iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป

Nares อินโดนีเซีย ตะลุยแดนอิเหนากับสมาคมธรณี (2) หรือว่าปิโตรเลียมไม่ค่อยชอบเมืองไทย​ 

 

ภาพที่ 1 ภาพจินตนาการแสดงการมุดตัวของเปลือกมหาสมุทร (oceanic crust) ลงใต้เปลือกทวีป (continental crust) ทำให้เกิดภูเขาไฟ และแผ่นดินไหว รวมทั้งแอ่งสะสมตะกอน ทั้งที่อยู่ข้างหน้า และข้างหลังแนวภูเขาไฟ (fore arc and back arc basins)

 
หรือว่าปิโตรเลียมไม่ค่อยชอบเมืองไทย
 
จากบทที่แล้ว ข้าพเจ้าบรรยายไว้ว่า แผ่นมหาสมุทร (แผ่นเปลือกโลกที่มีความหนาแน่นสูง(2.9 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร) ประกอบด้วยหินอัคนีที่เกิดจากหินหลอมเหลวที่ถูกขับดันมาจากระดับลึกของเปลือกโลก มีความหนา 7-10 กิโลเมตร) อินเดีย-ออสเตรเลีย (Indian-Australia Oceanic Plate) ได้มุดตัวลงใต้แผ่นทวีป (แผ่นเปลือกโลกที่มีความหนาแน่นต่ำ (2.7) ประกอบด้วยหินตะกอนและหินแปรเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งหินอัคนีที่เกิดร่วมด้วย มีความหนารวม 25-70 กิโลเมตร) ซุนดา (Sunda Continental Plate) (ภาพที่ 1) ผลจากการมุดตัวดังกล่าว นอกจากจะทำให้ภูเขาไฟระเบิดและแผ่นดินไหวแล้ว ยังทำให้เปลือกโลกที่อยู่ด้านหน้าและด้านหลังแนวภูเขาไฟ ปริแตกออกเป็นแอ่งสะสมตะกอน แอ่งที่เกิดระหว่างแนวภูเขาไฟกับแผ่นดินนั้นเรียกว่า แอ่งยุบตัวหลังแนวภูเขาไฟ (back arc Basin) ส่วนแอ่งที่อยู่ระหว่างแนวภูเขาไฟกับทะเลลึกนั้นเรียกว่า fore arc basin จากข้อมูลการสำรวจปิโตรเลียมทั่วโลกปรากฎว่า ระหว่างแอ่ง 2 ประเภทนี้ แหล่งน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติจะพบอยู่ใน back arc basin เกือบทั้งหมด
บริเวณตอนเหนือสุดของเกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย ก็เช่นกัน การเปลี่ยนแปลงด้านธรณีวิทยาแปรสันฐานดังกล่าวมาแล้ว ทำให้เกิดแอ่งหน้าแนวภูเขาไฟ ชื่อว่า Meulaboh Basin ส่วนแอ่งหลังแนวภูเขาไฟ มีชื่อว่า แอ่งสุมาตราเหนือ (North Sumatra Basin) แอ่งแรกนั้นยังไม่พบแหล่งปิโตรเลียมที่สามารถนำขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ แต่แอ่งหลังนั้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติอรุณ มีปริมาณสำรองประมาณ 13 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ถือว่าเป็นแหล่งขนาดใหญ่มาก (ภาพที่ 2) จนสามารถนำส่งเป็นก๊าซ LNG ไปขายที่เกาหลีใต้ได้ โดยมีหินปูนที่เป็นเกาะปะการังเมื่อประมาณสิบกว่าล้านปีมาแล้ว(ภาพที่ 3) เป็นหินกักเก็บปิโตรเลียมที่สำคัญ ว่าอันที่จริงแล้ว แอ่งสุมาตราเหนือนี้ จะต่อเนื่องเข้ามาในทะเลอันดามันของไทย แต่นักธรณีวิทยาไทยเรียกส่วนปลายของแอ่งนี้ว่า “แอ่งเมอร์กุย” น่าเสียดายว่า จากหลุมเจาะสำรวจมากกว่า 20 หลุมในเขตน่านน้ำของไทยนั้น พบเพียงแต่ร่องรอยของน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติเท่านั้น ไม่สามารถทำการผลิตได้ ทั้งๆ ที่เกิดอยู่ในแอ่งสะสมตะกอนในทะเลเดียวกัน และมีลำดับชั้นหินที่คล้ายคลึงกันมาก (ภาพที่ 4)
นักธรณีวิทยาไทยได้ศึกษา ตรวจสอบข้อมูลจากทั้งสองประเทศแล้วให้ความเห็นว่า เหตุผลที่การสำรวจปิโตรเลียมในทะเลอันดามันในน่านน้ำไทยไม่ประสบความสำเร็จนั้น ก็เพราะว่า ตั้งแต่เมื่อประมาณ 10 ล้านปีเป็นต้นมา มีการจมตัวของแอ่งที่อยู่ในเขตไทยน้อยมาก จึงมีความหนาของชั้นตะกอนไม่มากพอ ที่จะกดดันทับถมให้มีความดันและความร้อนเพียงพอที่จะทำให้ อินทรีย์สารอันเป็นต้นกำเนิดปิโตรเลียม แตกตัวหรือเกิดปฏิกิริยาชีวเคมีจนกลายเป็นปิโตรเลียมได้มากพอ ที่จะเคลื่อนไหลเข้าไปกักเก็บในที่กักเก็บใดๆ ได้
เมื่อปีที่แล้ว ข้าพเจ้าได้เล่าถึงความโชคร้ายของประเทศไทยในเรื่องนี้ ให้ป้าเมี้ยนคนขายกล้วยทอดหน้าหมู่บ้านลาดปลาดุกฟัง แกอึ้งไปสักครู่แล้วทำตัวเป็นผู้สันทัดกรณี โดยกล่าวว่า “ป้าว่าเจ้าน้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาตินี่ มันไม่ชอบเมืองไทยมากกว่าน่ะ มันจึงอยู่แต่ในเขตอินโดฯ ไม่ยอมไหลเข้ามาบ้านเรา”
แกทอดกล้วยพลางพูดพลาง “อีกตัวอย่างก็ที่ในทะเลอ่าวไทย เขาว่าในแอ่งมาเลย์นั้น พบแหล่งน้ำมันดิบมีขนาดใหญ่ติดอันดับโลกในทะเลมาเลเซีย (ภาพที่ 5) แต่พอขยับเข้ามาในเขตไทย เจอแต่ก๊าซธรรมชาติ ทั้งๆ ที่เป็นแอ่งเดียวกัน ปิโตรเลียมมันชอบแขกนะป้าว่า”
ท่านสารวัตรเห็นด้วยกับป้าเมี้ยนไหมครับ
 
 
ภาพที่ 2 แผนที่แสดงขอบเขตของแอ่งสุมาตราเหนือ กับแอ่งเมอร์กุย ซึ่งที่แท้ก็คือแอ่งสะสมตะกอนเดียวกัน ที่เรียกชื่อแตกต่างกัน ก็เพราะขึ้นอยู่กับว่า น่านน้ำนั้นๆ ขึ้นกับประเทศใด รวมทั้งตำแหน่งของแหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดยักษ์ “อรุณ” (ดาวแดง)
 
 
ภาพที่ 3 ภาพจินตนาการตัดขวางแสดงลักษณะของชั้นหินที่สะสมตัวในแอ่งสุมาตราเหนือ สีขาวนั้นส่วนใหญ่เป็นหินโคลนน้ำทะเลลึก สีเหลืองคือหินทรายน้ำทะเลลึก ส่วนสีน้ำเงินคือหินปูนน้ำทะเลตื้น ส่วนใหญ่เป็นพืดหินปะการังและสาหร่าย บริเวณที่เป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติอรุณคือพื้นที่ใต้สี่เหลี่ยมขอบแดง
 
 
ภาพที่ 4 ภาพแสดงการเปรียบเทียบลำดับชั้นหินในแอ่งสุมาตราเหนือ แอ่งเมอร์กุย และแอ่งมะละกา วงกลมสีดำมีเส้นสีดำทับคือหินต้นกำเนิดปิโตรเลียม วงกลมมีเส้นสีดำ 8 เส้น คือแหล่งปิโตรเลียม วงกลมสีดำกับขาวอย่างละครึ่งคือพบร่องรอยปิโตรเลียม แกนแนวตั้งเป็นแกนเวลา ในแอ่งสุมาตราเหนือกับแอ่งเมอร์กุยจึงดูเท่ากัน แต่หากเป็นแกนของความหนาแล้ว หมวดหินตะกัวป่า ที่เป็นหมวดหินอายุอ่อนในเขตไทยจะบางมาก เมื่อเทียบกับ หมวดหิน Julu Rayeu และ Seureula ในเขตอินโดนีเซีย ทำให้หินต้นกำเนิดในทะเลของไทยไม่สามารถให้กำเนิดปิโตรเลียมได้มากเพียงพอ ส่วนแอ่งมะละกานั้น ก็ไม่พบปิโตรเลียมเช่นกัน แต่ข้าพเจ้าเข้าใจว่า พระเจ้าคงสงสารเลยประทานให้มีมะละกอขึ้นอุดมสมบูรณ์แทน 
 
 
ภาพที่ 5 ภาพแอ่งสะสมตะกอนขนาดใหญ่ในทะเลอ่าวไทย ซึ่งมีสองแอ่งคือ แอ่งปัตตานีที่ทอดตัวคาบเกี่ยวระหว่างทะเลของไทยกับกัมพูชา พบก๊าซธรรมชาติ(รูปหลายเหลี่ยมสีแดง) มากพอสมควรในเขตไทย กับแอ่งมาเลย์ ที่ต่อเนื่องจากทะเลมาเลเซียเข้ามาในเขตไทยเล็กน้อย โปรดสังเกตว่า ในส่วนที่เป็นทะเลของมาเลเซียนั้นจะพบแหล่งน้ำมัน (รูปหลายเหลี่ยมสีเขียว) บางแหล่งมีขนาดใหญ่ระดับโลก จะเห็นว่าในเขตพัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (J.D.A.) ปิโตรเลียมก็เริ่มเปลี่ยนจากน้ำมันดิบมาเป็นก๊าซธรรมชาติ โดยในพื้นที่ส่วนที่เป็นของไทยก็กลายเป็นก๊าซธรรมชาติทั้งสิ้น ได้แก่ กลุ่มของแหล่งก๊าซธรรมชาติบงกช และอาทิตย์ 
 

ที่มา https://www.facebook.com/nares.sattayarak

รวบรวมข้อมูลและภาพ www.iok2u.com

-------------------------------------------------

รวมบทความ นเรศ สัตยารักษ์ (Nares Sattayarak)

-------------------------------------------------

 

 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward