Nares เวียดนาม เที่ยวเดียนเบียนฟู ซาปา ประสานักธรณีฯ (5) แนวมุดตัวแม่น้ำม้า
ภาพที่ 1 แผนที่จีนและเอเซียอาคเนย์ แสดงแผ่นทวีปย่อยต่างๆ รวมทั้งแนวการเชื่อม(มุด)ตัวกันของแต่ละแผ่น อาทิเช่น หมายเลข 17 และ 1 ซึ่งก็คือ แนวมุดตัวภูเขาอ้ายลาว และแม่น้ำม้า ตามลำดับ (Ailao Shan and Song Ma Suture respectively) ทั้งสองแนวนี้เกิดขึ้นจากการเชื่อมกันของแผ่นทวีปจีนใต้ กับอินโดจีน
ภาพที่ 5 ภาพจินตนาการบล็อคสามมิติแสดงลักษณะการมุดตัวของแผ่นทวีปจีนใต้ลงใต้แผ่นทวีปอินโดจีนตามแนวมุดตัวแม่น้ำม้า (Song Ma suture zone) พร้อมทั้งรอยเลื่อนที่สำคัญ เช่น รอยเลื่อนแม่น้ำแดง ตูเล (ที่แสดงภูเขาหน้าตัดเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว) แม่น้ำดำ และแม่น้ำม้า (Song Hong, Tule, Song Da and Song Ma respectively) ป.ล. รอยเลื่อนด้านที่มีอักษร x อยู่ในวงกลมหมายถึงว่าชั้นหินด้านนี้เคลื่อนตัวออกไปจากผู้ชม ส่วนรอยเลื่อนด้านที่มีเครื่องหมายจุดอยู่ในวงกลม แสดงว่าขั้นหินด้านนี้เคลื่อนตัวเข้ามาหาผู้ชม
ที่มา https://www.facebook.com/nares.sattayarak
รวบรวมข้อมูลและภาพ www.iok2u.com
-------------------------------------------------
รวมบทความ นเรศ สัตยารักษ์ (Nares Sattayarak)-------------------------------------------------