iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป

https://drive.google.com/file/d/1SbtPw_nvzl4L-h3nxaAVzK4nVl1rYCAk/view?usp=share_link

 

สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation) หรือ อว. ได้จัดทำชุด series หนังสือเศรษฐกิจแห่งอนาคต 6 เล่มให้ download ฟรี

หนังสือเศรษฐกิจผู้สูงวัย (Silver Economy) การเตรียมการรับมือกับวัยชรา เมื่อประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้วการมีจำนวนผู้สูงอายุมากกว่าวัยแรงงาน จะส่งผลทางบวกหรือทางลบต่อประเทศไทยอย่างไร ประเทศไทยต้องเตรียมรับมือในเรื่องใดบ้าง หนังสือเล่มนี้อธิบายแนวคิดและการเตรียมตัวของประเทศเพื่อรองรองเศรษฐกิจผู้สูงวัย

เศรษฐกิจผู้สูงวัย (Silver Economy) คืออะไร ?

ทุกวันนี้ประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกกำลังมีสัดส่วนประชากรสูงวัยมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และปัจจัยด้านสาธารณสุขพื้นฐานต่าง ๆ ดีขึ้น ทำให้คนมีอายุขัยเฉลี่ยยืนยาวมากกว่าเดิม จนทำให้เกิดระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ที่อิงกับสภาวะความเป็นผู้สูงอายุ เรียกว่า "เศรษฐกิจผู้สูงวัย (Silver Economy)" 

สังคมผู้สูงวัย (Ageing Society) หมายถึง สังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด หรือประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 7

สังคมผู้สูงวัยโดยสมบูรณ์ (Complete-aged Society) หมายถึง สังคมที่มีประชากรอายุ 20 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด หรือมีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 14

คาดการณ์ว่าในอีกไม่กี่ทศวรษข้างหน้า สัดส่วนของประชากรที่อายุมากกว่า 60 ปี น่าจะเพิ่มขึ้นสูงสุดอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เว็บไซต์ silvereco.org ประมาณว่าเมื่อถึงปี ค.ศ. 2050 จะมีประชากรโลกที่มีอายุมากกว่า 60 ปี มากถึง 2,000 ล้านคน คิดเป็น 22% ของประชากรโลกในขณะนั้น

อัตราการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของประชากรผู้สูงอายุโลก

เศรษฐกิจผู้สูงวัย (silver economy) คือ ระบบเศรษฐกิจส่วนที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ตอบสนองความต้องการและความจำเป็นลำหรับผู้สูงวัย ทั้งผลิตภัณฑ์ บริการ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่น ๆ โดยผู้สูงวัยในที่นี้มักนับรวมผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป (อ้างอิงจาก The Silver Economy - Final Report (2018) ของ The European Commission)

นอกจากคำว่า silver economy แล้ว ยังมีอีกหลายคำที่ใช้ในความหมายเดียวกัน เช่น greying economy (เศรษฐกิจสีดอกเลา) และ ageing economy (เศรษฐกิจความชรา)

ประชากรโลกกำลังสูงอายุมากขึ้นจริงหรือ ?

การเพิ่มขึ้นของผู้สูงวัยทั้งโลกเป็นปรากฎการณ์ที่เห็นได้ชัดเจน หากพิจารณาจากสถิติแล้วประชากรโลกในปี ค.ศ. 1950 มีผู้ที่อายุ 60 ปีขึ้นไปอยู่ราว 200 ล้านคน (คิดเป็น % ของประชากรในขณะนั้น) แต่พอถึงปี ค.ศ. 2011 จำนวนประชากรกลุ่มดังกล่าวเพิ่มขึ้นมาเป็น 760 ล้านคน คิดเป็น 1% ของประชากรในขณะนั้น) และคาดว่าจะแตะระดับ 2,000 ล้านคนในปี ค.ศ. 2050 ซึ่งจะคิดเป็น 22% ของประชากรที่คาดหมายว่าจะมีในขณะนั้น ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วโลก หากพิจารณาเฉพาะกลุ่มที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไปในห้วงเวลาเดียวกัน ก็จะเห็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นชัดเจนดังนี้ ในปี ค.ศ. 1950 มี 15 ล้านคน (0.6%), ในปี ค.ศ. 2011 มี 10 ล้านคน (1.6%) และคาดหมายว่าในปี ค.ศ. 2050 จะเพิ่มขึ้นเป็น 400 ล้านคน (4.0%)

ทั้งนี้มีการคาดการณ์ว่าระหว่างปี ค.ศ. 2010 ไปยังปี ค.ศ. 2050 จะมีประชากรโลกเพิ่มขึ้นราว 2,000 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นประชากรสูงวัยมากถึง 1,30 ล้านคน และมีสัดส่วนประชากรสูงวัยในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วมากกว่าประเทศกำลังพัฒนาอย่างเห็นได้ชัดเจน หากกล่าวโดยรวมจะมีจำนวนผู้สูงวัยทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาก (หรือเป็นแบบมีความเร่ง)

ประชากรไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยมากแค่ไหน ?

รายงานจาก worldometers.info ระบุว่า ในช่วงทศวรรษ 1950-1970 ประเทศไทยมีอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรอยู่ที่ราว 2.75-3.00% แต่พอเข้าทศวรรษ 1980 ความสำเร็จจากการรณรงค์คุมกำเนิด ทำให้ตัวเลขอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรลดลงอย่างต่อเนื่อง

จำนวนผู้สูงวัยเพิ่มมากขึ้นส่งผลอย่างไรบ้าง ?

กลุ่มประเทศในสหภาพยุโรปมีสัดส่วนผู้สูงวัยจำนวนมาก รวมกันเป็นอันดับ 3 ของโลกจะเป็นรองก็แต่ สหรัฐอเมริกาและจีนเท่านั้น โดยในปี ค.ศ. 2015 มีคนที่อายุ 50 ปื หรือมากกว่ารวมกัน 199 ล้านคน หรือคิดเป็น 39% ของประชากรทั้งหมด ประชากรกลุ่มนี้บริโภคสินค้าและบริการคิดเป็นมูลค่า 3.7 ล้านล้านยูโร หรือประมาณ 140 ล้านล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นเงินที่ได้มาจากการทำงาน การเก็บออม หรือเงินที่ได้รับจากรัฐบาล และมี 10% ที่เป็นค่าใช้จ่ายด้านการแพทย์ ซึ่งได้รับบริการฟรีโดยรัฐเป็นผู้ดูแล ค่าใช้จ่ายในเศรษฐกิจผู้สูงวัยมีส่วนในผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) ปี ค.ศ. 2015 มากกว่า 4.2 ล้านล้านยุโร หรือ 160 ล้านล้านบาท และครอบคลุมงานประมาณ 78 ล้านตำแหน่ง และยังมีส่วนก่อรายได้ให้แก่บริษัทในประเทศอื่นทั่วโลกสูงถึง 7.8 แสนล้านยูโรหรือคิดเป็นมูลค่า 30 ล้านล้านบาท

นอกจากการใช้บริการทางการแพทย์มากกว่าคนรุ่นเยาว์แล้ว คนกลุ่มนี้ยังใช้จ่ายไปกับการพักผ่อนหย่อนใจ และกิจกรรมเชิงวัฒนธรรมต่าง ๆ เนื่องจากมีเวลาว่างมากกว่า อีกทั้งยังใช้เงินไปกับการตกแต่งบ้านและซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยรายงานของ Oxford Economics ที่ทำให้สหภาพยุโรป ประเมินว่าการบริโภคของคนกลุ่มนี้จะเติบโตโดยเฉลี่ย 5% ต่อปี ไปจนถึงปี ค.ศ. 2025 จะมียอดการใช้จ่ายสูงถึง 5.7 ล้านล้านยุโร หรือ 214 ล้านล้านบาท

แต่ปัจจัยสำคัญยิ่งที่จะทำให้คนสูงวัยเป็นแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจได้ก็คือ การเก็บออมตั้งแต่อายุยังน้อยและการดูแลสุขภาพได้ดี เพราะจะทำให้ยังคงกิจกรรมทางสังคมและเศรษฐกิจต่าง ๆ ได้ อีกทั้งต้องมีระบบบริการสุขภาพที่เหมาะสมที่จัดโดยรัฐสำหรับประเทศไทย ภาพรวมปัจจัยก็คล้ายกัน แต่ด้วยฝีมือของบุคลากรทางการแพทย์ของไทย และราคาค่าบริการที่สู้ได้ในระดับนานาชาติ ยังเปิดโอกาสให้ประเทศไทยสามารถสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวที่อิงกับการแพทย์หรือรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพแบบอื่น ๆ ที่เหมาะสมกับผู้สูงวัย

การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (medical tourism) คือ การที่นักท่องเที่ยวเดินทางไปยังประเทศเป้าหมายเพื่อการท่องเที่ยวและเพื่อการรักษาทางการแพทย์

ส่วนการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (wellness tourism) คือ การท่องเที่ยวเพื่อฟื้นฟูสุขภาพทางกายและทางใจ หรือเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต และมักนั้นที่การป้องกันไม่ให้เจ็บป่วยมากกว่าการท่องเที่ยวเขิงการแพทย์ที่เป็นการพักหรือรับการรักษาตัว

สนใจข้อมูลเพิ่มเติมอ่านตอในเล่ม

ดาวน์โหลด E-book ได้ที่: https://drive.google.com/file/d/1SbtPw_nvzl4L-h3nxaAVzK4nVl1rYCAk/view?usp=share_link

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward