iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา

BA Theory แนวคิดและทฤษฎี Michael E. Porter Competitive Strategy เครื่องมือสำหรับวิเคราะห์แรงกระทบที่มีผลต่อการตลาด (Five Force Model)

เครื่องมือสำหรับวิเคราะห์แรงกระทบที่มีผลต่อการตลาด (Five Force Model) คือ เครื่องมือสำหรับวิเคราะห์แรงกระทบที่มีผลต่อการทำธุรกิจ ใช้เพื่อวางแผนกลยุทธ์ของกิจการและปัจจัยที่สำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ โดย Michael E. Porter จากหนังสือ Competitive Strategy, Techniques for Analyzing Industries and Competitors (1980) ได้รับความนิยมมากจนถูกตีพิมพ์มากกว่า 80 ครั้ง และยังนำไปแปลเป็นภาษาต่างๆ มากกว่า 19 ภาษา โดยเรื่องเด่นในเล่มนี้ได้นำเสนอ แบบจำลองกระทบที่มีผลต่อการตลาด 5 ด้าน (Five Force Model) เพื่อใช้บอกถึงสภาพการกดดันอุปสรรคของการแข่งขันในอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการต้องพยายามผ่านแรงต้านที่มีทั้งหมดให้ได้ หากทำได้ก็จะทำให้สามารถต่อสู้และทำกำไรในอุตสาหกรรมนั้นได้ มีการกล่าวถึงการแยกกลุ่มวิเคราะห์ในแต่ละด้าน และหาวิธีที่จะทำให้แรงต้านที่มีให้ลดอ่อนแรงลง ยิ่งทำได้มากเท่าไรโอกาสที่จะบรรลุความสำเร็จทางธุรกิจก็จะมากตามไปด้วย เป้าหมายการวางกลยุทธ์ในส่วนนี้คือ การหาตำแหน่งของตนในอุตสาหกรรมที่มี เพื่อรู้ปัญหาและสามารถที่จะทำการป้องกันตนเองจากแรงต้านที่จะมีทั้งหมดได้ และหากใช้ความสามารถของตนเองในการจัดการเปลี่ยนแรงต้านที่มีนี้ ให้กับมาเป็นประโยชน์เกิดกับตัวเองได้ก็จะดียิ่งขึ้น แรงกระทบที่มีผลต่อการตลาด 5 ด้านได้แก่


1. Intensity of Rivalry among Existing Competitor การแข่งขันระหว่างธุรกิจที่มีอยู่เดิมในอุตสาหกรรม โดยต้องพิจารณาถึงจำนวนคู่แข่งภายในอุตสาหกรรมสัดส่วนตลาดของคู่แข่งแต่ละราย วิเคราะห์ความคุ้มค่าในการเข้าทำตลาดในผลิตภัณฑ์นั้น มีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

1.1 Numerous or Equally Balanced Competitors จำนวนและดุลยภาพของคู่แข่งขัน 

1.2 Slow Industry Growth อัตราการเติบโตของอุตสาหกรรม 

1.3 High Fixed of Storage Costs ปริมาณของต้นทุนคงที่ 

1.4 Lack of Differentiation of Switch Costs ผลิตภัณฑ์ในตลาดไม่มีความแตกต่าง

1.5 Capacity Augmented in Large Increment การเพิ่มกำลังการผลิต

1.6 Competitors with Diverse Strategies ความหลากหลายในกลยุทธ์ของคู่แข่งขัน

1.7 High Exit Barriers อุปสรรคของการออกไปสู่อุตสาหกรรมอื่น

2. Barriers to Entry การคุกคามของผู้เข้ามาใหม่ เป็นภัยคุกคามที่ร้ายแรงจะทำให้ส่วนแบ่งทางการตลาดของธุรกิจลงลด การที่ผู้ประกอบการเลือกทำธุรกิจที่มีแนวคูกำแพงล้อมรอบจะทำให้คู่แข่งรายใหม่เข้ามาในตลาดได้ยาก ปัจจัยที่จะกระตุ้นแรงผลักดันนี้ ได้แก่

2.1 Economy of Scale การประหยัดโดยขนาด เนื่องจากการผลิตในปริมาณมากทำให้ต้นทุนของวัตถุดิบและราคาถูกลง 

2.2 Product Differentiation การสร้างความแตกต่างให้แกผลิตภัณฑ์ โดยทำให้ผลิตภัณฑ์มีเอกลักษณ์ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคและสร้างความภักดีต่อตราสินค้าของผู้บริโภค 

2.3 Capital Requirements ความต้องการเงินทุน ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการลงทุนสำหรับอุตสาหกรรมบางประเภทมีสูงทำให้ผู้มีจำนวนเงินลงทุนไม่พอยากที่จะเข้าสู่อุตสาหกรรมได้

2.4 Switching Costs ต้นทุนการเปลี่ยนผู้ขาย หากต้นทุนในการเปลี่ยนผู้ขายสูง ผู้เข้ามาใหม่ต้องเสนอคุณสมบัติหรือคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น ทำให้ผู้ซื้อตัดสินใจว่าคุ้มค่าที่จะเปลี่ยน

2.5 Access to Distribution Channels การเข้าสู่ช่องทางการจัดจำหน่าย ผู้อยู่ในอุตสาหกรรมเดิมครอบครองช่องทางจัดจำหน่ายนั้นอยู่ 

2.6 Cost Disadvantages Independent of Scale ข้อเสียเปรียบทางต้นทุนที่ไม่ขึ้นอยู่กับขนาด อาจมาจากการมีประสบการณ์หรือการเรียนรู้

2.7 Government Policy นโยบายของรัฐมีอิทธิพลต่อการประกอบการแข่งขันของธุรกิจ โดยรัฐบาลสามารถจำกัดและควบคุมผู้เข้ามาในอุตสาหกรรม ด้วยการให้ใบอนุญาตและจำกัดแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญ 

3. Pressure from Substitute การคุกคามของสินค้าหรือบริการทดแทน ในบางครั้งองค์กรอาจประสบปัญหาการคุกคามของสินค้าหรือบริการทดแทนจากอุตสาหกรรมอื่น ซึ่งการทดแทนอาจเป็นเพียงชั่วคราวเช่น เมื่อสินค้ามีราคาแพงขึ้นทำให้ลูกค้าเปลี่ยนไปใช้สินค้าที่คล้ายคลึงกัน หรืออาจเป็นการทดแทนโดยสมบูรณ์เช่น การนำไฟเบอร์เข้ามาทดแทนการใช้ไม้ เป็นต้น 

ในการพัฒนาให้สินค้าโดยสามารถนำไปใช้ทดแทนสินค้าของอุตสาหกรรมอื่นได้ในอนาคต จะทำให้เกิดความได้เปรียบเนื่องจากเป็นสิ่งใหม่ และมีความทันสมัยกว่าทั้งด้านเทคโนโลยีและการวิจัยพัฒนา ซึ่งจะกลายเป็นภัยคุกคามที่ค่อนข้างรุนแรงต่อธุรกิจที่ดำเนินงานอยู่ก่อน ดังนั้นจึงควรพยายามติดตามสถานการณ์และศึกษาว่าลูกค้าจะสามารถใช้สินค้าใดมาทดแทนสินค้าที่ผลิตอยู่ และระดับการทดแทนมีมากน้อยเพียงใด

4. Bargaining Power of Buyers อำนาจการต่อรองของลูกค้า ผู้ประกอบการต้องสร้างคุณค่าในตัวสินค้า เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า หากกิจการต้องพึ่งพิงลูกค้ารายใหญ่เพียงไม่กี่ราย จะเป็นความเสี่ยงที่ลูกค้าสามารถต่อรองราคาสินค้าและบริการได้ ซึ่งจะทำให้กำไรของกิจการลดลง ผู้ประกอบการจะต้องกำหนดกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจน นอกจากนั้นผู้ประกอบการจะต้องสร้างตราสินค้าของตนให้แข็งแกร่ง เกิดจากลูกค้าที่เป็นบุคคลสำคัญต่อความอยู่รอดและเสถียรภาพของธุรกิจทั้งโดยตรงและโดยอ้อม โดยศักยภาพในการต่อรองของผู้ซื้อมีส่วนในการผลักดันให้ผู้ขายต้องปรับราคาต่ำลง และพัฒนาคุณภาพของสินค้าและบริการให้ดีขึ้น โดยผู้ซื้อจะมีอำนาจการต่อรองสูง เนื่องจากปัจจัยดังนี้

4.1 Large Volume Purchasers ผู้ซื้อซื้อสินค้าในสัดส่วนปริมาณมาก

4.2 Backward Integration by Buyers ผู้ซื้อมีศักยภาพในการขยายธุรกิจมีแนวโน้มที่จะไปสู่การทำธุรกิจการจัดจำหน่ายเอง  นอกจากจะสูญเสียลูกค้าไปยังอาจจะมีคู่แข่งเพิ่มได้

4.3 Most Sellers ผู้ขายมีจำนวนมาก ทำให้ผู้ซื้อสามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย

4.4 Substitute Goods or Service มีสินค้าหรือบริการทดแทน จะทำให้ผู้ซื้อมีทางเลือกอื่นในการพิจารณา จึงมีอำนาจต่อรองมากกว่า

4.5 Switching Cost ต้นทุนการเปลี่ยนผู้ขายต่ำทำให้ผู้ซื้อสามารถเลือกใช้จากแหล่งใดก็ได้ 

5. Bargaining Power of Suppliers อำนาจต่อรองของผู้ขาย อำนาจต่อรองของผู้ขายวัตถุดิบ เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตและผู้ขายวัตถุดิบ ผู้ประกอบการจะต้องพิจารณาในสภาพแวดล้อมของธุรกิจ ว่ามีผู้จัดจำหน่ายรายใดมีอำนาจต่อรองได้สูง ควรรวมกลุ่มของผู้ประกอบการที่ใช้สินค้าร่วมกัน จะทำให้มีอำนาจต่อรองกับผู้จัดจำหน่ายได้สูง ผู้ขายจะมีอำนาจต่อรองตามสถานการณ์ดังนี้

5.1 Small Portion of Buyers ซื้อสินค้าปริมาณน้อย ทำให้ผู้ขายให้ความสำคัญต่างจากผู้ซื้อในปริมาณมาก

5.2 Forward Integration by Suppliers ผู้ขายมีศักยภาพในการขยายธุรกิจมีการตัดสินใจขยายขอบเขตการดำเนินงาน ผลกระทบต้องแข่งขันกับผู้ขายวัตถุดิบซึ่งมีต้นทุนที่ต่ำกว่า

5.3 Dominance by a Suppliers ผู้ขายวัตถุดิบมีจำนวนน้อยแต่จำหน่ายไปยังผู้ซื้อจำนวนมาก ทำให้ผู้ขายวัตถุดิบมีความได้เปรียบในการต่อรอง อาจรวมกลุ่มกันในการกำหนดแนวทางปฏิบัติ ซึ่งจะลดความเสี่ยงในการแข่งขัน และสร้างอำนาจในการต่อรองของตนได้มากขึ้น

5.4 Non Availability of Substitute Products ไม่มีสินค้าหรือบริการทดแทน ถ้าวัตถุดิบนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะที่มีความสำคัญต่อผู้ซื้อ และไม่สามารถหาสินค้าทดแทนได้ ผู้ขายวัตถุดิบย่อมจะได้เปรียบในการต่อรอง

5.5 High Suppliers Switching Cost ต้นทุนการเปลี่ยนผู้จำหน่ายวัตถุดิบสูง ถึงแม้ผู้ซื้อจะสามารถเปลี่ยนไปใช้สินค้าอื่นได้ แต่ถ้าการปรับเปลี่ยนแต่ละครั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายทั้งโดยทางตรง และทางอ้อมแล้วก็จะเป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลง

ความเข้มแข็งของแรงผลักดันทั้งหมด จะเป็นตัวกำหนดศักยภาพในการทำกำไรในอุตสาหกรรม ถ้าแรงผลักดันอ่อนแรงลงโอกาสในการบรรลุผลก็จะมากตามไปด้วย ดังนั้นเป้าหมายของการวางกลยุทธ์ก็คือ การหาตำแหน่งในอุตสาหกรรมที่สามารถป้องกันตนเอง 

ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com

-------------------------------------------------

สนใจเรื่องราว การจัดการธุรกิจ (Business Management) เพิ่มเติมคลิกที่นี่

BA รวมเรื่องราวการจัดการธุรกิจ (Business Management)

-------------------------------------------------

 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward