกส่วนใหญ่เป็นศิลาแลงบอกไซต์  (ภาพที่ 2)
อนึ่ง แร่ที่พบในบอกไซต์มีหลายชนิด สามารถแบ่งออกตามปริมาณน้ำที่ประกอบอยู่ ดังนี้ แร่ที่อยู่ในรูปของ AlO (OH) เรียกแร่ boehmite หรือ diaspore ถ้าอยู่ในรูปของ AlO (OH)3 เรียกแร่ gibbsite หรือ hydragillite
Vilayhack et al., 2008 นักธรณีวิทยาลาว ได้บรรยายขั้นตอนการกำเนิดบอกไซต์บนภูเพียงบ่อละเวนไว้ดังนี้ (ภาพที่ 3) เริ่มจากลำดับชั้นหินทรายและหินโคลนเนื้อแน่นของกลุ่มหินโคราช ที่มีหินบะซอลต์อายุมหายุคซีโนโซอิกปิดทับอยู่ จากนั้นในขั้นตอนที่ 1 หินบะซอลต์ถูกกัดเซาะผุพังทำลาย ได้สารประกอบอะลูมิเนียมออกไซด์บนชั้นหินบะซอลต์ ขั้นตอนที่ 2 การผุพังทำลายเกิดลึกลงไปถึงชั้นหินทราย เกิดการสะสมตัวของบอกไซต์ ขั้นตอนที่ 3 การกัดเซาะผุพังทำลายดำเนินต่อไปมากยิ่งขึ้น จนถึงขั้นหินโคลนเนื้อแน่น น้ำแร่ที่มีสารละลายที่เกิดจากการผุกร่อนของหินบะซอลต์ที่มีปริมาณอลูมินาสูง ซึมหินทรายลงไปด้านล่าง จนถึงชั้นหินดินดานที่ไม่ยอมให้น้ำซึมผ่าน แร่จึงตกตะกอนสะสมตัวหนาแน่นยิ่งขึ้น แหล่งบอกไซต์ที่สำคัญในลาวนั้น พบบนภูเพียงบ่อละเวน และแหล่งที่เล็กกว่าในแขวงเซกอง (ภาพที่ 4)
ว่าแต่ว่า ระหว่างทริป “เบิ่งลาวใต้ของสมาคมธรณีวิทยาแห่งประเทศไทย” ในเดือนมกราคม 2566 นี้ หากข้าพเจ้าไปเจอหินหรือดินสีแดงข้างถนน หรือที่โล่งเตียนที่ไหนสักแห่ง แล้วข้าพเจ้าจะดูออกไหมเนี่ย ว่าเจ้าพวกนี้เป็นศิลาแลงธรรมดาหรือบอกไซต์
ขอเคล็ดลับในการแยกแยะระหว่างศิลาแลงเหล็กกับศิลาแลงบอกไซต์หน่อยสิครับ ท่านสารวัตร
.

ที่มา https://www.facebook.com/nares.sattayarak

รวบรวมข้อมูลและภาพ www.iok2u.com

-------------------------------------------------

รวมบทความ นเรศ สัตยารักษ์ (Nares Sattayarak)

-------------------------------------------------

ภาพที่ 2 ภาพแสดงการกระจายตัวของแหล่งหินบอกไซต์ทั่วโลก ที่ส่วนใหญ่เป็นชนิดศิลาแลงบอกไซต์ที่เกิดจากหินอัคนีและหินทราย รวมทั้งที่พบที่เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย

ภาพที่ 3 ชั้นตอนการเกิดบอกไซต์บนภูเพียงบ่อละเวนจากความคิดของนักธรณีวิทยาลาว ตีพิมพ์ในรายงานของ องค์กรความร่วมมือนานาชาติของญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency ; JICA)

ภาพที่ 4 แผนที่แสดงตำแหน่งที่พบแหล่งบอกไซต์ที่สำคัญในลาว (รูปบน) และกองหินบอกไซต์ของบริษัทข้ามชาติเวียดนามในแขวงเซกอง ลาวใต้

 

 

 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward