iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา

แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ของประเทศไทย ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564)

แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ของประเทศไทย ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564) ดำเนินการโดย สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมีภารกิจหลักในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ ได้ดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน ในการกันจัดทำแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564) ขึ้น โดยได้รับการอนุมัติ จาก ครม. ในวันที่ 15 สิงหาคม 2560 แผนโลจิสติกส์ฯ ฉบับที่ 3 ใช้เพื่อกำหนดเป็นการวางแนวทางให้แก่การจัดการโลจิสติกส์ของประเทศไทยให้ถูกพัฒนาระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการบูรณาการการมีส่วนร่วมระหว่างภาคเอกชน ซึ่งคอยนำเสนอแนวคิดเพื่อให้ภาครัฐช่วยเหลือปรับปรุง และกำหนดเป็นแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบที่เกี่ยวข้องในงานโลจิสติกส์ของไทย 

แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564) ผ่านการกลั่นกรองจาก คณะทำงานจัดทำแผนยุทธศาสตร์ กำหนดการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทยโดยมีสาระสำคัญประกอบด้วย  3 ยุทธศาสตร์ 12 กลยุทธ์ ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาเพิ่มมูลค่าระบบห่วงโซ่อุปทาน เพื่อพัฒนาและยกระดับมาตรฐานระบบบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานให้ได้มาตรฐานสากล และขณะเดียวกันก็สามารถบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานจนถึงจุดจำหน่ายสินค้า หรือผู้บริโภค โดยเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่ม

- กลยุทธ์ที่ 1.1 มุ่งเน้นการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคเกษตรกรรม รวมถึงภาคอุตสาหกรรมให้ได้มาตรฐาน  โดยภาคการเกษตรต้องมีหน่วยงานเจ้าภาพหลัก เพื่อกำกับดูแลโซ่อุปทานภาคการเกษตรที่สำคัญตลอดห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงบูรณาการทำงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และพัฒนากระบวนการจัดการผลผลิตในฟาร์ม  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์ และโซ่อุปทานภาคการเกษตร สร้างโซ่คุณค่าให้แก่เกษตรกร สถาบันการเกษตร และผู้ประกอบธุรกิจภาคอุตสาหกรรม เน้นการบริหารจัดการโลจิสติกส์ และโซ่อุปทานในภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรม SMEs ให้ได้พัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และซอฟต์แวร์ในการบริหารจัดการโลจิสติกส์ภายในองค์กรอย่างเป็นระบบ และ ได้มาตรฐานสากล ตลอดจนเชื่อมโยงฐานข้อมูลระหว่างองค์กรทั้งโซ่อุปทาน

- กลยุทธ์ที่ 1.2 เชื่อมโยงการค้าสู่รูปแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) ด้วย 

1) การสนับสนุนผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ SMEs ให้สามารถค้าขายสินค้าผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ 

2) พัฒนาศักยภาพสถาบันการเกษตร และสหกรณ์ภาคการเกษตร เพื่อบ่มเพาะ และเป็นที่ปรึกษาแก่ผู้ประกอบการให้สามารถค้าขายสินค้าออนไลน์ได้ 

3) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ผลิตสินค้าหรือผู้ประกอบการสามารถเชื่อมโยงการค้าสู่ตลาดออนไลน์ทั้งระดับประเทศและระดับโลก 

4) เพิ่มประสิทธิภาพการจัดส่งสินค้าระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคโดยตรงด้วยการเชื่อมโยงกับผู้ให้บริการขนส่งสินค้าออนไลน์ ทั้งแบบผู้ให้บริการขนส่ง (E-Delivery) และผู้ให้บริการคลังสินค้าพร้อมจัดส่ง (E-Fulfillment) พร้อมทั้งสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยของระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Payment) รวมถึงการลดเงื่อนไขและกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการนำระบบมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ

- กลยุทธ์ที่ 1.3 พัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการโลจิสติกส์ให้สามารถแข่งขันได้ด้วยกับ 

1) การยกระดับผู้ให้บริการโลจิสติกส์ให้ได้การรับรองคุณภาพระดับมาตรฐานสากลเทียบเคียงผู้ให้บริการโลจิสิตกส์ระหว่างประเทศ พร้อมทั้งส่งเสริมผู้ให้บริการโลจิสติกส์สู่การเป็นผู้ให้บริการแบบครบวงจร 

2) สนับสนุนการสร้างเครือข่ายผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย ทั้งเรื่องมาตรการทางภาษี มาตรการทางการเงินโดยเฉพาะกับ SMEs ในการสร้างเครือข่ายธุรกิจระหว่างประเทศ โดยเฉพาะ CLMV 

3) ผลักดันการจัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษานักลงทุนไทยในประเทศภูมิภาคอาเซียน รวมถึงการจัดทำฐานข้อมูลรายชื่อนักธุรกิจและบริษัทต่างชาติที่เกี่ยวข้องเพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อธุรกิจ รวมทั้งรวบรวมข้อมูลสถิติต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการ 

4) ส่งเสริมการดำเนินการด้านโลจิสติกส์ที่มีความปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green & Safety Logistics) โดยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการตระหนักถึงความสำคัญของผลกระทบต่อการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมของโลกโดยใช้กลไกทางภาษี และกฎหมายต่าง ๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจ และลดภาระต้นทุนให้แก่ผู้ประกอบการไทย

 

ยุทธศาสตร์ที่  2  การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวก โดยการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้า และเครือข่ายโลจิสติกส์ให้เชื่อมโยงตลอดทั้งต้นทางและปลายทาง พร้อมส่งเสริม และพัฒนาระบบห่วงโซ่อุปทาน เส้นทางการค้าที่เชื่อมโยงกันระหว่างกลุ่มประเทศ CLMV+China สนับสนุนการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ  และยกระดับมาตรฐานการอำนวยความสะดวกรวมถึงการลดเงื่อนไขและกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการนำระบบมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ

- กลยุทธ์ที่ 2.1  พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการขนส่งและเครือข่ายโลจิสติกส์ตามเส้นทางยุทธศาสตร์เพื่อเชื่อมโยงอนุภูมิภาคและเป็นประตูการค้าโดย 

1) สนับสนุนการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสู่การขนส่งที่ประหยัดพลังงาน เพื่อลดต้นทุนการขนส่ง  เชื่อมโยงการขนส่งตลอดเส้นทาง และเพิ่มประสิทธิภาพบริการขนส่ง 

2) สร้างเครือข่ายโลจิสติกส์ตามเส้นทางยุทธศาสตร์และเชื่อมโยงสู่ประเทศเพื่อนบ้าน  โดยการปรับปรุงแนวเส้นทางที่มีความสำคัญลำดับสูงต่อการขนส่งภายในประเทศไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน พัฒนาโครงข่ายทางพิเศษ และทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองบริเวณด่านการค้า และประตูการค้าที่สำคัญ พิจารณาเส้นทางที่เหมาะสมเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างฝั่งทะเลตะวันตก และตะวันออก  รวมถึงปรับปรุงถนนสายหลักเชื่อมโยงฐานการผลิตไปสู่ประตูการค้า และขยายขีดความสามารถในการรองรับปริมาณจราจรตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่สำคัญ เพื่อรองรับปริมาณการเดินทาง และการขนส่งสินค้าที่เพิ่มขึ้น 

3) พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกและศูนย์บริการโลจิสติกส์  รวมทั้ง จัดหาอุปกรณ์การยกขนตู้สินค้าทางรถไฟในแนวเส้นทางยุทธศาสตร์ที่สามารถเชื่อมโยงกับฐานการผลิตอุตสาหกรรมโดยเฉพาะบริเวณพื้นที่อุตสาหกรรม ตามแนวระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก และแนวระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ ตะวันออก-ตะวันตก และฐานเกษตรกรรมของประเทศ ไปยังประตูการค้าหลักของประเทศ โดยเฉพาะบริเวณท่าอากาศยาน ท่าเรือระหว่างประเทศ และด่านการค้าที่สำคัญ รวมทั้งส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการลงทุนพัฒนา และให้บริการศูนย์บริการโลจิสติกส์ต่าง ๆ เช่น จุดพักรถบรรทุก ศูนย์กระจายสินค้า ศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่ง เป็นต้น 

4) พัฒนาพื้นที่เมืองชายแดนเพื่อสนับสนุนการขนส่งและโลจิสติกส์ โดยเร่งรัดการวางผังเมืองในเขตเศรษฐกิจพิเศษ และจัดรูปแบบการพัฒนาพื้นที่บริเวณด่านชายแดนสำคัญ พร้อมพัฒนาเส้นทางเลี่ยงเมือง และเส้นทางเชื่อมโยงระหว่างเมืองสำคัญในภูมิภาค 

5) ส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ และธุรกิจโลจิสติกส์โดยสนับสนุนผู้ประกอบการในพื้นที่เพื่อสร้างชุมชนโลจิสติกส์ ให้สามารถเก็บเกี่ยวมูลค่าเพิ่มจากกิจกรรมนำเข้าส่งออกสินค้าบริเวณด่านชายแดน  

6) พัฒนาจุดผ่านแดนสำคัญที่มีศักยภาพทางการค้าให้เป็นด่านถาวรที่ได้มาตรฐานสากล พร้อมสนับสนุนความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการพัฒนาด่านถาวรให้ได้มาตรฐานสากลเช่นกัน

- กลยุทธ์ที่ 2.2 พัฒนาระบบ National Single Window: NSW ให้สมบูรณ์ โดยเร่งรัดการจัดตั้งหน่วยงานบริหารจัดการส่วนกลางระบบ NSW เพื่อทำหน้าที่พัฒนา ดูแลระบบส่วนกลาง และเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างภาครัฐ (G2G) และระหว่างภาครัฐและเอกชน (G2B) และสามารถเชื่อมโยงระบบเครือข่ายข้อมูลในกระบวนการนำเข้า ส่งออกและโลจิสติกส์ ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ในลักษณะเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว ครอบคลุมทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนสามารถเชื่อมโยงระบบ ASEAN Single Window (ASW) ได้อย่างสมบูรณ์ และเชื่อมโยงระบบ NSW ไปสู่ระบบ Port Community System ทั้งท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือกรุงเทพฯ และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

- กลยุทธ์ที่ 2.3 พัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ด้วย 

1) การสนับสนุนการปรับลดขั้นตอน กระบวนการนำเข้า-ส่งออก ขั้นตอนกระบวนการทำงานของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวกับการนำเข้า ส่งออก การออกใบอนุญาต และใบรับรองให้เป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์ และไร้เอกสารตามแนวทางการให้บริการแบบ Single Window และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยเฉพาะสินค้านำร่อง 5 ชนิด ได้แก่ น้ำตาล ข้าว ยางพารา สินค้าแช่แข็ง และวัตถุอันตราย ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว 

2) เร่งจัดทำมาตรฐานรหัสพิกัด รหัสสถิติ และรหัสสินค้าของทุกหน่วยงานให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน (Harmonized Code) 

3) พัฒนาระบบรองรับคำขออิเล็กทรอนิกส์แบบหน้าต่างเดียว (Single Window Entry) เพื่อรองรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบฟอร์มคำขอร่วมแบบอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานภาครัฐ 

4) ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการอำนวยความสะดวกทางการค้าให้สอดคล้องกับความตกลง  Trade Facilitation Agreement : TFA) และมาตรฐานการค้าขององค์การการค้าโลก WTO รวมถึงผลักดันการออกกฎหมายบังคับใช้สำหรับการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างประเทศ

กลยุทธ์ที่ 4 เร่งแก้ไขอุปสรรคการค้าระหว่างประเทศโดย 

1) การเจรจาการค้าระหว่างประเทศทั้งระดับทวิภาคี และพหุภาคี  เพื่อขจัดอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศ ทั้งมาตรการทางภาษี (Tariffs) และมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี  (No – tariff barriers) ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย หรือนโยบายทางการค้าของประเทศ หรือกลุ่มประเทศคู่ค้า มาตรการด้านการขนส่ง มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม 

2) ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศผ่านกรอบความตกลงระหว่างประเทศในระดับอนุภูมิภาค ภูมิภาค และระดับโลก โดยเฉพาะกับประเทศคู่ค้าชายแดน เพื่อสนับสนุนการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย เกิดความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาปัจจัยสนับสนุนด้านโลจิสติกส์ โดยเร่งรัดการพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน สร้างความเป็นมืออาชีพ และยกระดับมาตรฐานวิชาชีพด้านโลจิสติกส์ สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับภาคเอกชน ในการพัฒนากำลังคน ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมการบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์ และพัฒนาระบบติดตาม และประเมินผลการพัฒนาด้านโลจิสติกส์ของประเทศด้วย

- กลยุทธ์ที่ 3.1 พัฒนามาตรฐานวิชาชีพโลจิสติกส์ ด้วยกับ

1) การเพิ่มผลิตภาพแรงงานโดยหน่วยงานภาครัฐร่วมกับภาคเอกชนในการกำหนดและปรับปรุงกรอบการศึกษาสาขาโลจิสติกส์ ระดับอาชีวะและระดับปริญญา ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล 

2) สนับสนุนการจัดตั้งสถาบัน และศูนย์พัฒนาบุคลากรโลจิสติกส์ที่ทันสมัย และได้มาตรฐาน พร้อมทั้งมีผู้ทรงคุณวุฒิเป็นวิทยากรมืออาชีพในการถ่ายทอดความรู้ด้านโลจิสติกส์ 

3) สนับสนุนองค์กรกำกับดูแลวิชาชีพ มาตรฐาน และการประเมินคุณภาพการพัฒนาบุคลากรด้าน

โลจิสติกส์ 

4) พัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศเพื่อบริหารการพัฒนาบุคลากรที่ได้มาตรฐานและเป็นปัจจุบัน

- กลยุทธ์ที่ 3.2 พัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล โดย

1) การผลิตบุคลากรด้านโลจิสติกส์ทั้งระดับต้นน้ำและปลายน้ำในทุกสาขาอาชีพให้มีความเป็นมืออาชีพ

2) พัฒนาคุณภาพบุคลากร และวางแผนจัดการกำลังคนด้านโลจิสติกส์ ให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจ

3) เน้นการฝึกอบรมวิชาชีพเฉพาะด้าน ตลอดกระบวนการห่วงโซ่อุปทาน เพื่อให้กำลังคนด้านโลจิสติกส์มีคุณภาพ มาตรฐาน และคำนึงถึงความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

- กลยุทธ์ที่ 3.3 วิจัยและพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านโลจิสติกส์ โดย 

1) ส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมสนับสนุนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ การวิจัยพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีด้านโลจิสติกส์ 

2) สนับสนุนมาตรการจัดซื้อ จัดจ้างภาครัฐที่เอื้อต่อการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่อง 

3) กำหนดให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา 

4) ใช้มาตรการทางการเงินหรือมาตรการส่งเสริมการลงทุน ให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมสนับสนุนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์

5) ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อทดแทนการนำเข้า 

6) สร้างนวัตกรรมของตนเอง และเพิ่มประสิทธิภาพระบบโลจิสติกส์ของประเทศ

- กลยุทธ์ที่ 3.4    ประเมิน/ติดตามข้อตกลงความร่วมมือระหว่างประเทศ และพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อประเมินผลการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ โดยการติดตามการเปลี่ยนแปลงด้านข้อตกลง และความร่วมมือระหว่างประเทศ ทั้งระดับทวิภาคี พหุภาคี  และนานาชาติที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศไทย

----------------------------------------

@ ลงข้อมูล / เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ 

@ ที่มาข้อมูล

- ฺWeb: www.logistics.go.th /

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward