iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป

1 ระดับมาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ ระดับพื้นฐาน

ระดับมาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ

มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ เป็นมาตรการสำหรับใช้ในการควบคุมให้ระบบสารสนเทศมีความมั่นคงปลอดภัย ซึ่งครอบคลุมการรักษาความลับ (Confidentiality) การรักษาความครบถ้วน (Integrity) และการรักษาสภาพพร้อมใช้งาน (Availability) ของระบบสารสนเทศและสารสนเทศในระบบ นั้น โดยการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วยระบบสารสนเทศ ต้องดำเนินการตามมาตรการที่เกี่ยวช้องตามบัญชีแนบท้ายนี้ และต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงที่ได้จากการประเมิน มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ แบ่งออกเป็น 11 ข้อ และมีระดับความปลอดภัยไว้ 3 ระดับ

1. มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ ตามวิธีการแบบปลอดภัยใน ระดับพื้นฐาน ต้องปฏิบัติ ดังนี้

ข้อ 1.  การสร้างความมั่นคงปลอดภัยด้านบริหารจัดการหน่วยงาน ต้องกำหนดนโยบายในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ โดยผ่านการอนุมัติและผลักดันโดยผู้บริหารระดับสูง และมีการประกาศนโยบายดังกล่าวให้พนักงานและบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องรับทราบโดยทั่วกัน

ข้อ 2. การจัดโครงสร้างด้านความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ ในส่วนการบริหารจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานหรือองค์กร

2.1 ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงาน มีหน้าที่ดูแลรับผิดขอบงานด้านสารสนเทศของหน่วยงานให้การสนับสนุน และกำหนดทิศทางการดำเนินงานเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศที่ชัดเจน รวมทั้งมีการมอบหมายงานที่เกี่ยวข้องให้กับผู้ปฏิบัติงานอย่างชัดเจน ตลอดจนรับผิดชอบต่อ ความเสี่ยง ความเสียหาย หรือ อันตรายที่เกิดขึ้นกับระบบสารสนเทศไม่ว่ากรณีใด ๆ

2.2 สำหรับระบบสารสนเทศใหม่ มีการกำหนดขั้นตอนการพิจารณาทบทวน เพื่ออนุมัติการสร้าง การติดตั้ง หรือการใช้งานในแง่มุมต่าง ๆ เช่น การบริหารจัดการผู้ใช้งานระบบ หรือความสามารถในการทำงาน ร่วมกันได้ระหว่างระบบเดิมและระบบใหม่

2.3 มีการกำหนดสัญญาการรักษาข้อมูลที่เป็นความลับ (Confidentiality agreement หรือ Non-Disclosure agreement) ที่สอดคล้องกับสถานการณ์และความต้องการของหน่วยงานในการปกป้องข้อมูลสารสนเทศ

2.4 มีข้อกำหนดเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ สำหรับการอนุญาตให้ผู้ใช้บริการที่เป็นบุคคลภายนอกเข้าถึงระบบสารสนเทศ หรือใช้ข้อมูลสารสนเทศของหน่วยงาน

2.5 สำหรับข้อตกลงเพื่ออนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้าถึงระบบสารสนเทศ หรือใช้ข้อมูลสารสนเทศของ หน่วยงาน เพื่อการอ่าน การประมวลผล การบริหารจัดการระบบสารสนเทศ หรือการพัฒนาระบบสารสนเทศ ควรมีข้อกำหนดเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศระบุไว้ในข้อตกลง

ข้อ 3. การบริหารจัดการทรัพย์สินสารสนเทศมีการเก็บบันทึกข้อมูลทรัพย์สินสารสนเทศ โดยข้อมูลที่จัดเก็บต้องประกอบด้วยข้อมูลที่จำเป็นในการค้นหาเพื่อการใช้งานในภายหลัง

ข้อ 4. การสร้างความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศด้านบุคลากร

4.1 กำหนดหน้าที่ความรับผิดขอบด้านความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศของพนักงาน หรือหน่วยงาน หรือบุคคลภายนอกที่ว่าจ้าง โดยให้สอดคล้องกับความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศและนโยบายในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศที่หน่วยงานประกาศใช้

4.2 ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงาน ต้องกำหนดให้พนักงาน หน่วยงาน หรือบุคคลภายนอกที่ว่าจ้าง ปฏิบัติงานตามนโยบายหรือระเบียบปฏิบัติด้านความมั่นคงปลอดภัยที่หน่วยงานประกาศใช้

4.3 กำหนดให้มีขั้นตอนการลงโทษพนักงานที่ฝ่าฝืนนโยบาย หรือระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศในหน่วยงาน

4.4 กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ ในการยุติการจ้างหรือการเปลี่ยนแปลงสถานะการจ้างให้ชัดเจน และมอบหมายให้มีผู้รับผิดซอบอย่างชัดเจน

4.5 พนักงาน หน่วยงาน หรือบุคคลภายนอกที่ว่าจ้าง ต้องส่งคืนทรัพย์สินสารสนเทศของหน่วยงานเมื่อสิ้นสุดสถานะการเบีนพนักงาน หรือสิ้นสุดสัญญาหรือข้อตกลงการปฏิบัติงานให้กับหน่วยงาน

4.6 ให้ยกเลิกสิทธิของพนักงาน หน่วยงาน หรือบุคคลภายนอก ในการเข้าใช้งานระบบสารสนเทศ เมื่อสิ้นสุดสถานการณ์เป็นพนักงาน หรือสิ้นสุดสัญญาหรือข้อตกลงการปฏิบัติงาน และให้ปรับเปลี่ยนระดับสิทธิในการเข้าใช้งานระบบสารสนเทศให้เหมาะสม เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงหน้าที่ความรับผิดชอบใด ๆ เกิดขึ้น

ข้อ 5. การสร้างความมั่นคงปลอดภัยด้านกายภาพและสภาพแวดล้อม

5.1 ให้มีการป้องกันขอบเขตพื้นที่ตั้งของหน่วยงาน (Security perimeter) ที่มีการติดตั้ง จัดเก็บหรือใช้งานระบบสารสนเทศและข้อมูลสารสนเทศ

5.2 มีการออกแบบและติดตั้งการป้องกันความมั่นคงปลอดภัยด้านกายภาพ เพื่อป้องกันภัยจากภายนอก ภัยในระดับหายนะทั้งที่ก่อโดยมนุษย์หรือภัยธรรมชาติ เช่น อัคคีภัย อุทกภัย แผ่นดินไหว ระเบิด การก่อจลาจล เบีนต้น

5.3 จัดวางและป้องกันอุปกรณ์สารสนเทศ เพื่อลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติหรืออันตรายต่าง ๆ และเพื่อป้องกันการเข้าถึงโดยมิได้รับอนุญาต

5.4 มีการป้องกันอุปกรณ์สารสนเทศ ที่อาจเกิดจากไฟฟ้าชัดข้อง (Power failure) หรือที่อาจหยุดชะงัก จากข้อผิดพลาดของโครงสร้างพื้นฐาน (Supporting utilities)

5.4 มีการดูแลอุปกรณ์สารสนเทศอย่างถูกวิธี เพื่อให้คงไว้ซึ่งความถูกต้องครบถ้วนและอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ

ข้อ 6. การบริหารจัดการด้านการสื่อสารและการดำเนินงานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบงานคอมพิวเตอร์ และระบบสารสนเทศ

6.1 มีการจัดทำ ปรับปรุง และดูแลเอกสารขั้นตอนการปฏิบัติงานที่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน เพื่อให้พนักงานสามารถนำไปปฏิบัติได้

6.2 มีการดูแลให้บุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่ให้บริการแก่หน่วยงานตามที่ว่างจ้างปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อตกลงให้บริการที่ระบุไว้ ซึ่งต้องครอบคลุมถึงงานด้านความมั่นคงปลอดภัย ลักษณะการให้บริการ และระดับการให้บริการ

6.3 มีการติดตามตรวจสอบรายงานหรือบันทึกการให้บริการของบุคคลหรือหน่วยงานภายนอก ที่ให้บริการแก่หน่วยงานตามที่ว่าจ้างอย่างสม่ำเสมอ

6.4 จัดให้มีเกณฑ์การตรวจรับระบบสารสนเทศที่มีการปรับปรุง หรือที่มีเวอร์ชั่นใหม่ และควรมีการทดสอบระบบสารสนเทศทั้งในช่วงการพัฒนาระบบและก่อนการตรวจรับ

6.5 มีขั้นตอนควบคุมการตรวจสอบ ป้องกัน และกู้คืน ในกรณีมีการใช้งานโปรแกรมไม่พึงประสงค์ และให้มีการสร้างความตระหนักรู้ให้กับผู้ใช้งานระบบสารสนเทศหรือข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับโปรแกรมไม่พึงประสงค์

6.6 มีการสำรองข้อมูลสารสนเทศ และทดสอบการนำกลับมาใช้งาน โดยให้เป็นไปตามนโยบายการสำรองข้อมูลที่หน่วยงานประกาศใช้

6.7 มีการบริหารจัดการการควบคุมเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อป้องกันภัยคุกคาม และมีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ และแอพพลิเคชั่นที่ทำงานบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมทั้งข้อมูลสารสนเทศที่มีการแลกเปลี่ยนบนเครือข่ายดังกล่าว

6.8 มีการกำหนดรูปแบบการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ระดับการให้บริการข้อกำหนดการบริหารจัดการ ในข้อตกลงการให้บริการด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าเป็นการให้บริการโดยหน่วยงานเอง หรือจ้างช่วงไปยังผู้ให้บริการภายนอก

6.9 จัดให้มีนโยบายและขั้นตอนปฏิบัติงาน รวมทั้งควบคุมการแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศผ่านช่องทางการสื่อสารในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

6.10 จัดให้มีข้อตกลงในการแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศหรือซอฟต์แวร์ระหว่างหน่วยงานกับบุคคลหรือ หน่วยงานภายนอก

6.11 จัดให้มีนโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติงาน เพื่อป้องกันข้อมูลสารสนเทศที่มีการสื่อสารหรือ แลกเปลี่ยนผ่านระบบสารสนเทศที่มีการเชื่อมต่อกับระบบสารสนเทศต่าง ๆ

6.12 มีการป้องกันข้อมูลสารสนเทศที่มีการแลกเปลี่ยนในการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce) ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์สาธารณะ เพื่อมิให้มีการฉ้อโกง ละเมิดสัญญา หรือมีการรั่วไหล หรือข้อมูลสารสนเทศถูกแก้ไขโดยมิได้รับอนุญาต

6.13 มีการป้องกันข้อมูลสารสนเทศที่มีการสื่อสารหรือแลกเปลี่ยนในการทำธุรกรรมทางออนไลน์ (Online transaction) เพื่อมิให้มีการรับส่งข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ หรือส่งข้อมูลไปผิดที่ หรือมีการรั่วไหลของข้อมูล หรือข้อมูลถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลง ถูกทำซํ้าใหม่ หรือถูกส่งซํ้าโดยมิได้รับอนุญาต

6.14 สำหรับข้อมูลสารสนเทศที่มีการเผยแพร่ต่อสาธารณชน ให้มีการป้องกันมิให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง โดยมิได้รับอนุญาต และเพื่อรักษาความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลสารสนเทศ

6.15 มีการเก็บบันทึกข้อมูล Audit log ซึ่งบันทึกข้อมูลกิจกรรมการใช้งานของผู้ใช้งานระบบสารสนเทศ และเหตุการณ์เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการสืบสวน สอบสวน ในอนาคต และเพื่อการติดตามการควบคุมการเข้าถึง

6.16 มีขั้นตอนการเฝ้าติดตามสังเกตการใช้งานระบบสารสนเทศ และมีการติดตามประเมินผลการติดตามสังเกตดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอ

6.17 มีการป้องกันระบบสารสนเทศที่จัดเก็บ Log และข้อมูล Log เพื่อป้องกันการเข้าถึงหรือแก้ไข เปลี่ยนแปลงโดยมิได้รับอนุญาต

6.18 มีการจัดเก็บ Log ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลระบบสารสนเทศโดยผู้ดูแลระบบ (System administrator หรือ System operator)

ข้อ 7. การควบคุมการเข้าถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบงานคอมพิวเตอร์ ระบบสารสนเทศ ข้อมูลสารสนเทศ ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์

7.1 จัดให้มีนโยบายควบคุมการเข้าถึง โดยจัดทำเป็นเอกสารและมีการติดตามทบทวนให้นโยบายดังกล่าว สอดคล้องกับข้อกำหนดหรือความต้องการด้านการดำเนินงานหรือการให้บริการ และด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ

7.2 จัดให้มีการลงทะเบียนบัญชีผู้ใช้งานระบบสารสนเทศ และยกเลิกบัญชีผู้ใช้อย่างเป็นทางการ เพื่อควบคุมการให้สิทธิและการยกเลิกสิทธิในการเข้าใช้งานระบบสารสนเทศใด ๆ ของหน่วยงาน

7.3 การกำหนดสิทธิในการเข้าถึงระดับสูง ให้ทำอย่างจำกัดและอยู่ภายใต้การควบคุม

7.4 ผู้ใช้งานต้องดูแลป้องกันอุปกรณ์สารสนเทศใด ที่อยู่ภายใต้ความดูแลรับผิดขอบในระหว่างที่ไม่มีการใช้งาน

7.5 จำกัดการเข้าถึงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานที่สามารถเข้าถึงได้จากภายนอก โดยให้สอดคล้อง กับนโยบายควบคุมการเข้าถึง และข้อกำหนดการใช้งานแอพพลิเคชั่นเพื่อการดำเนินงาน

7.6 ให้ผู้ใช้งานทุกคนมีบัญชีผู้ใช้งานเป็นของตนเอง และให้ระบบสารสนเทศมีเทคนิคการตรวจสอบตัวตนที่เพียงพอ เพื่อให้สามารถระบุตัวตนของผู้เข้าใช้งานระบบสารสนเทศได้

7.7 ให้ยุติหรือปิดหน้าจอการใช้งานระบบสารสนเทศโดยอัตโนมัติ หากไม่มีการใช้งานเกินระยะเวลาสูงสุดที่กำหนดไว้

7.8 จำกัดการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศและฟังก์ชั่นต่าง ๆ ในแอพพลิเคชั่นของผู้ใช้งานและผู้ดูแลระบบสารสนเทศ โดยให้สอดคล้องกับนโยบายการเข้าถึงที่ได้กำหนดไว้

7.9 กำหนดนโยบายและแนวทางการจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัย เพื่อลดความเสี่ยงในการใช้งานอุปกรณ์สารสนเทศหรืออุปกรณ์การสื่อสารที่เคลื่อนย้ายได้ เช่น แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ (Laptop Computer) หรือ สมาร์ทโฟน (Smartphone) เป็นต้น

ข้อ 8. การจัดหาหรือจัดให้มีการพัฒนา และการบำรุงรักษาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบงานคอมพิวเตอร์ และระบบสารสนเทศ

8.1 ในการจัดทำข้อกำหนดขั้นตํ่าของระบบสารสนเทศใหม่ หรือการปรับปรุงระบบสารสนเทศเดิม ให้มีการระบุข้อกำหนดด้านการควบคุมความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศไว้ด้วย

8.2 ให้ดูแล ควบคุม ติดตามตรวจสอบการทำงานในการจ้างช่วงพัฒนาซอฟต์แวร์

ข้อ 9. การบริหารจัดการสถานการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัยที่ไม่พึงประสงค์ หรือไม่อาจคาดคิดให้มีการรายงานสถานการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัยที่ไม่พึงประสงค์ หรือไม่อาจคาดคิดผ่านช่องทางการบริหารจัดการที่เหมาะสมโดยเร็วที่สุด

ข้อ 10. การบริหารจัดการด้านการบริการ หรือการดำเนินงานของหน่วยงาน หรือองค์กรเพื่อให้มีความต่อเนื่อง ให้กำหนดแผนเพื่อรักษาไว้หรือกู้คืนการให้บริการสารสนเทศ หลังเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้การดำเนินงานหยุดชะงัก เพื่อให้ข้อมูลสารสนเทศอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานตามระดับที่กำหนดไว้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้

ข้อ 11. การตรวจสอบและการประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบาย มาตรการ หลักเกณฑ์ หรือกระบวนการใด ๆ รวมทั้งข้อกำหนดด้านความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ

11.1 ให้มีการระบุไว้ให้ชัดเจนถึงแนวทางในการดำเนินงานของระบบสารสนเทศ ที่มีความสอดคล้องตามกฎหมายและข้อกำหนดตามสัญญาต่าง ๆ ของหน่วยงาน โดยต้องจัดทำเป็นเอกสาร และมีการปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ

11.2 ป้องกันมิให้มีการใช้งานระบบสารสนเทศผิดวัตถุประสงค์

11.3 พนักงานของหน่วยงาน ต้องดูแลให้งานที่เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศที่อยู่ในขอบเขตความรับผิดขอบ ได้ดำเนินการไปโดยสอดคล้องกับกฎหมายและข้อกำหนดตามสัญญาต่าง ๆ ของหน่วยงาน

.

ที่มา

ข้อมูลและภาพ รวบรวมโดย www.iok2u.com 

-------------------------------------------------

สนใจข้อมูลเพิ่มเติม

มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศตามวิธีการปลอดภัย พ.ศ. 2555

------------------------------------------------- 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward