iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ

CT54 National Single Window กลยุทธ์เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

ลิขสิทธิ์ © พ.ศ.2551 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

 

ในกระบวนการนำเข้าส่งออกสินค้าและวัตถุดิบ ผู้ประกอบการต้องประสบปัญหาด้านเอกสารประกอบการขออนุญาต เนื่องจากมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าส่งออกหลายหน่วยงาน และในขั้นตอนการยื่นคำขอยังต้องใช้ระบบเอกสารหลักฐานตามที่กฎระเบียบกำหนด รวมทั้งมีความซ้ำซ้อนของเอกสารที่ต้องแนบเพื่อยื่นให้หน่วยงานต่างๆ ทำให้ต้องใช้เวลาหลายวันในการเตรียมเอกสารจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดความผิดพลาดได้ง่าย และมีต้นทุนสูง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าส่งออกสินค้าและวัตถุดิบจึงได้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ด้านโลจิสติกส์ที่ทันสมัยมาใช้ในการบริหารจัดการข้อมูลและเอกสารนำเข้าส่งออกในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Logistics) เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการ เช่น ใบอนุญาตอิเล็กทรอนิกส์ (e-Licensing) หรือใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (e-Certificate) เป็นต้น ซึ่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมโยง แลกเปลี่ยน และใช้ร่วมกันได้ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยระบบ e-Logistics ของแต่ละหน่วยงานที่จะสามารถเชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูลกันได้ต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน อาทิเช่น มาตรฐาน ebXML เป็นต้น และต้องมีระบบกลางเพื่อเชื่อมโยงการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานให้เป็นแบบอัตโนมัติ ซึ่งระบบที่ว่าก็คือระบบ Single Window

1. หลักการของระบบ Single Window

ระบบ Single Window คือ ระบบที่เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระบวนการนำเข้าส่งออกสินค้า ซึ่งมีหลักการดังนี้

- ยื่นคำขอ (Centralized e-Form) ผ่านหน้าต่างบริการจากจุดเดียว (Single Window Entry)

- กรอกข้อมูลและแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องตามข้อกำหนดเพียงครั้งเดียว

- เชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นไปโดยอัตโนมัติภายใต้มาตรฐานเดียวกัน

ด้วยระบบ Single Window ผู้ประกอบการจะได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว โดยสามารถยื่นคำขอ เอกสาร หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องผ่านหน้าต่างบริการทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรือเว็บไซต์ แทนการเดินทางไปติดต่อหน่วยงานต่างๆด้วยตัวเอง ระบบจะทำการรับส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ภายใต้มาตรฐานเดียวกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยอัตโนมัติ ทำการตรวจสอบเอกสารต่างๆ แล้วส่งข้อมูลให้กรมศุลกากรเพื่อการตัดสินใจในการตรวจปล่อยสินค้า ส่งผลให้ขั้นตอน ระยะเวลาและค่าใช้จ่ายที่ใช้ในกระบวนการเอกสารนำเข้าส่งออกของผู้ประกอบการลดลง นอกจากนี้การกรอกข้อมูล และการแนบเอกสารจะกระทำเพียงครั้งเดียว ทำให้ความผิดพลาดในการกรอกข้อมูลของผู้ประกอบการลดลง

รูปที่ 1 หลักการของระบบ Single Window

ที่มา UNDP‐UNESCAP Regional Consultation on issues in Trade Facilitation and Human Development, 2005

2. ประเทศไทยกับการพัฒนาระบบ National Single Window (NSW)

การพัฒนาระบบ National Single Window เพื่อการเชื่อมโยงข้อมูลใบอนุญาตและใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการนำเข้าส่งออกในประเทศไทย เกิดขึ้นเมื่อผู้ประกอบการภาคเอกชนประสบปัญหาด้านเอกสารประกอบการขออนุญาตนำเข้าส่งออกสินค้าและวัตถุดิบ เช่น ความซ้ำซ้อนของเอกสารประกอบการขออนุญาตที่ต้องยื่นให้แต่ละหน่วยงาน ความซ้ำซ้อนของข้อมูลในแบบฟอร์ม หรือจำนวนของแบบฟอร์มที่ต้องกรอก เป็นต้น ทำให้ผู้ประกอบการต้องใช้เวลาในการเตรียมเอกสารนาน และมีต้นทุนสูง ซึ่งจำนวนของเอกสารส่งผลให้เกิดความผิดพลาดได้ง่าย

จากการศึกษาโดย สมนึก คีรีโต พบว่ามีหน่วยงานภาครัฐ 29 หน่วยงาน และภาคเอกชน 8 กลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องในกระบวนการนำเข้าส่งออกในประเทศไทย มีเอกสารกว่า 40 แบบฟอร์ม มีข้อมูลที่ต้องกรอกกว่า 200 รายการข้อมูล ผู้ประกอบการต้องกรอกรายการข้อมูลซ้ำเดิมประมาณ 60-70% และเอกสารส่วนใหญ่เป็นแบบฟอร์มกระดาษ

รูปที่ 2 ปัญหาการนำเข้าส่งออกของประเทศไทย

ที่มา ดร.สมนึก คีรีโต, เอกสารการบรรยาย ICT Competency Development for Data Harmonization Seminar, 31 ก.ค.-1 ส.ค. 2551

จากการศึกษาของ UNECE พบว่า เวลาที่ใช้ในการดำเนินการเพื่อการส่งออกของประเทศไทยในปี 2550 ใช้เวลา 17 วัน เป็นกิจกรรมเตรียมเอกสารถึง 9 วัน มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น 240 เหรียญสหรัฐ ในขณะที่ประเทศเยอรมนีใช้เวลาเตรียมเอกสาร 3 วัน และมีค่าใช้จ่ายเพียง 85 เหรียญสหรัฐ

---------------------------------------------------------

--------------------------------

สนใจบทความดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง

CT54 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2554

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2554” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจ จัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน  หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล

 --------------------------------

ที่มา

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2554

โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward