iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป

BA Theory แนวคิดและทฤษฎี Michael E. Porter รวมแนวคิดเด่นที่มีของ ศาสตราจารย์ ไมเคิลยูจีนพอร์เตอร์ (Michael Eugene Porter, Michael E. Porter, Porter, M.E.)

 

สนใจข้อมูลเพิ่มเติมคลิกที่ดูที่ Michael E. Porter คือใคร

ศาสตราจารย์ ไมเคิล ยูจีน พอร์เตอร์ (Michael Eugene Porter, Michael E. Porter, Porter, M.E.) เป็นนักคิดนักบริหารและนักเศรษฐศาสตร์ ที่มีชื่อเสียงในส่วนของการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่มีชื่อเสียงของ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด โดยเป็นผู้พัฒนาทฤษฎีในเรื่องกลยุทธ์การแข่งขันและการบริหารจัดการ เขาได้เสนอแนวคิดการประยุกต์หลักทางเศรษฐศาสตร์ธุรกิจและอุตสาหกรรมที่สำคัญหลายเรื่อง สามารถใช้ในการนำไปช่วยในการวิเคราะห์การวางแผนและใช้กำหนดกลยุทธ์ของการดำเนินกิจการทางธุรกิจ Porter ได้มีการเขียนหนังสือด้านการบริหารและจัดการหลายเล่ม และมีหลายเล่มที่ได้รับความนิยมแพร่หลายมาก สรุปแนวคิดและทฤษฎีที่โด่งดังที่มีการนำเสนอ ที่สำคัญอีกเรื่องก็คือ

ข้อมูลเพิ่มเติม

แนวคิดและทฤษฎี Michael E. Porter คือใคร

 

- Competitive Strategy, Techniques for Analyzing Industries and Competitors, Michael E. Porter (1980) เป็นแนวคิดที่ได้รับความนิยมมาก ได้นำเสนอทฤษฎีการวิเคราะห์แรงต้าน 5 ด้าน (Five Force Analysis) และกล่าวถึงการกำหนดกลยุทธ์การแข่งขันโดยใช้แบบจำลองแรงต้าน 5 ด้าน (Five Force Model) 

ข้อมูลเพิ่มเติม

แนวคิดและทฤษฎี Michael E. Porter Competitive Strategy กลยุทธ์การแข่งขันเทคนิคการวิเคราะห์อุตสาหกรรมและคู่แข่ง

- Competitive Advantage, Creating and Sustaining Superior Performance, Michael E. Porter (1985) การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน โดยใช้ แบบจำลองห่วงโซ่แห่งคุณค่า (Value Chain Model) ที่กล่าวว่าความสามารถในการแข่งขันของแต่องค์กรจะเกิดจากความสามารถในการจัดการกิจกรรมที่มีภายในองค์กร หากจัดการกิจกรรมได้ดีก็จะช่วยให้เกิดการลดต้นทุนให้แก่องค์กร เหมาะกับองค์กรที่ต้องการจะใช้กลยุทธ์การเป็นผู้นำด้านราคาหรือด้านการสร้างความแตกต่าง

ข้อมูลเพิ่มเติม

แนวคิดและทฤษฎี Michael E. Porter Competitive Strategy กลยุทธ์การแข่งขัน (Competitive Strategy)

 

Competitive Advantage, Creating and Sustaining Superior Performance หนังสือเล่มนี้ถูกตีพิมพ์มากกว่าห้าสิบครั้ง เรื่องเด่นในเล่มนี้นำเสนอในเนื้อหาเรื่องของประเภทและของการสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน โดยใช้ แบบจำลองห่วงโซ่แห่งคุณค่า (Value Chain Model) ความสามารถในการแข่งขันของแต่องค์กรจะเกิดจากความสามารถในการจัดการกิจกรรมที่มีภายในของแต่ละองค์กร หากจัดการกิจกรรมได้ดีก็จะช่วยให้เกิดการลดต้นทุนให้แก่องค์กร เหมาะกับองค์กรที่ต้องการจะใช้กลยุทธ์การเป็นผู้นำด้านราคาหรือด้านการสร้างความแตกต่าง ต้องศึกษาและวิเคราะห์ถึงกิจกรรมและความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรม ค้นหาความได้เปรียบทางการแข่งขันของตน 

ข้อมูลเพิ่มเติม

 

- The value chain and competitive advantage. Understanding Business Processes., Michael E. Porter (2001) การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าเสนอแนะแนวคิดเกี่ยวกับความสามารถในการแข่งขันขององค์กร จะเกิดจากการดำเนินกิจกรรมภายในองค์กรเอง การจัดการกิจกรรมที่ดีจะสามารถช่วยลดต้นทุนให้แก่องค์กร เพื่อใช้กลยุทธ์ในการเป็นผู้นำในด้านราคา (Cost Leadership) หรือช่วยในการสร้างความแตกต่างในสินค้าและบริการ (Differentiation) จึงควรจะต้องทำการวิเคราะห์ถึงกิจกรรมหาความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรม เพื่อศึกษาหาความได้เปรียบทางการแข่งขันขององค์กร ห่วงโซ่คุณค่าในการตลาด (Value Chain) เป็นแนวคิดการทำความเข้าใจถึงบทบาทแต่ละหน่วยงานในขั้นปฏิบัติการ ว่าจะมีส่วนช่วยเหลือให้องค์กรสร้างคุณค่าให้แก่ลูกค้าได้อย่างไร โดยคุณค่าที่สร้างขึ้นต้องสามารถวัดได้ โดยการพิจารณาว่าผู้บริโภคยินยอมที่จะจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการของบริษัทมากน้อยเพียงใด

ข้อมูลเพิ่มเติม

แนวคิดและทฤษฎี Michael E. Porter The value chain and competitive advantage การทำความเข้าใจกระบวนการทางธุรกิจโดยใช้ห่วงโซ่คุณค่าและความได้เปรียบในการแข่งขัน

 

- Michael E. Porter (1990, 1998) The Competitive Advantage of Nations, เป็นการนำเสนอทฤษฏีใหม่หลังจากที่ได้ทำการศึกษาและวิจัยในอุตสาหกรรมต่างๆ ที่โดดเด่นของทั่วโลก ประมาณ 10 ประเทศ จึงเกิดทฤษฎี Dynamic Diamond Model กล่าวถึงเรื่องของการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของระดับประเทศ ซึ่งเป็นผลงานจากการไปศึกษาและเก็บข้อมูลแต่ละอุตสาหกรรมของประเทศต่างๆ โดยได้เสนอแบบจำลองเพชรแห่งความได้เปรียบของชาติ (Diamond Model of National Advantage) เป็นการกล่าวถึงปัจจัยทางด้านสภาวะแวดล้อมในการดำเนินงานทั้ง 4 ประการได่แก่ ปัจจัยในการดำเนินงาน, เงื่อนไขด้านความต้องการของตลาด, อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและสนับสนุน และกลยุทธ์องค์กรโดรงสร้างและการแข่งขัน โดยปัจจัยเหล่านี้มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันและส่งผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและดำเนินงานขององค์กรธุรกิจ

ข้อมูลเพิ่มเติม

แนวคิดและทฤษฎี Michael E. Porter The Competitive Advantage of Nations, แบบจำลองเพชรจากความได้เปรียบของประเทศ (Diamond Model of National Advantage)

ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com

-------------------------------------------------

สนใจเรื่องราว การจัดการธุรกิจ (Business Management) เพิ่มเติมคลิกที่นี่

BA รวมเรื่องราวการจัดการธุรกิจ (Business Management)

-------------------------------------------------

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward