iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ

Lertsin 048 เพชรพังงา (2) เพิ่มเติม

 

   

 

แผนที่ธรณีวิทยาจังหวัดพังงา ภูเก็ต แสดงพื้นที่พบเพชรพังงา

 

Lertsin 048 เพชรพังงา (2) เพิ่มเติม

พี่วิชัย ภู่เจริญ ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับ การกำเนิดเพชรพังงา ไว้ดังนี้

เคยมี นธ. บางท่านสนใจ lamproite / lamprophyre เพราะไปปรากฎอยู่ใน geologic map 1:250000 ระวางพังงา-ภูเก็ต แผ่นหนึ่งที่ทำโดยฝรั่ง ตอนนั้น คุณวิทยา พรรณสมัย นธ. ของปูนซิเมนต์ไทย ไปสำรวจแอ่ง Tertiary ที่บริเวณ ลุ่มน้ำคลองทุ่งมะพร้าว อ.ท้ายเหมือง แล้วเห็นชื่อหิน lamproite (?) ปรากฎอยู่ เสียดายไม่ได้ขอแผนที่นั้นไว้

เพชรพังงา ไม่ได้พบแค่ ระนอง-พังงา-ภูเก็ต ครับ ในลุ่มน้ำตะนาวศรีใต้เขต เมืองมะริด มณฑลทะวาย (Thaninthayi Region) ก็พบเพชรในแหล่งลานแร่ดีบุก รัฐบาลพม่า สมัยนั้นเข้าไปทำเหมืองเพชรเอง ได้เพชรเกรดอัญมณีกว่า 1,000 กะรัต

เริ่มแรกที่พบเพชรในภาคใต้นั้น พบในเหมืองดีบุกที่ทำเหมืองเรือขุดบนบกครับ ที่ลานแร่ลุ่มน้ำพังงา ต่อมาพบใน เหมืองเรือขุดที่ระนอง ส่วนเพชรในทะเล พบครั้งแรกใน เรือขุดแร่ที่ภูเก็ต ต่อมาเกิด Tin rush ช่วงต้นทศวรรษ 20-30 ในทะเลอันดามันท้องที่ พังงา-ภูเก็ต คราวนี้พบเพชรจำนวนมากจากโรงแต่งแร่บนบกและชาวบ้านที่ดูดดำแร่ครับ เพชรที่เก็บได้ส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก ผลึก Octahedral เหลี่ยมลบจนมนเลื่อม ศก. 1-3 มม. ที่มีขนาด 1 กะรัต น้อยมาก และส่วนใหญ่ Colourless มี inclusion เป็นจุดกลม / เป็นเส้น / เป็นจุดดำ การที่ผลึกลบเหลี่ยมแสดงว่ามาไกลจากแหล่งกำเนิด

เพชรมี ถพ. 3.5 +/-0.1 จึงเข้าใจว่าเพชรในทะเล ถูกเครื่องแต่งแร่บนเรือที่แยกแร่ด้วย gravity ถูกคัดทิ้งลงทะเลไปกับทรายเสียส่วนใหญ่ เพราะเครื่องจะคัดเอาแต่ Heavy minerals ถพ. 4.0 ขึ้นไป เพื่อเอาไปแต่งต่อที่โรงแต่งบนบก

ช่วงต้นทศวรรษ 30 มีการทดลองเก็บเพชรจาก เหมืองดีบุกของ ทุ่งคาฮาเบอร์ โดยเป็นโครงการของ สภาการเหมืองแร่ สมัยที่ คุณดามพ์ ทิวทอง เป็นประธาน และมี ดร.ขวัญชัย ลีเผ่าพันธุ์ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่ จุฬา เป็นที่ปรึกษา แต่ไม่สามารถเก็บเพชรได้แม้แต่เม็ดเดียว อาจจะบรืเวณนั้นไม่มีเพชร ? หรือมีเพชรแต่วิธีเก็บไม่ถูกต้อง ?

เพชร เป็น แร่อโลหะ ที่มีแรงตึงผิวพิศดาร มันจะเกาะติดกับวัสดุเหลวหนืดที่ใช้หล่อลื่น เช่น grease oil ครับ มันเป็นความลับมานาน โรงแต่งเพชร จากเหมืองชายหาดและนอกชายฝั่ง นามีเบีย เหนือปากแม่น้ำ Orange นั้นใช้ Wet shaking table โต๊ะสั่นน้ำที่ใช้แต่ง ดีบุก / ทอง / แร่หนักนี้แหละครับเก็บเพชร โดยเคลือบผิวโต๊ะสั่นด้วย grease oil

พอเดินโต๊ะสั่นสักระยะหนึ่งจนเห็นเพชรเกาะติดมากแล้ว ก็หยุดเครื่องปาดเอา grease oil ออกให้หมด ใส่ลงในภาชนะคล้ายเบ้าขนาดใหญ่ นำไปตั้งไฟหลอม grease oli แล้วเทเบ้าผ่านตะแกรงตาถี่ เพชร จะค้างบนตะแกรง นำไปเข้ากระบวนการแต่งและคัดเลือกต่อไป ส่วน grease oli ก็นำไปทำให้เย็นลงนำไปใช้ต่อได้อีก

นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมพบเพชรหน้าเหมืองน้อยมาก เพราะผู้ประกอบการถือว่า เพชร ไม่ใช่แร่พลอยได้ที่จะต้องเก็บให้ได้เหมือน Heavy minerals ตัวอื่นๆ จึงไม่อนุญาตให้คนงานคุ้ยหาเพชรขณะปฏิบัติงาน แต่ถ้าเห็นแตะตาโดยบังเอิญก็หยิบเอาได้ ดังนั้นเพชรที่พบหน้าเหมืองมักมีขนาดใหญ่อาจจะถึง 1 กะรัต หรือมากกว่า ส่วนเพชรขนาดเล็กที่พบในโรงแต่งแร่นั้น พวกคนงานคุ้ยหาจากกองหางแร่ (Dressing plant tailings) หลังเลิกงานแล้วครับ ที่ผมเคยเห็นเม็ดขนาด 1 กะรัตกว่าๆ ผลึกสมบูรณ์ เนื้อใส ก็จากคนดูดดำแร่บ้านน้ำเค็ม นำมาขายให้พ่อผม ส่วนเพชรขนาดใหญ่ถึง 5 กะรัต มีคนบอกผมว่า นายช่างแหลม พิชัยศรทัต ซึ่งตรวจเหมืองท้องที่ระนอง ได้ไปจาก เรือขุดบนบก ผมเองเคยมีขนาด 2-3 มม.อยู่ 1 หลอด (ชาวบ้านมักใส่เพชรไว้ในหลอดพลาสติกเล็กๆ) ราวๆ 10 เม็ด เพื่อนๆ นธ.จากออสเตรเลีย มาเที่ยวโรงแต่ง ผมก็แจกไปหมดแล้ว (ตอนนั้นออสเตรเลียยังไม่พบเพชรแหล่ง Argile รัฐ Northern Territory) ซึ่งเป็นเพชรที่ถูกนำขึ้นมาโดย lamproite

เรารู้ว่าเพชรไทยมีกำเนิดกว่า 1,000-3,500 ล้านปี ซึ่งแก่กว่าหินทุกชนิดที่พบใน ประเทศไทย และเราเคยคิดว่าแหล่งเพชรไทยมีขอบเขตเหนือ-ใต้ โดย แนวรอยเลื่อนระนอง / คลองมะรุ่ย ขอบตะวันออก โดยสันเทือกแกรนิตและขอบตะวันตก โดยเทือกแกรนิตหมู่เกาะสุรินทร์-สิมิลัน แต่แหล่งเพชรบนบกใน ลุ่มน่ำตะนาวศรีใต้ ของพม่าซึ่งเขาพบเพชรก่อนเราแต่เราไม่รู้กัน ทำให้ขอบเขตของแหล่งเพชรอันดามันเปลี่ยนแปลงไป พม่าเองก็ไม่มีคำตอบว่าเพชรบ้านเขาเกิดมาอย่างไร? ฝากไว้ให้ช่วยคิดกันต่อนะครับ

แหล่งเพชรขนาดใหญ่ มักพบเกี่ยวข้องกับ Craton (ยกเว้นแหล่ง Argile ในออสเตรเลีย และอีกบางแหล่ง) ดังนั้น craton ใต้แผ่นดินอิสานก็น่าสนใจนะครับ ท่านนเรศ
 

เลิศสิน รักษาสกุลวงศ์

16 กรกฎาคม 2565

 
 
 
ropstone structure ในหินโคลน ที่แหลมไม้ไผ่ เกาะภูเก็ต เป็นหลักฐานของก้อนกรวดใน iceberg หบ่นลงมาสะสมตัวในชั้นโคลนทะเล
 
 
หินโคลนปนกรวดที่เกาะเฮ ตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะภูเก็ต เพชรอาจเป็นกรวดอยู่ในหินชนิดนี้

ที่มา

https://www.facebook.com/เลิศสิน รักษาสกุลวงศ์

รวบรวมข้อมูลและภาพ

www.iok2u.com

-------------------------------------------------

Lertsin บทความ เลิศสิน รักษาสกุลวงศ์ (Lertsin Raksaskulwong) รวมข้อมูล

-------------------------------------------------


 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward