iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป

CT52 โซ่อุปทานที่เป็นเลิศเริ่มต้นจากการผสมผสานที่ลงตัว

ดร. รวินกานต์ ศรีนนท์ 

ไม่ว่าจะเป็นนักกลยุทธ์ทางด้านการทหาร นักวางแผนทางพลเรือน และ นักธุรกิจข้ามชาติ ต่างมองเห็นถึงความสำคัญทางกลยุทธ์ของการจัดการโลจิสติสก์แบบองค์รวมมาเป็นเวลานานตั้งแต่อดีตกาล แต่ความเข้าใจถึงการจัดการโซ่อุปทานและการตระหนักถึงความสำคัญที่จะใช้ของการจัดการโซ่อุปทานเป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสมทางด้านธุรกิจเพิ่งจะมีมาไม่กี่ปีเท่านั้น  ซึ่งการตระหนักเหล่านั้นเกิดจากความสำเร็จของบริษัทยักษ์ใหญ่เช่น โตโยต้า Wal-mart และ Dell ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการจัดการภายในที่ดีสามารถนำมาใช้เสิรมการแข่งขันทางการค้าควบคู่กับการส่งเสิรมการขายของทีมขายและการตลาด ความสำเร็จของบริษัทยักษ์ใหญ่เหล่าทำให้ผู้จัดการโซ่อุปทานของบริษัทในหลายๆอุตสาหกรรมพยายามที่จะเปรียบเทียบ (Benchmark) กับการปฏิบัติขององค์กรของตนเพื่อที่จะได้นำเอาแนวทางการจัดการไปใช้กับองค์กรของตน แต่จะเห็นได้ว่าการลอกเลียนแบบในลักษณะนี้เป็นไปได้ยากที่จะสำเร็จ แนวทางการจัดการโซ่อุปทานและการลำดับความสำคัญของโตโยโต้ไม่ได้เป็นไปในแนวทางเดียวกับของเดลหรือวอล์มาร์ท เราไม่สามารถที่จะใช้วิธีการเดียวกันในการบริหารโซ่อุปทานกับธุรกิจของอุตสาหกรรมต่างชนิดกัน ธรรมชาติของธุรกิจที่ต่างกันย่อมทำให้การบริหารจัดการโซ่อุปทานให้ได้ผลดีแตกต่างกันไปด้วยเช่นกัน แล้วอะไรหล่ะคือการจัดการโซ่อุปทานที่เป็นเลิศ?

ศูนย์สำหรับการขนส่งและโลจิสติกส์ที่ Massachesetts Institute of Technology (MIT) ได้มีการทำการวิจัยและค้นคว้าเพื่อที่จะหาคำตอบของโซ่อุปทานที่เป็นเลิศโดยมีการทำการวิจัย Supply Chain 2020 (SC2020) เพื่อหาคำตอบของการจัดการโซ่อุปทานที่เป็นเลิศ เพื่อหาปัจจัยแห่งความสำเร็จของโซ่อุปทานในอนาคต การหาแนวทางการปฏิบัติเป็นเลิศที่สามารถใช้ได้กับทุกธุรกิจเป็นสิ่งที่ยาก หรือ แม้แต่ในธุรกิจเดียวกันก็ยังยากที่จะกล่าวได้ว่าแนวทางปฏิบัติใดเป็นเลิศที่สุด เหตุเพราะแนวทางปฏิบัติเป็นเลิศนั้นจะใช้ได้ผลกับองค์กรนั้นอยู่ในลักษณะที่เหมาะสมของธุรกิจนั้นๆ หากลักษณะขององค์กรไม่ได้อยู่ในลักษณะที่เหมาะสมหรือคล้ายคลึงกับธุรกิจต้นแบบอย่างใกล้เคียงแนวทางปฏิบัตินั้นก็จะไม่ใช่แนวทางที่เป็นเลิศสำหรับองค์กรนั้นเลย ยกตัวอย่างเช่นแนวทางการบริหารแบบขายตรงและ build-to-order ของ Dell นั้นไม่ได้มีความเหมาะสมกับธุรกิจค้าปลีกที่มีหน้าร้านค้าแบบ Wal-mart หรือ Tesco เลย และการบริหารของก็ยังไม่สามารถใช้ได้ดีกับธุรกิจค้าคอมพิวเตอร์ของบริษัทอื่นอีกด้วย ดังนั้นแนวทางที่เป็นเลิศสำหรับโซ่อุปทานที่เป็นเลิศเพื่อผลประกอบการที่ดีเยี่ยมและสามารถแข่งขันในโลกธุรกิจและอุตสาหกรรมได้อย่างยั่งยืนนั้น ควรเป็นในแบบจากบนลงล่าง  (Top down) นั่นคือเริ่มมาจากกลยุทธ์ขององค์กรแล้วส่งลงไปสู่ระดับปฏิบัติการโดยที่เน้นที่จุดแข็ง (core principles) ขององค์กรเองซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถสอนและถ่ายทอดต่อกันในองค์กร ซึ่งหากมองลึกๆลงไป ก็คือเน้นที่วัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็งบวกกับองค์ความรู้ที่องค์กรมีอยู่แล้วใช้สิ่งเหล่านี้เป็นอาวุธในการแข่งขันเหมือนอย่างเช่น โตโยต้าที่มีวัฒนธรรมองค์กรที่ฝังแน่นอยู่ในองค์กรและส่งผ่านจากบุคลากรในองค์กรซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญของโตโยต้าทีเดียว

สิ่งที่องค์กรแต่ละองค์กรจะต้องคิดและต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้คือ อะไรกันแน่ที่ทำให้โซ่อุปทานมีประสิทธิภาพ และ สิ่งที่ต้องชั่งน้ำหนักที่จะต้อง trade-off นั้นคืออะไร แนวทางในการค้นหาโซ่อุปทานที่เป็นเลิศเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันมีแนวทาง ดังแสดงในรูปภาพที่ 1

รูปภาพที่ 1 กรอบแนวทางของโซ่อุปทานที่เป็นเลิศ

การปฎิบัติการในโซ่อุปทานมีหลักการอย่างน้อยสองมิติที่ต้องมอง นั่นคือ หนึ่ง โซ่อุปทานนั้นจะต้องมีการออกแบบทางอย่างแยบยลและจัดการไปตามแนวทางของกรอบโซ่อุปทานที่เป็นเลิศซึ่งกรอบนี้จะเป็นตัวช่วยทำให้การจัดการโซ่อุปทานมีความสอดคล้องกับกลยุทธ์ของธุรกิจในภาพรวม (ดูรูปภาพที่ 1)  ส่วนมิติที่สองคือ ผู้จัดการโซ่อุปทานทราบว่าตนเองจะต้องจัดการอย่างไรเพื่อให้กลยุทธ์ของโซ่อุปทานกระทำได้อย่างสำเร็จโดยผู้จัดการสามารถแยกแยะได้ว่าการปฏิบัติอันไหนที่องค์กรต้องทำให้ดีเลิศเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง และ การปฏิบัติอันไหนที่องค์กรของเราต้องทำแค่เพียงเท่าเทียมกับผู้อื่น ซึ่งจะส่งผลให้ทราบว่าอะไรที่จะต้องทำอย่างเต็มความสามารถและจะต้องใช้ใครบ้าง ซึ่งการจัดการตรงนี้จะต้องมีการ trade-offs ที่จะต้องชั่งน้ำหนักให้ดีเพื่อให้เสริมกับกลยุทธ์ในการแข่งขันที่ได้วางเอาไว้ พูดง่ายๆว่า โซ่อุปทานที่เป็นเลิศนั้นต้องมีการวางจุดมุ่งหมายอย่างชัดเจน และ ผู้จัดการ ต้องเข้าใจและปฏิบัติตามแนวทางนั้นอย่างเคร่งครัด  กรอบของความเป็นเลิศที่ผู้จัดการควรต้องเข้าใจประกอบด้วยอะไรบ้าง

กรอบความเป็นเลิศ (Framework for Excellence)

กรอบของความเป็นเลิศประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้

1. ปรับโมเดลการปฏิบัติการในองค์กรให้ตรงกัน (Aligning the Operating Model) เป็นการปรับให้ลักษณะของโซ่อุปทานที่เป็นเลิศที่เกี่ยวข้องกันตรงกับกลยุทธ์ทางการแข่งขันของธุรกิจ ซึ่งกลยุทธ์เหล่านี้ต้องมีความชัดเจนและผู้จัดการโซ่อุปทานก็ต้องเช้าใจมันด้วย ในขณะเดียวกันโมเดลของการปฏิบัติของโซ่อุปทานไม่ควรจะรองรับกลยุทธ์ของธุรกิจอย่างเดียวแต่ควรที่จะรองรับและส่งเสริมปัจจัยหลักๆที่มีให้ผลกับกลยุทธ์เหล่านั้นประสบความสำเร็จอีกด้วย ซึ่งปัจจัยเหล่านั้นแสดงตัวอย่างอยู่ในตารางที่ 1

ตารางที่ 1 Competitive Strategy Elements and Supporting Model Characteristics

โมเดลการฏิบัติงานจะต้องช่วยให้องค์กรสามารถเจาะตลาดที่ตัวองค์กรเองต้องการจะเข้าไปมีส่วนแบ่งถือครองตลาด และยังต้องมีความยืดหยุ่นสามารถปรับเข้ากับแผนกลยุทธ์ขององค์กรที่ปรับเปลี่ยนไปตามเวลาอีกด้วย ซึ่งตัวอย่างการปฎิบัติงานที่ประสบความสำเร็จแสดงในตารางที่ 2

2. จัดสมดุลจุดมุ่งหมาย (Balancing the Performance Objectives) การจะจัดการโซ่อุปทานให้ประสบผลสำเร็จนั้นต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และ มีการวัดผลการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอเพื่อที่จะตรวจสอบว่าการปฎิบัติงานขององค์กรดำเนินไปในทางทิศไหน – ดีขึ้น หรือ แย่ลง และเพื่อที่จะได้ใช้แนวทางการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) เพื่อให้การแข่งขันเป็นไปอย่างเข้มข้นและไม่ให้คู่แข่งทางการค้าไล่ตามได้ทัน การจัดการที่เป็นเลิศไม่ใช่การพยายามทำให้ทุกอย่างดีหมดหรือการโฟกัสกับสิ่งที่ไม่สำคัญ การที่องค์กรจะบรรลุความสำเร็จเป็นเลิศได้นั้น จะต้องมาจากการที่ทำในสิ่งที่มีความสำคัญได้เป็นอย่างดี (Doing well at what matters most) ยกตัวอย่างเช่น ในธุรกิจที่เกี่ยวกับแฟชั่นนั้นบางครั้งจะเน้นไปในการที่จะพยายามลดจำนวนสินค้าคงคลังมากจนเกินไป ทั้งๆ ที่สิ่งที่สำคัญมากกว่าที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จและมีกำลังไรคือการจะทำอย่างไรที่จะให้สินค้าที่ลูกค้าต้องการมีวางขายอยู่ในร้าน เพราะเสื้อผ้าแฟนชั่นเป็นสิ่งที่มาเร็วไปเร็ว ยิ่งถ้าองค์กรสามารถบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานให้สินค้าที่กำลังมาแรงในฤดูกาลนั้นๆ มีวางขายก่อนสินค้าแบรนด์อื่น โอกาสการทำกำไรก็จะสูงมากขึ้นเท่านั้น

ตารางที่ 2 ตัวอย่างโซ่อุปทานที่ประสบความสำเร็จ

โซ่อุปทานที่เป็นเลิศควรมีประสิทธิภาพการจัดการที่เป็นเลิศในปัจจัยและจุดมุ่งหมายที่สอดคล้องกับเป้าหมายทางด้านธุรกิจ ยกตัวอย่างเช่น โซ่อุปทานของ Wal-mart และ Dell จะต้องมีประสิทธิผลสูงๆเพื่อที่จะสามารถความคุมต้นทุนได้เพื่อที่จะยังสามารถขายสินค้าในราคาที่ถูกได้ การจะวัดประสิทธิภาพการจัดการในโซ่อุปทานสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 มุม

- Customer Response วัดได้จาก order cycle time, perfecto order fill rates, คุณภาพของสินค้า และ เวลาที่ใช้ในการส่งสินค้าตัวใหม่เข้าสู่ตลาด

- Efficiency ตัวชี้วัดตัวนี้เป็นการวัดภายในองค์กร เป็นการวัดว่าความสามารถในการปฏิบัติการเพื่อให้ได้ผลผลิตออกมานั้นมีประสิทธิภาพแค่ไหน ยกตัวอย่างเช่น ผลผลิตที่เกิดจากแรงงาน, ต้นทุนโซ่อุปทาน และ ของเสียที่เกิดขึ้นในโซ่อุปทาน องค์กรที่เน้นเรื่องของต้นทุนเช่น อุตสาหกรรม อาหารและเครื่องดื่ม สินค้าพื้นฐานในร้านค้าปลีก และ วัตถุดิบทางด้านอุตสาหกรรม มักจะเน้นในการจัดการด้านนี้

- Asset utilization ตัวชี้วัดนี้ก็เป็นตัวชี้วัดภายในเช่นกัน แต่ตัวนี้เป็นการวัดประสิทธิภาพในการใช้เครื่องจักรอุปกรณ์ และ สินค้าคงคลัง (เกี่ยวข้องกับงบดุลโดยตรง)

กลยุทธ์ทางการแข่งขันเป็นตัวกำหนดให้องค์กรต้องมีการจัดการปัจจัยที่วัดประสิทธิภาพเหล่านี้อย่างสมดุลและต้องมีการ Trade-off เลือกโฟกัสในตัวที่เหมาะสมกับองค์กรและลักษณะธุรกิจ

3. Tailoring Practices อีกคุณลักษณะหนึ่งของโซ่อุปทานที่เป็นเลิศคือการที่โฟกัสที่แนวทางปฏิบัติของธุรกิจที่มีผลส่งเสริมกันและกันและในขณะเดียวกันก็มีความสอดคล้องกับจุดประสงค์ในการปฏิบัติงาน โซ่อุปทานที่เป็นเลิศเป็นการเลี่ยงที่จะติดกับดักของการทำให้ดีทุกๆอย่าง เพราะ จะเป็นการทำให้ทำอะไรไม่ดีเลยสักอย่าง การจัดการให้ดีคือการมุ่งเน้นทุ่มเทปัจจัยที่มีอยู่ในองค์กรแค่พอควรสำหรับการปฏิบัติงานในส่วนที่ไม่สำคัญต่อกลยุทธ์ขององค์กร และไปโฟกัสในส่วนที่ควรทำอย่างเต็มที่ แนวการปฏิบัติการควรมีความต่อเนื่อง ชัดเจน และ เหมาะสม

การปฏิบัติให้เป็นเลิศตามกรอบแนวปฏิบัติของโซ่อุปทานที่มีความสอดคล้องกลับกลยุทธ์ทางธุรกิจขององค์กรจะส่งผลให้องค์กรสามารถพัฒนาเพื่อการแข่งขันได้อย่างต่อเนื่อง และสิ่งที่องค์กรจะต้องตระหนักและลืมไม่ได้อีกอย่างหนึ่งก็คือ การที่ได้มาซึ่งกลยุทธ์ทางด้านธุรกิจนั้นได้มากจากการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนขององค์กรร่วมกับปัจจัยภายนอกของอุตสาหกรรมนั้นๆ อย่างถูกต้องและชัดเจนอีกด้วย

ที่มา: Essence of Excellent 2020 

.

สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง

 --------------------------------

ดูบทความอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่

 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2552

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 15 บทความ จัดทำเป็นรูปเล่ม เพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน  หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล

 --------------------------------

ที่มา

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2552

โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward