iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ

ลักษณะสินค้าที่ไม่เคลื่อนไหว (Dead Stock)

ลักษณะสินค้าที่ไม่เคลื่อนไหว (Dead Stock) เป็นปัญหาการจัดการคลังสินค้าและสินค้าคงคลัง เนื่องจากสินค้าที่ไม่ เคลื่อนไหวทำให้การจัดเก็บสินค้าที่เคลื่อนไหวได้ดีมีปัญหา ส่งผลต่อการจัดการพื้นที่ในคลังทำให้การนำสินค้าเข้าจัดเก็บหรือ การจ่ายกอกมีปัญหา  เนื่องจากสินค้าไม่เคลื่อนไหวกีดขวาง ตัวอย่าง ประเภทของสินค้าไม่เคลื่อนไหว มีดังนี้

- สินค้าคืนจากลูกค้าและขายไม่ได้ (Reject Cargoes)

- สินค้าเสียหาย (Damage Cargoes)

- สินค้าล้าสมัยขายไม่ได้ (Out of Date Goods)

- สินค้าซื้อมากแต่ใช้น้อยหรือไม่ได้ใช้ (Slow Move Cargoes)

- สินค้าไม่เคลื่อนไหว (Sleepy Cargoes)

- เศษซาก/ของเสีย (Scrap & Waste Cargoes)

- สินค้ามีแต่ในบัญชีแต่สินค้าจริงไม่มี (Cargoes on Paper)

- สินค้าไม่มีราคาแต่ทางบัญชียังคงมีมูลค่า (Non Value Cargoes)

- ระยะเวลาที่จำแนกสินค้าไม่เคลื่อนไหว

การจำแนกระยะเวลาสินค้าที่เข้าสู่คลังเก็บสินค้าจะเป็นตัวชี้วัดความเคลื่อนไหวของสินค้าโดยผู้เกี่ยวข้องเป็นผู้กำหนดระยะเวลาของสินค้าที่อยู่ในคลังว่า ระยะเวลาที่จัดเก็บนานเท่าใดถึงจะเรียกว่าเป็นสินค้าไม่เคลื่อนไหว และแบ่งประเภทสินค้าตามระยะเวลาของการจัดเก็บสินค้าในคลังตัวอย่างเช่น โรงงานอาหารกระป๋อง ได้กำหนดประเภทสินค้าตามระยะเวลาเอาไว้ ดังนี้

- สินค้าเคลื่อนไหวเร็ว (Fast Moving) คือสินค้าที่เก็บไว้ในคลังสินค้า ไม่เกิน 7 วัน

- สินค้าปกติ (Normal Moving) คือสินค้าที่เก็บไว้ในคลังสินค้า 7 – 14 วัน

- สินค้าเคลื่อนไหวช้า (Slow Moving) คือสินค้าที่เก็บไว้ในคลังสินค้านานกว่า 14 วัน

- เคลื่อนไหวช้ามาก (Very Slow Moving) คือสินค้าที่เก็บไว้ในคลังสินค้านานกว่า 30 วัน

- ไม่เคลื่อนไหว (Dead Moving) คือสินค้าที่เก็บไว้ในคลังสินค้านานกว่า 45 วัน

เมื่อกำหนดประเภทสินค้าตามระยะเวลาที่อยู่ในคลังสินค้าได้แล้ว เจ้าหน้าที่คลังสินค้าจะกำหนดพื้นที่การจัดเก็บสินค้าตามระยะเวลาสินค้าที่อยู่ในคลัง โดยกำหนดให้สินค้าที่เคลื่อนไหวได้ดี อยู่ในพื้นที่ที่จัดเก็บและนำออกได้ง่าย ส่วนสินค้าที่เคลื่อนไหวได้ช้าจะเก็บไว้ในพื้นที่ที่เข้าถึงได้ยาก การเก็บสินค้าในคลังสินค้าตามระยะเวลาที่จัดเก็บสามารถเห็นถึงแนวโน้มการผลิตและการขายได้ในเวลาเดียวกัน ซึ่งจำเป็นต้องใช้ระบบการควบคุมด้วยสายตา (Visual Control) เข้ามาประยุกต์ใช้ร่วมกัน โดยกำหนดพื้นที่ จัดเก็บตามสีหรือระดับการเคลื่อนไหว เช่นสินค้าเคลื่อนไหวเร็ว จัดเก็บหรือมีป้ายชี้บ่งสีเขียว สินค้าเคลื่อนไหวของสินค้าได้โดยง่าย

วิธีการลดปริมาณสินค้าไม่เคลื่อนไหว โดยหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการจัดการสินค้าที่ไม่เคลื่อนไหว ไม่สามารถผลักภาระความรับผิดชอบให้กับหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งโดยเฉพาะ ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย อาทิ

ฝ่ายขายและฝ่ายการตลาด

- ผลักดันยอดขายผ่านฝ่ายขายหรือตัวแทนจำหน่าย โดยให้ผลตอบแทน (Incentives) ที่สูงสำหรับการขายสินค้าไม่เคลื่อนไหว โดยกำหนดให้สูงกว่าการขายสินค้าที่มีการเคลื่อนไหวปกติหรือสินค้าที่ขายดีอยู่แล้ว

- กำหนดสัดส่วนการขายสินค้าที่เคลื่อนไหวช้าต่อเดือนเป็นสัดส่วนต่อการขายสินค้าทั้งหมดในรอบเดือน

- จัดกลุ่มสินค้าบางประเภท ให้เป็นสินค้าฝากขาย ( Consignment) โดยการกระจายสินค้าฝากขายไปยังลูกค้าให้มากที่สุด เพื่อลดภาระการจัดเก็บและปริมาณสินค้าในคลังสินค้า

- ส่งเสริมการตลาดในสินค้าไม่เคลื่อนไหว เช่น ลด แลก แจก แถม เป็นต้น

ฝ่ายจัดซื้อ

- ในกรณีซื้อวัตถุดิบต้องมีการคำนวณการสั่งซื้อ โดยจำเป็นต้องรู้ข้อมูลปริมาณการใช้หรือแผนการผลิต ต้นทุนการสั่งซื้อแต่ละครั้ง ต้นทุนการเก็บรักษา ปริมาณการสั่งซื้อขั้นต่ำ แล้วจึงคำนวณหาปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสมต่อไป (Economics Order Quantity : EOQ)

- จำเป็นต้องจัดหาซัพพลายเออร์สำรอง หรือรายใหม่ ในกรณีที่การสั่งซื้อจากซัพพลายเออร์ปัจจุบันมีปริมาณการสั่งซื้อสินค้าขั้นต่ำในประมาณมาก

ฝ่ายคลังสินค้า

- แสดงให้เห็นถึงจำนวนสินค้าที่ไม่เคลื่อนไหวในคลังสินค้าให้ชัดเจน ดูง่าย โดยจัดพื้นที่ในการเก็บสินค้าไม่เคลื่อนไหวให้อยู่ในที่เดียวกัน และมีป้ายบ่งชี้ประกอบ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตระหนังถึงปัญหาของสินค้าที่ไม่เคลื่อนไหว โดยหวังว่าทุกหน่วยงานจะเข้ามาร่วมแก้ปัญหาด้วยกัน

ฝ่ายผลิต

- นำส่วนประกอบของสินค้าที่ไม่เคลื่อนไหว มาใช้ใหม่ (Re-use) หรือรีไซเคิล ตามแต่กรณีโดยเฉพาะสินค้าที่เป็นชินส่วนประกอบ เช่น ผลิตภัณฑ์จากยางบางประเภท เฟอร์นิเจอร์ หรือชิ้นส่วนประกอบยานยนต์ เป็นต้น

ฝ่ายบุคคล

- จัดขายสินค้าราคาประหยัดเพื่อเป็นสวัสดิการให้แก่พนักงาน

ฝ่ายบัญชี

- ตัดตัวเลขทางบัญชีและทำลายสินค้าที่ไม่เคลื่อนไหวและหมดอายุหากจำเป็น

- บริจาคเป็นสาธารณกุศล ซึ่งสามารถนำมาลดหย่อนภาษีปลายปีได้

ขั้นตอนในการลดปริมาณสินค้าไม่เคลื่อนไหว สามารถจัดลำดับจากขั้นตอนที่ง่ายที่สุดไปยังขั้นตอนที่ยากที่สุด หรือขั้นตอนที่ใช้ต้นทุนน้อยที่สุดไปยังต้นทุนสูงที่สุด ดังนั้นผู้ประกอบการจำเป็นต้องเลือกวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสมกับธุรกิจและประเภทสินค้าของตนเอง

 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward